ส่องทำเลจตุจักร ศูนย์กลางแห่งไลฟสไตล์ มาพร้อมกับความลงตัวในการใช้ชีวิต

Author
by
At
August 22, 2022
ส่องทำเลจตุจักร ศูนย์กลางแห่งไลฟสไตล์ มาพร้อมกับความลงตัวในการใช้ชีวิต ส่องทำเลจตุจักร ศูนย์กลางแห่งไลฟสไตล์ มาพร้อมกับความลงตัวในการใช้ชีวิต

จตุจักร พื้นที่แห่งการเติบโต ในทำเลที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างลงตัว

“จตุจักร”พื้นที่บริเวณใกล้ห้าแยกลาดพร้าว หรือที่คุ้นเคยกันว่าเป็น สวนจตุจักร จุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญของพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนเหนือกับหัวเมืองชั้นใน และพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯเป็นพื้นที่แห่งไลฟสไตร์ที่เหล่าวัยรุ่น และคนทั่วไปใช้เวลาในช่วงวันหยุด ที่อยากจับจ่ายใช้สอย กิน เที่ยว เล่น ในพื้นที่ทำเลสำคัญที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ ในย่านแห่งนี้ โดยมีการเดินทางที่คอยอำนวยความสะดวกอยู่พื้นที่ นอกจากจุดเด่นเรื่องทำเลตลาดที่เป็นจุดศูนย์รวม ทำให้มูลค่าของพื้นที่เติบโตแล้ว พื้นที่แห่งนี้ยังตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างลงตัว ที่มาพร้อมกับแหล่งอำนวยความสะดวกมากมาย ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยว โรงพยาบาล โรงเรียน สวนสาธารณะ อีกทั้งยังมีการเดินทางที่สะดวก จึงทำให้การใช้ชีวิตในเมืองหลวงแห่งนี้ได้อย่างสะดวกครบถ้วนสมบูรณ์

(ภาพบริเวณ เซ็นทรัลลาดพร้าว)

ทำความรู้จักจตุจักร

(ภาพบริเวณ ตลาดจตุจักร)

1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร พื้นที่ทั้งหมดรวมกว่า 32.908 ตร.กม.

พื้นที่ จตุจักร ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ

  • ทิศเหนือ : ติดกับเขตหลักสี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ : ติดกับเขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีคลองน้ำแก้ว คลองพระยาเวิก และคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก : ติดกับเขตบางเขน และเขตลาดพร้าว จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีคลองบางบัวและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก : ติดกับเขตบางซื่อ จังหวัดกรุงเทพมหานคร และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีทางรถไฟสายเหนือและคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต

ติดกับแนวเส้นทางต่างๆที่เป็นเส้นแบ่งเขต เชื่อมไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้การเดินทางที่สะดวก เข้า-ออกไปยังพื้นที่ต่างๆใกล้เคียงได้อย่างสะดวก ทำเลจตุจักร ถึงแม้ไม่ใช่ทำเลที่อยู่ในเมืองเป็นจุดศูนย์กลางของกรุงเทพ แต่เป็นทำเลที่สามารถเติบโตได้จากเป็นแหล่งศูนย์รวมรองรับการเดินทางมาของผู้คน ความเจริญเริ่มขึ้นจากการเป็น การเป็นพื้นที่ขนส่ง บขส. และรถร่วม บขส. สำหรับการเดินทาง ไปยังจังหวัดในภาคเหนือ ภาคอีสานและกลางบางจังหวัด ซึ่งเดิมจะเรียกพื้นที่นี้ว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ หมอชิต จึงเกิดการโดยสารทางรถเมล์หลายๆสายก็เริ่มเข้ามารองรับการเดินทางทั่วกรุงเทพให้กับผู้โดยสารที่เดินทางมายังที่แห่งนี้ จนในตอนหลังการเติบโตของเมืองเริ่มขยาย ในการเป็นสวนสาธารณะ ผู้คนจึงเริ่มหาโอกาสการค้าขายในช่วงแรกเป็นหาบเร่แผงลอย ก่อนถูกจัดระเบียบเป็นตลาดในช่วงแรกใช้ชื่อว่า  ตลาดนัดย่านพหลโยธิน และเปลี่ยนชื่อเป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ในที่สุด และในเวลาต่อมากีการสร้างรถไฟฟ้าที่เป็นขนส่งสาราธณะ ความเจริญต่างๆจึงเติบโตมากขึ้นตามลำดับจนถึงปัจจุบันในที่สุด

