อยู่คอนโดต้องรู้ ‘กฎหมายบันไดหนีไฟ’ มีอะไรบ้าง?
การอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมเรียกได้ว่าเป็นไลฟ์สไตล์ที่หลายคนไฝ่ฝัน ยิ่งเป็นโครงการคอนโดแบบ High Rise อาคารสูง ที่มองเห็นวิวท้องฟ้าและตัวเมืองแบบรอบด้านก็ยิ่งสวยไปอีก อย่างไรก็ตามอยากให้คนที่กำลังสนใจคอนโด หรืออยู่อาศัยในคอนโดอยู่แล้ว ลองฉุกคิดถึงเรื่องความปลอดภัยในการอยู่อาศัยกันบ้าง อย่างเรื่องระบบความปลอดภัยที่เกี่ยวกับอัคคีภัยถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่ควรต้องรู้ครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นคอนโดโครงการไหนก็ต้องมีบันไดทางหนีไฟด้วยกันทั้งสิ้น ในบทความนี้ PropertyScout ก็ได้นำความรู้เกี่ยวกับลักษณะของบันไดหนีไฟที่มีความปลอดภัยมาฝากทุก ๆ คนกันครับ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ 'บันไดหนีไฟคอนโด'
กฎหมายกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารออกกฎกระทรวงไว้ โดยลักษณะบันไดหนีไฟที่ถูกต้อง จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ครับ
ลักษณะของบันไดหนีไฟที่ถูกต้อง
- พื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได และอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
- บันไดหนีไฟต้องมีความลาดชันน้อยกว่า 60 องศา เว้นแต่ตึกแถวและบ้านแถวที่สูงไม่เกิน 4 ชั้น ให้มีบันไดหนีไฟที่มีความลาดชันเกิน 60 องศาได้ และต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น
- บันไดหนีไฟภายนอกอาคารต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และต้องมีผนังส่วนที่บันไดหนีไฟพาดผ่านเป็นผนังทึบ ก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟ
- อาคารที่สูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไปและสูงไม่เกิน 23 เมตร หรืออาคารที่สูง 3 ชั้นและมีดาดฟ้าเหนือชั้นที่ 3 มีพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร นอกจากมีบันไดของอาคารตามปกติแล้ว ต้องมีบันไดหนีไฟที่ทำด้วยวัสดุทนไฟอย่างน้อยหนึ่งแห่ง และต้องมีทางเดินไปยังบันไดหนีไฟโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
- บันไดหนีไฟตามวรรคหนึ่ง ถ้าไม่ทอดถึงพื้นชั้นล่างของอาคาร ต้องมีบันไดโลหะ ที่สามารถเลื่อน หรือยืด หรือหย่อน ลงมาจนถึงพื้นชั้นล่างได้
- ประตูหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร และต้องทำเป็นบานเปิดชนิดผลักออกสู่ภายนอกเท่านั้น กับต้องติดอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดเองได้ และต้องสามารถเปิดออกได้โดยสะดวกตลอดเวลา ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มีธรณีหรือขอบกั้น
- บันไดหนีไฟในอาคารต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุถาวร ที่เป็นวัสดุทนไฟกั้นโดยรอบ เว้นแต่ส่วนที่เป็นช่องระบายอากาศ และช่องประตูหนีไฟ และต้องมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้ โดยแต่ละชั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่เปิดสู่ภายนอกอาคารได้ มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร กับต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอ ทั้งกลางวันและกลางคืน
นอกจากนั้น กฎหมายบันไดหนีไฟยังได้จำแนกลักษณะของบันไดหนีไฟคอนโดที่ถูกต้องออกเป็นสองแบบด้วยกันครับ คือบันไดหนีไฟในคอนโดที่สูงไม่เกิน 23 เมตร กับในคอนโดที่สูง 23 เมตรขึ้นไป เดี๋ยวเราไปดูรายละเอียดกันว่ามีอะไรไรบ้าง
ลักษณะบันไดหนีไฟคอนโดที่ถูกต้อง 'ในคอนโดที่สูงไม่เกิน 23 เมตร'
- ประตูบันไดหนีไฟ กว้างไม่น้อยกว่า 85 เซนติเมตร สูง 2 เมตร บานประตูปิดสนิท สามารถเปิดเข้าสู่ตัวบันไดได้ ยกเว้นชั้นดาดฟ้า หรือชั้นล่างที่เข้า-ออก
- บันไดกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และไม่เกิน 1.50 เมตร
- ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร ส่วนลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร
- ชานพักบันไดหนีไฟกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
- ชานพักบันไดที่อยู่ระหว่างประตูกับบันได กว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างบันได
- ราวจับต้องสูงจากพื้นไม่เกิน 90 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร และส่วนที่ยื่นออกมาจากผนังต้องไม่เกิน 10 เซนติเมตร
- ราวกันตกสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.10 เมตร
- บันไดหนีไฟในอาคาร ต้องสร้างในมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคาร โดยพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร
- ดาดฟ้า หรือชั้นล่างที่เข้า-ออก
- ป้ายบอกเลขชั้นของบันได ควรระบุชั้นล่างและชั้นบนสุดของบันไดหนีไฟ พร้อมบอกทิศทางออกให้ชัดเจน
- ทางปล่อยออกจะต้องเปิดสู่ภายนอกอาคาร ที่เป็นลานโล่งหนีไฟ ซึ่งคำนวณได้จากจำนวนผู้ใช้อาคาร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร
- ต้องมีผนังทึบที่สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
ลักษณะบันไดหนีไฟคอนโดที่ถูกต้อง 'ในคอนโดที่สูง 23 เมตรขึ้นไป'
- ประตูบันไดหนีไฟปิดสนิท กว้างไม่น้อยกว่า 85 เซนติเมตร สูง 2 เมตร
- บันไดหนีไฟกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ไม่เกิน 1.50 เมตร
- ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร
- ชานพักบันไดที่อยู่ระหว่างประตูกับบันได กว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างบันได
- ประตูบันไดหนีไฟปิดสนิท กว้างไม่น้อยกว่า 85 เซนติเมตร สูง 2 เมตร
- ราวจับสูงจากพื้นไม่เกิน 90 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร และส่วนที่ยื่นออกมาจากผนังต้องไม่เกิน 10 เซนติเมตร
- ราวกันตกสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.10 เมตร
- ป้ายบอกเลขชั้นต้องระบุชั้นล่างและชั้นบนสุดของบันไดหนีไฟ พร้อมบอกทิศทางออกให้ชัดเจน
- ทางปล่อยออกต้องเปิดสู่ภายนอกอาคารที่เป็นลานโล่งหนีไฟ โดยคำนวณขนาดจากจำนวนผู้ใช้อาคารและมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร
- ต้องมีผนังทึบที่สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
- บันไดหนีไฟภายในอาคารจะต้องมีระบบอัดลมภายในบันได ผนังสามารถเปิดระบายอากาศได้ และต้องมีช่องเปิดได้ทุกชั้น เพื่อช่วยระบายอากาศ
สรุปส่งท้าย
ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปในบทความนี้คือกฎหมายบันไดหนีไฟคอนโด ที่มีการระบุถึงมาตรฐานของลักษณะในส่วนต่าง ๆ ของตัวบันไดไว้ ถือเป็นเรื่องที่ชาวคอนโดทุกคนต้องรู้ รวมไปถึงคนที่กำลังมองหาคอนโดอยู่ เมื่อไปเยี่ยมชมโครงการเพื่อดูห้องแล้ว ก็อย่าลืมแบ่งเวลาไปเดินสำรวจบันไดทางหนีไฟและตรวจสอบในส่วนต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินและเพื่อความอุ่นใจของเราและครอบครัว
สำหรับใครที่มีประสบการณ์การอยู่อาศัยในคอนโด หรือเรื่องอื่น ๆ สามารถแชร์กันมาได้ในช่อง Comment ด้านล่างเลย ในบทความหน้า PropertyScout จะนำเกร็ดความรู้ ทิปส์ดี ๆ มาเล่าให้ฟังกันอีกแน่นอนครับ
อ่านบทความ รีวิวโครงการ อัปเดตข่าวสารเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ได้ที่ PropertyScout Blog หากมีคำถาม ข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือต้องการ เช่า ซื้อ ขาย ติดต่อ PropertyScout ได้เลย! ทีมงานของเราพร้อมให้บริการและตอบทุกข้อสงสัย
อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้อง คลิก