ตม.30 ออนไลน์ : การลงทะเบียนที่เจ้าของบ้านและผู้เช่าต่างชาติต้องรู้
"ตม.30 มีผลกระทบอย่างไรบ้าง" "ถ้าไม่ทำจะต้องเจอบทลงโทษอะไรบ้าง?"
เป็นเวลา 3 เดือนที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อการบังคับใช้รายงาน TM30 ในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งความสับสน ไปจนถึงความไม่พอใจและความตื่นตระหนก ซึ่งก็คงจะเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ เนื่องจากผู้เช่าชาวต่างชาติ และเจ้าของบ้านส่วนใหญ่รู้สึกว่า การลงทะเบียน ตม.30 เป็นเรื่องซับซ้อน ทำให้มีผู้คนจำนวนมากเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใช้ดังกล่าว
อย่างไรก็ตามคงไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะยังมีการบังคับใช้ ตม.30 ต่อไปอีกนานแค่ไหน และในบทความนี้ PropertyScout Blog ก็จะมาเป็นผู้ช่วยแนะนำทุกคนเกี่ยวกับข้อกำหนดและข้อบังคับที่จำเป็นต่าง ๆ ที่ควรรู้ เกี่ยวกับการลงทะเบียน ตม.30
การแจ้ง ตม.30 ออนไลน์ คืออะไร
ตม.30 หรือ tm30 คือ การแจ้งที่พักคนต่างด้าว สำหรับสถานประกอบการ ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ที่ได้กำหนดไว้ว่า
"เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหะสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้น"
"ในกรณีที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ตามวรรคหนึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมือง การแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด"
ปัจจุบันการแจ้ง ตม.30 หรือ tm30 บนช่องทางออนไลน์ สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกสบายผ่านช่องทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปถึงที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานีตำรวจในท้องที่ ซึ่งก็ถือว่าช่วยอำนวยความสะดวกแก่เจ้าของบ้าน ผู้ครอบครองเคหสถาน เป็นอย่างมาก
สิ่งที่ผู้ให้เช่าต้องรับผิดชอบ
เจ้าของบ้านที่ปล่อยทรัพย์สินของตนให้ชาวต่างชาติเช่าแบบค้างคืนจะต้องรับผิดชอบในการกรอกและส่งข้อมูลอย่างครบถ้วน ไม่ว่าผู้เช่าชาวต่างชาติจะมีวีซ่าแบบ Non-Immigrant B, วีซ่าเกษียณอายุ, วีซ่านักเรียน และวีซ่าคู่สมรส ในทางตรงกันข้าม ผู้เช่าชาวต่างชาติไม่ต้องรับผิดชอบในการต้องกรอกข้อมูลและส่งรายงาน
ลืมลงทะเบียน ตม.30 มีบทลงโทษอย่างไรบ้าง?
เจ้าของบ้านที่ไม่ส่งข้อมูลรายงาน ตม.30 แล้วทำการปล่อยทรัพย์สินให้ชาวต่างชาติทำการเช่าจะต้องถูกปรับ 800-2,000 บาท และอาจส่งผลกระทบต่อผู้เช่าชาวต่างชาติในการยื่นขอวีซ่าในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาชวนปวดหัว อย่าลืมลงทะเบียน ตม.30 กัน
วิธีการลงทะเบียน ตม.30
1. แจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นมาแจ้ง
เอกสารที่ผู้ให้เช่า หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทนต้องเตรียม
- แบบฟอร์มเอกสาร ตม.30 ที่กรอกข้อมูลไว้ครบถ้วน
- สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ให้เช่า
- สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ เอกสารกรรมสิทธิ
- สำเนาเอกสารสัญญาเช่า หรือ สัญญาซื้อขายที่ดิน (ในกรณีของการปล่อยเช่าระยะยาว)กรอกแบบ
เอกสารที่ผู้เช่าชาวต่างชาติต้องเตรียมสำหรับการเช่าระยะยาว
- สำเนาหนังสือเดินทาง (หน้าที่มีภาพถ่ายและข้อมูลส่วนตัว, หน้าข้อมูลวีซ่า, หน้าตราประทับของประเทศไทย)
- สำเนาเอกสาร ตม.6
เอกสารทุกรายการจะต้องเซ็นด้วยปากกาหมึกสีน้ำเงิน*
การส่งเอกสาร
สามารถแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นมาแจ้ง ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ ที่คนต่างด้าวพักอาศัย (ตามวันและเวลาราชการ) สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถแจ้งที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยมีค่าส่งเอกสารอยู่ที่ 500-1000 บาท (ไม่รวมค่าปรับในกรณีส่งเอกสารล่าช้า)