ประวัติความเป็นมาย่านจตุจักร

(ภาพบริเวณ ตลาดจตุจักรในอดีต)

จตุจักร เริ่มต้นจากการเป็นส่วนหนึ่งแขวงลาดยาว ซึ่งเป็นเขตปกครองในพื้นที่ของเขตบางเขน ขณะนั้นมีพื้นที่รับผิดชอบ เป็นจำนวน 173.81 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่น และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแขวงลาดยาวซึ่งเป็นแขวงหนึ่งในจำนวน 9 แขวงของเขตบางเขน มีประชากรหนาแน่นและมีความเจริญสูง เพื่อประสิทธิภาพในการบริการประชาชนและการบริหารงาน จึงได้มีการแบ่งพื้นที่เขตบางเขนออกเป็น 3 เขต คือ เขตบางเขน เขตดอนเมือง และเขตจตุจักร โดยให้แขวงลาดยาวทั้งหมดเป็นพื้นที่การบริหารของเขตจตุจักร 

ลำดับการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

  • พ.ศ. 2507 ตำบลลาดยาว เป็นเขตการปกครองหนึ่งของอำเภอ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร

จากนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2514-2515 ได้มีการยุบรวม จังหวัดธนบุรี กับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ

  • พ.ศ. 2514 แขวงลาดยาว ขึ้นกับ เขตบางเขน จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2532 แขวงลาดยาว ถูกแยกมาจาก เขตบางเขน จากการเปลี่ยนแปลงในพื้นบางเขตในจากความหนาแน่นของประชากรมากขึ้น จึงแยกเป็น เขตจตุจักร ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532

เขตจตุจักร ถูกแบ่งเป็น 5 แขวง และขนาดพื้นที่ดูแลมีดังนี้

  • แขวงลาดยาว : 10.690 ตารางกิโลเมตร
  • แขวงเสนานิคม : 2.826 ตารางกิโลเมตร
  • แขวงจันทรเกษม : 6.026 ตารางกิโลเมตร
  • แขวงจอมพล : 5.488 ตารางกิโลเมตร
  • แขวงจตุจักร: 7.878 ตารางกิโลเมตร

ชื่อ จตุจักร หมายถึง สี่รอบราศี ซึ่งในปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการจัดสร้างสวนจตุจักรเพื่อเป็นอนุสรณ์และสิริมงคล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “สวนจตุจักร” เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2519 กรุงเทพมหานครจึงได้นำชื่ออันเป็นมงคลนี้มาเป็นชื่อของเขตที่ตั้งใหม่ ในปี พ.ศ.2532

ประวัติความเป็นมาตลาดจตุรจักร

(ภาพบริเวณ ตลาดจตุจักรในอดีต)

ตลาดนัดจตุจักร หรือ ตลาดนัดสวนจตุจักร เรียกกันอย่างย่อ ๆ ว่า JJ Market เป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 8,000 แผงค้า แบ่งเป็น 27 โครงการ มีสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด และเบ็ดเตล็ดตลาดแห่งนี้มีความเป็นมายาวนานกว่า 60 ปี เรียงลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้

  • พ.ศ. 2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐมนตรีในสมัยนั้น  มีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครนั้นได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่จัดตลาดนัด
  • พ.ศ. 2491 ในปีเดียวกันนี้ การดำเนินการของตลาดนัดเพียงไม่ถึงปีรัฐบาลก็ย้ายตลาดนัด ไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์แล้วจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามไชย
  • พ.ศ. 2501 ย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวง
  • พ.ศ. 2521 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ รัฐมนตรีในสมัยนั้น  ได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธิน โดยการดำเนินการโดยนายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงจัดที่ดินสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่ กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย
  • พ.ศ. 2525 ดำเนินการสำเร็จในการรวมผู้ค้าหาบเร่แผงลอย และผู้ค้าจากสนามหลวง โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน
  • พ.ศ. 2530  ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียง จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันพื้นที่ตลาดจตุจักร สร้างชื่อเสียงและเป็นแหล่งเศษฐกิจจากการเป็นตลาดนัดขนาดที่ใหญ่ สร้างชื่อเสียงสร้างรายได้มากมาย ที่ชาวต่างชาติปักหมุดในการท่องเที่ยวในเมืองกรุงเทพมหานครแห่งนี้ ส่งผลให้สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในพื้นที่จตุจักร แห่งนี้เติบโตมากยิ่งจากการที่ป็นทำเลที่น่าจับตามอง

