อัพเดต! รถไฟฟ้า 5 สายใหม่ คืบหน้าอย่างไรบ้าง?
อัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน 2566
ผ่านมา 20 กว่าปีแล้วที่มีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นในกรุงเทพ ซึ่งก็ได้กลายเป็นขนส่งสาธารณะที่รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุหลักในเรื่องของ ความสามารถในการควบคุมเวลาการเดินทางได้ค่อนข้างแม่นยำ อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ส่วนตัวอย่างเห็นได้ชัด ในคราวนี้ PropertyScout จะพาทุกคนไปอัพเดตกันว่ารถไฟฟ้าสายใหม่ในตอนนี้มีความคืบหน้าไปถึงไหนกันแล้ว ตามมาดูกัน!
สายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง)
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นสถานีแบบยกระดับ ซึ่งจะมีระดับความสูงแตกต่างกันไป ตามแนวเส้นทางและข้อจำกัดของบริเวณสถานีนั้นๆ โดยจุดมุ่งหมายหลักๆ คือเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนลาดพร้าว ที่มีปัญหาการจราจรมาอย่างยาวนาน เป็นลักษณะวงรอบนอกพาคนจากทิศตะวันออกของกรุงเทพ และสิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรปราการ
สถานีทั้งหมด
- ลาดพร้าว
- ภาวนา
- โชคชัย 4
- ลาดพร้าว 71
- ลาดพร้าว 83
- มหาดไทย
- ลาดพร้าว 101
- บางกะปิ
- แยกลำสาลี
- ศรีกรีฑา
- หัวหมาก
- กลันตัน
- ศรีนุช
- ศรีนครินทร์ 38
- สวนหลวง ร.9
- ศรีอุดม
- ศรีเอี่ยม
- ศรีลาซาล
- ศรีแบริ่ง
- ศรีด่าน
- ศรีเทพา
- ทิพวัล
- สำโรง
อัพเดตข้อมูลล่าสุด
ล่าสุดเตรียมเปิดทดลองวิ่งผ่านการศึกษาดำเนินโครงการโดยสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ปี พ.ศ. 2550-2554 โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว - พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ - สำโรง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีเส้นทางวิ่งตั้งแต่ช่วงลาดพร้าวถึงสำโรง ประกอบด้วยสถานที่ 23 แห่ง โรงจอดซ่อมบำรุง 1 แห่ง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร
ปัจจุบันมีความก้าวหน้างานโยธา 98.99% งานระบบรถไฟฟ้า M&E มีความก้าวหน้า 99.07% ความก้าวหน้าโดยรวม 99.02%
สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี)
รถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นโครงการที่เชื่อมกรุงเทพฝั่งตะวันออกกับกรุงเทพฝั่งตะวันตกเข้าด้วยกัน โดยเส้นทางจะเชื่อมต่อตั้งแต่มีนบุรี-ตลิ่งชัน โดยปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบใต้ดินและแบบยกระดับ มีระยะทางประมาณ 22.57 กิโลเมตร และหลังจากนั้นจะเป็นช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน
สถานีทั้งหมด
- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- รฟม.
- วัดพระราม
- รามคำแหง 12
- รามคำแหง
- กกท.
- หัวหมาก
- ลำสาลี
- ศรีบูรพา
- คลองบ้านม้า
- สัมมากร
- น้อมเกล้า
- ราษฎร์พัฒนา
- มีนพัฒนา
- เคหะรามคำแหง
- มีนบุรี
- สุวินทวงศ์
อัพเดตข้อมูลล่าสุด
ยังไม่มีข้อมูลอัพเดต
สายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะเป็นประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือที่เรียกกันว่าแบบ 'Monorail' มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเขตมีนบุรีและจังหวัดนนทบุรี โดยเริ่มที่บนถนนรัตนาธิเบศร์ และสิ้นสุดที่แยกร่มเกล้า มีความยาวของแนวเส้นทางทั้งสิ้นประมาณ 34.5 กม.