เอกสารต้องใส่ไว้ในซองเพื่อรับการประทับตรา และอาจใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ในการดำเนินการ*
ลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น
อีกวิธีคือการลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า Section38 โดยตัวแอพนั้นรองรับทั้งระบบ IOS / Android และมีทั้งเวอร์ชั่นภาษาไทยและอังกฤษซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้การลงทะเบียนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และทางแอพพลิเคชั่นก็เช่นกัน
เมื่อดาวน์โหลดแอพเสร็จแล้ว ให้คลิกลงทะเบียน เลือกประเภทที่พักอาศัย กรอกรายละเอียดเจ้าของบ้าน รายละเอียดทรัพย์ที่ให้ชาวต่างชาติอาศัย ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ อีเมล พร้อมแนบเอกสารบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน จากนั้นคลิกลงทะเบียน หรือ Register และรอรับแจ้ง User และ Password สำหรับเข้าระบบทางอีเมลที่ให้ไว้
นำ User และ Password เข้าระบบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้ หลังจากนั้นให้กดที่ "บันทึกแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพัก (ตม.30)" หรือ "Notification of Residence for Foreigners (TM.30)" และกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับชาวต่างชาติที่เข้าพัก
ข้อมูลที่ต้องกรอก มีดังนี้ :
วันที่เข้าพัก-วันที่แจ้งออก
เลขหนังสือเดินทาง
กรอกข้อมูลตามที่ระบุให้ครบถ้วน และกดบันทึกแจ้งที่พัก เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
หลังจากนั้นแอพพลิเคชั่นก็จะเข้าสู่หน้าแสดงข้อมูลดังนี้ ซึ่งจะต้องมีข้อมูลประวัติการลงทะเบียนทั้งหมด
ตม.30 มีแนวโน้มที่จะถูกยกเลิกการบังคับใช้หรือไม่?
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่การบังคับใช้กฎ ตม.30 อย่างกะทันหัน มีแรงกดดันอย่างมากจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ (โดยเฉพาะสมาคมธุรกิจและการค้าต่างประเทศ) ที่มีต่อรัฐบาลไทยที่เรียกร้องให้ยกเลิก ตม.30 เช่น หอการค้าร่วมต่างประเทศในไทย และสมาคมธุรกิจและการค้าแห่งยุโรป (EABC) ได้มองว่ากฎระเบียบดังกล่าวเป็นบ่อนทำลายธุรกิจต่างชาติ และด้วยข้อเสนอเกี่ยวกับกฎระเบียบในปัจจุบันจากทั้งสององค์กร ทำให้แรงกดดันนี้ได้ช่วยบรรเทาความยากลำบากของทั้งผู้ให้เช่าที่ถือครองอสังหาฯ และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในไทย
น่าเสียดายที่สถานะการยกเลิก ตม.30 ยังคงเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากรัฐบาลไทยยังคงมีความคิดว่าสิ่งนี้มีผลต่อการรักษาความมั่นคงของชาติและการป้องกันการก่อการร้าย และในขณะเดียวกันก็มีข่าวลือเกี่ยวกับการยกเลิกบัตรขาเข้า ตม.6 เพื่อลดปัญหาที่จะส่งผลไปถึงการลงทะเบียน ตม.30
บทสรุปส่งท้าย
หวังว่าข้อมูลทังหมดในบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน สำหรับคนที่อ่านมาจนจบ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ให้เช่า หรือผู้เช่าชาวต่างชาติ คงจะเห็นกันแล้วว่าการลงทะเบียน ตม.30 นั้นไม่ได้เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนอย่างที่อย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป เพียงแค่เลือกวิธีลงทะเบียนที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเอง เตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม และลงทะเบียนให้ตรงตามกำหนด เพียงแค่นี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องโดนค่าปรับกันแล้ว
หากยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ การลงทะเบียน ตม.30 หรือข้อกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ด้านอื่น ๆ สามารถติดต่อสอบ PropertyScout เพื่อขอคำปรึกษาจากทีมงานมืออาชีพ
ส่วนใครที่มีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ คอมเมนต์กันมาได้ตรงด้านล่างเลย!