จตุจักร ในปัจจุบัน แหล่งรวมไลฟไตร์ สำหรับทุกคนทั้งไทย และต่างชาติ

(ภาพบริเวณ สวนจตุจักร)

จตุจักรเป็นแหล่งที่รวมการพักผ่อนในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ให้กับเหล่าคนใช้ชีวิตในเมือง และต่างชาติที่มาพักผ่อนในประเทศไทยได้ดี ในพักผ่อน เดินเล่น กินเที่ยว จบในที่เดียว ภายในตลาดและสวนสาธารณะที่อยู่ในพื้นที่ติดกัน ก็สร้างบรรยากาศที่ดีให้กับผู้คนให้ผ่อนคลายจากการใช้ชีวิตในเมือง จตุจักรจึงรองรับการเดินทางมายังที่แห่งนี้ ให้ได้ใช้ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนสำหรับทุกคน ในทุกวัย

(ภาพบริเวณ สวนจตุจักร)

ปัจจุบันยังคงเป็นแหล่งการเดินทางที่สำคัญเหมือนเดิม แต่มีการเติบโตมากขึ้นจากการที่เดินทางมายังตลาดจตุจักรแห่งนี้ได้อีกด้วย ทำให้ตลาดจตุจักรเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาต่างๆบนพื้นที่ทำเลแห่งนี้  เริ่มดึงดูดนักพัฒนาที่ดินให้เข้ามา ทั้งทั้งอาคารสำนักงานเกรดคุณภาพสูง และคอนโดมิเนียม โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขอรัฐ จึงเกิดการประมูลราคาที่ดิน จากโครงการของภาคเอกชนเปิดออกมาขายแบบฟรีโฮลด์ (ขายกรรมสิทธิ์) ระดับราคาจึงถูกปั่นให้ไต่ระดับจากคอนโดมิเนียมระดับกลางสู่ความเป็นไฮเอนด์ ชูจุดขายทั้งการเดินทางสะดวก มีวิวสวนสาธารณะ เจาะขายทั้งนักลงทุนชาวไทยและชาวต่างชาติ ยิ่งเมื่อผสมกับบริเวณห้าแยกลาดพร้าวที่เจริญเติบโตมากขึ้น ยิ่งทำให้ภาพรวมของย่านจตุจักรร้อนแรงมากขึ้น จึงเป็นพื้นที่ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างยิ่งกับผู้ที่อาศัยในพื้นที่แห่งนี้ ที่มีฟังชั่นมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่พื้นที่แห่งนี้รองรับ โดยทำเลพื้นที่แห่งนี้ใกล้กับพื้นที่เติบโตสำคัญอย่างลาดพร้าวที่เดินทางไปมาได้อย่างสะดวก 

แม้มีการเติบโตอย่างสูงในด้านมูลค่าที่ดินและด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่มีบางโครงการเท่านั้นที่ประสบผลสำเร็จในการขายคอนโดของตัวเอง เพราะจตุจักรเป็นทำเลที่มีการแข่งขันกันสูง โดยพื้นที่ใกล้เคียงก็เป็นในรูปแบบเดียงกัน เช่นพหลโยธิน ที่เป็นทำเลแห่งการเติบโตเหมือนกัน แต่โครงการที่เติบโตจริงๆจะอยู่ในแนวพื้นที่ที่ติดกับรถไฟฟ้าเท่านั้น ถึงแม้มีเพียงบางแห่งที่ไม่ได้เติบโตมากมาย แต่ก็ไม่ได้ทำให้พื้นที่แห่งนี้มูลค่าน้อยลงเลย แถมการแข่งขันและมูลค่ายังคงสูงขึ้นอยู่เสมอ

สิ่งอำนวยความสะดวกโลเคชันสำคัญต่างๆ จตุจักร

(ภาพบริเวณ ภายในเซ็นทรัลลาดพร้าว)