สถานีทั้งหมด
- หลักสี่
- ราชภัฏพระนคร
- วัดพระศรีมหาธาตุ
- รามอินทรา 3
- ลาดปลาเค้า
- รามอินทรา กม.4
- มัยลาภ
- วัชรพล
- รามอินทรา กม.6
- คู้บอน
- รามอินทรา กม.9
- วงแหวนรามอินทรา
- นพรัตน์
- บางชัน
- เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
- ตลาดมีนบุรี
- มีนบุรี
อัพเดตข้อมูลล่าสุด
วันที่ 25 พ.ค. 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงความก้าวหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูว่า ช่วงสถานีแคราย-มีนบุรี คาดเริ่มทดลองเดินรถ ม.ค. ปี 2567
ปัจจุบันมีความก้าวหน้างานโยธา 96.19% งานระบบรถไฟฟ้า M&E มีความก้าวหน้า 96.64% ความก้าวหน้าโดยรวม 96.43%
สายสีชมพูส่วนต่อขยาย (ศรีรัช - เมืองทองธานี)
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี จะมีรูปแบบเป็นโครงสร้างยกระดับประกอบไปด้วย 2 สถานี ที่เชื่อมต่อมาจากรถไฟฟ้าสีชมพูสายหลักที่สถานีศรีรัช ก่อนจะเลี้ยวขวาวิ่งเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานีไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด 39 ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี และวิ่งต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการที่ทะเลสาบเมืองทองธานี รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 3 กิโลเมตร และจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 37 เดือน ส่วนกำหนดเปิดใช้บริการคาดว่าจะอยู่ที่ราว ๆ เดือนพฤศจิกายน 2567
สถานีทั้งหมด
- สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
- สถานีแคราย
- สถานีสนามบินน้ำ
- สถานีสามัคคี
- สถานีกรมชลประทาน
- สถานีแยกปากเกร็ด
- สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
- สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
- สถานีศรีรัช
- สถานีเมืองทองธานี
- สถานีแจ้งวัฒนะ 14
- สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
- สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ
- สถานีหลักสี่
- สถานีราชภัฏพระนคร
- สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
- สถานีรามอินทรา 3
- สถานีลาดปลาเค้า
- สถานีรามอินทรา กม.4
- สถานีมัยลาภ
- สถานีวัชรพล
- สถานีรามอินทรา กม.6
- สถานีคู้บอน
- สถานีรามอินทรา กม.9
- สถานีวงแหวนรามอินทรา
- สถานีนพรัตน์
- สถานีบางชัน
- สถานีเศรษฐบุตรบําเพ็ญ
- สถานีตลาดมีนบุรี
- สถานีมีนบุรี
- สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี
- สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี
อัพเดตข้อมูลล่าสุด
ในตอนนี้มีความก้าวหน้างานโยธา 25.24% ความก้าวหน้างานระบบไฟฟ้า 10.84% ความก้าวหน้าโดยรวม 20.41%
สายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง จุดมุ่งหมายหลักของการสร้างรถไฟฟ้าสายนี้คือ เพื่อเป็นการเชื่อมต่อการเดินทางจากทางทิศตะวันออก (บางใหญ่-นนทบุรี) และทิศใต้ (ราษฎร์บูรณะ-พระประแดง) ซึ่งเส้นทางนี้จะหันคนละทิศกับเส้นสีแดงเข้ม
สถานีทั้งหมด
- รัฐสภา
- สถานีศรีย่าน
- สถานีสามเสน
- หอสมุดแห่งชาติ
- บางขุนพรหม
- ผ่านฟ้า
- วังบูรพา
- สะพานพุทธ
- วงเวียนใหญ่
- สำเหร่
- จอมทอง
- ดาวคะนอง
- บางปะกอก
- ประชาอุทิศ
- ราษฎร์บูรณะ
- พระประแดง
- ครุใน
อัพเดตข้อมูลล่าสุด
ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีความก้าวหน้างานโยธา 10.41%
สรุปส่งท้าย
ความคืบหน้าของรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ในกรุงเทพ ถือเป็นเรื่องที่น่าจับตามอง เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งในเมืองของประเทศ ตั้งแต่การขยายสายสีม่วงที่เชื่อมต่อพื้นที่นอกเมืองเข้ากับตัวเมือง ไปจนถึงระบบรางแบบ Monorail ที่น่าสนใจ โดยแต่ละสายก็จะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ในการเดินทางในกรุงเทพ ที่เพิ่มความสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปและวันที่เสร็จสิ้นก็ใกล้เข้ามาถึงเรื่อย ๆ คงต้องรอติดตามกันต่อไป และ PropertyScout จะมาอัพเดตใหม่ให้กับทุกคนอย่างแน่นอน
มองหาบ้าน-คอนโดทำเลดี ติดรถไฟฟ้า ปรึกษา PropertyScout ได้เลย!