จตุจักรเติบโตมากจาการการเป็นจุดขนส่งเดินทางให้กับภาคเหลือ ภาคอีกสาน และภาคกลางบางส่วน และจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้พื้นที่แห่งนี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด มาจากการเกิดขึ้นของ ตลาดจตุจักร ทำให้มีการขยายตัวที่จากเดิมมีอยู่แล้วมากขึ้นไปอีก สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆจึงเกิดขึ้นตามมาเพื่อรองรับการใช้ชีวิตผู้คนให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

(ภาพบริเวณ ภายในเซ็นทรัลลาดพร้าว)
  • ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า : มิกซ์ จตุจักร , ศูนย์การค้าบางซื่อจังชั่น จตุจักร , เจเจมอลล์ , วัตสัน เมโทรมอล จตุจักร , เซ็นทรัล ลาดพร้าว เป็นต้น
  • สถานศึกษา : โรงเรียนสตรีวรนาถบางเขน , โรงเรียนหอวัง  , โรงเรียนธัชรินทร์วิทยา , โรงเรียนแม้นศรีพัฒนาวิชาชีพและภาษา , โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ , โรงเรียนช่างฝีมือทหาร  เป็นต้น
  • สถานพยาบาล : โรงพยาบาลมิราเคิล ออฟไลฟ์ , สถานพยาบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , สถานพยาบาลการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม , โรงพยาบาลเปาโล เกษตร , โรงพยาบาลวิภาวดี เป็นต้น
(ภาพบริเวณ สวนจตุจักร)
  • สวนสาธารณะ : สวนจตุจักร , สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) , สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นต้น
  • อาคารสำนักงานสำคัญ : PTT Head Office สำนักงานใหญ่ ปตท. , อาคารวรสิน , ทีเอสที ทาวเวอร์ , สำนักงานจัดหางาน เอ็มซี คอร์ปอเรชั่น , บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  , เอส โอเอซิส , สำนักงานเขตจตุจักร , บริการด้านขนส่งพัสดุ เป็นต้น
(ภาพบริเวณ JJ Market)

ศูนย์การค้าของอุปโภคบริโภค : ตลาดนัดจตุจักร , ตลาดนัด ปตท , ตลาดนัด กม.11 , ตลาด อ.ต.ก. เป็นต้น

การเดินทางมายัง “จตุจักร”

(ภาพบริเวณ ถนนใต้ BTS หมอชิต)

จากการที่เป็นพื้นที่การขนส่ง พื้นที่การเดินทางต่างๆจึงรองรับ เพื่อเดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้ได้อย่างสะดวก และเป็นพื้นที่ และย่านจตุจักรแห่งนี้เป็นทางผ่านไปยังพื้นที่เศษฐกิจอื่นๆได้อีกด้วย

  • ทางรถยนต์ : พื้นที่จตุจักร มีเส้นทางการเดินทางมากมาย ที่สามารถสัญจรเข้าสู่พื้นที่แห่งนี้ ไล่ไปตั้งแต่ถนนเส้นพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนลาดพร้าว ถนนกำแพงเพชร เป็นต้น การเดินทางด้วยรถยนต์ในย่านนี้ จึงถือว่าค่อนข้างสะดวกสบาย สามารถมุ่งหน้าไปสู่พื้นที่ย่านอื่น ๆ ได้อย่างทั่วถึง ทั้งทางฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร

สภาพการจราจรก็เหมือนกับพื้นที่อื่นของกรุงเทพฯ ที่ติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วน และคล่องตัวในช่วงเวลาอื่น ส่วนที่ติดขัดมากมักอยู่บริเวณด้านหน้าตลาดนัดจตุจักร เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางหลายรูปแบบ ผู้คนที่ต้องมาต่อรถตรงจุดนี้ก็มีจำนวนมาก ทำให้ช่องการจราจรบนถนนถูกบีบให้เล็กลงโดยอัตโนมัติ

  • ทางพิเศษ : ทางพิเศษที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ย่าน ได้แก่ ทางยกระดับอุตราภิมุข วางตัวตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต วิ่งมาจากโซนรังสิตผ่านพื้นที่ย่าน แล้วเข้าสู่ใจกลางเมือง ต่อมาเป็นทางพิเศษศรีรัช อยู่ทางด้านหลังของสวนรถไฟ วิ่งมาจากเขตบางเขน แล้วเข้าสู่ตัวเมืองไปเช่นกัน รวมถึงทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ที่เชื่อมต่อไปถึงบริเวณตลิ่งชัน โดยมีจุดขึ้น-ลง อยู่ไม่ไกลจากบริเวณสวนรถไฟ
  • รถเมล์ : มีป้ายรถประจำทางอยู่ตลอดบนถนนเส้นหลักทุกเส้นในย่านนี้ คอยให้บริการเป็นระยะ โดยรถเมล์สายสำคัญได้แก่
  • รถเมล์สาย 3 : หมอชิตใหม่ – คลองสาน
  • รถเมล์สาย 28 : สถานีขนส่งผู้โดยสารจตุจักร – สถานีขนส่งผู้โดยสารตลิ่งชัน
  • รถเมล์สาย 29 : ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต – หัวลำโพง
  • รถเมล์สาย 63 : ตลาด อตก.3 – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • รถเมล์สาย 90 : ท่าน้ำบางพูน – เกียกกาย
  • รถเมล์สาย 104 : ปากเกร็ด – ถนนติวานนท์-ขนส่งสายเหนือ
  • รถเมล์สาย 157 : อ้อมใหญ่ – อู่หมอชิต
(ภาพบริเวณ ภาพรถไฟฟ้า BTS)
  • รถไฟฟ้า : จตุจักรเป็นพื้นที่เป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าสำคัญ อีกทั้งยังสะดวกต่อการเดินทางมายังตลาดจตุจักร ปัจจุบันรถไฟฟ้าที่ผ่านในเขตบางซื่อ  2 สาย ที่เชื่อมต่อกัน
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว BTS
  • รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน MRT 
  • วินมอเตอร์ไซค์ : เนื่องจากว่า ตรงใจกลางย่านจตุจักรเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังสถานีขนส่งได้ด้วย ดังนั้นวินมอเตอร์ไซค์จึงค่อนข้างเยอะ เพราะในช่วงเร่งรีบที่คนกลัวว่าจะตกรถ บวกกับสภาพรถติดในเทศกาลต่าง ๆ วินมอเตอร์ไซค์ ถือว่าตอบโจทย์ที่สุด จุดสำคัญที่คอยให้บริการอยู่คือทางลงรถไฟฟ้า BTS สถานีหมอชิตทั้ง 2 ฝั่ง และด้านในตลาดนัดจตุจักร ค่าบริการเริ่มต้นที่ 15 บาท ราคาค่าโดยสารอาจเปลี่ยนแปลงได้
  • รถตู้ : มีรถตู้ให้บริการจำนวนมากทีเดียว มีทั้งที่จอดรอตามคิวรถ และแบบที่แวะรับตามป้ายรถประจำทาง เส้นทางการวิ่งมีให้เลือกหลากหลาย เช่น อนุสาวรีย์ – ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีนบุรี – ปากเกร็ด เกษตร – อนุสาวรีย์

ภาพรวมความเจริญสู่ทำเลทองการพัฒนา ในอนาคต

(ภาพจำลอง คอนโด The Crest Park Residences)

จตุจักร เป็นทำเลที่ขยายการเติบโตจากการพื้นที่ ที่มีตลาดนัดที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ทำให้การเติบโตในพื้นที่สูงมากยิ่งขึ้น โดยมีนักลงทุนต่างๆเข้ามาพัฒนาในพื้นที่แห่งนี้ และเป็นพื้นที่การแข่งขันมากขึ้นอีกด้วย จากการประมูลราคาที่ดินที่สูง ทำให้เกิดการพัฒนาคอนโดอสังหาริมทรัพย์ ในระดับกลาง จนถึงระดับไฮเอน 

และด้วยการเป็นพื้นที่แห่งการขนส่ง ทำให้การเดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้สะดวก ทั้งจากการสัญจรบนถนนที่สามารถเดินทางได้หลายเส้นทางไปยังพื้นที่สำคัญใกล้เคียง เช่น ถนนเส้นพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนลาดพร้าว ถนนกำแพงเพชร เป็นต้น ที่เป็นพื้นที่แห่งการเติบโตสำคัญ 

อีกทั้งยังมีการเดินทางด้วยเส้นทางรถไฟฟ้า ยิ่งส่งผลให้พื้นที่แห่งนี้มีการเติบโตมากขึ้น และถึงแม้กรุงเทพจะมีแหล่งขนส่งสำคัญใกล้เคียงอย่างบางซื่อที่ถูกกำลังถูกพัฒนาอย่างเต็มระบบเกิดขึ้น แต่เป็นเพียงการขยายการเติบโตเท่านั้น เพราะจากสถานีกลางบางซื่อมายังย่านจตุจักร เพียงแค่ 2 สถานีเท่านั้น ภาพรวมของทั้งย่านบางซื่อและย่านจตุจักรจะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ และผู้คนจะสามารถเดินทางหลั่งไหลมายังจุดทำเลการค้าจตุจักรที่มีไทย และต่างชาติ ได้อย่างสะดวกมากขึ้นอีกด้วย

2 โครงการที่น่าจับตามากส่งผลให้ทำเลแห่งนี้เป็นพื้นที่เติบโตมากยิ่งขึ้นคือ

  • การเกิดสถานีกลางบางซื่อ ที่จะเกิดผลมหาศาลจากการขยายการเดินทาง ทำให้ผู้คนมีโอกาสเดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้มากยิ่งขึ้น
  • การย้ายกลับมาของโครงการสถานีขนส่งฯ หมอชิตให้กลับมาอยู่ที่หมอชิตเก่า เรียกว่า หมอชิตใหม่ ย้ายกลับหมอชิตเก่า เพราะพื้นที่หมอชิตใหม่นั้น การรถไฟฯ จะขอคืนเพื่อนำไปพัฒนาเป็นโครงการเชิงพาณิชย์รองรับสถานีกลางบางซื่อ และก่อนหน้านี้ บขส. มีแนวคิดจะย้ายไปย้ายรังสิต แต่อาจจะไม่สะดวกต่อการเดินทาง จึงกลับมาที่แนวคิดย้ายหมอชิตกลับมาอยู่ที่เดิม

หาก2โครงการนี้ดำเนินการสำเร็จคาดว่าอนาคตพื้นที่แห่งนี้ จะมีการเติบโตที่มากขึ้นอย่างน่าติดตาม

จตุจักร ทำเลคุ้มค่าน่าลงทุน ราคาพุ่งต่อเนื่อง

(ภาพจำลอง คอนโด THE LINE Jatujak - Mochit)

ราคาประเมินที่ดินในย่านจตุจักรในช่วงปีต่างๆ

  • ในช่วงปี 2563 – 2566 เฉลี่ยราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 200,000-280,000 ต่อตารางวา

โดยอนาคตเชื่อว่าที่แห่งนี้ยังคงขยายและแนวโน้มว่าอาจจะพุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้ ทำให้มูลค่าที่ดินสูงมากยิ่งขึ้น ตามเศษฐกิจของเมืองที่กำลังเติบโตอย่างแน่นอน 

สรุปส่งท้าย

ทำเลพื้นที่จตุจักรแห่งนี้ เป็นทำเลการเติบโต ที่มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นพื้นที่การขนส่งสำคัญที่รองรับการไปที่ต่างๆ และเติบโตอย่างมากหลังจากการเกิดตลาดจตุจักร ที่ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีการใช้เวลาในวันหยุดได้อย่างคุ้มค่า รองรับการมาของผู้คนได้ทุกระดับ ทุกเพศ ทุกวัย และทุกชาติ ที่มีการหลั่งไหล ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคนต่อปี อีกทั้งยังมีการขนส่งทางรถไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กับ จึงทำให้มีการเดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้สะดวกมากยิ่งขึ้น และการเติบโตในพื้นที่แห่งนี้ทำให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง

หากท่านเป็นหนึ่งคนที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพทย์น่าลงทุนในพื้นที่ย่านแห่งนี้ สามารถเข้ามาเยี่ยมชมโครงการต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ https://propertyscout.co.th ได้ทันที  เพราะเราได้รวบรวมแหล่งรวม อสังหาฯ ที่ดีที่สุดในประเทศไทยให้สำหรับท่านแล้ว