ชวนรู้จัก ‘ค่าโอนที่ดิน’ พร้อมอัปเดตค่าโอนประจำปี 2023!

Author
by
At
March 15, 2023
ชวนรู้จัก ‘ค่าโอนที่ดิน’ พร้อมอัปเดตค่าโอนประจำปี 2023! ชวนรู้จัก ‘ค่าโอนที่ดิน’ พร้อมอัปเดตค่าโอนประจำปี 2023!

รู้ไว้ดีเวอร์ จดเลย!

เรื่องของค่าโอนที่ดินนั้นเป็นอะไรที่ชาวอสังหา ฯ จะต้องห้ามพลาด ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสถานะไหน ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ เพราะว่าการที่คุณรู้เรื่องนี้ไว้ จะทำให้คุณไม่พลาดเรื่องการลงทุนและการคำนวณค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังช่วยให้คุณทำสัญญาในการซื้อขายได้ง่ายขึ้นด้วย แถมครั้งนี้ เรายังมีการอัปเดตค่าโอนประจำปีนี้ด้วยนะคะ จะมีอะไร มาดูกันเลย!

ชวนรู้จัก 'ค่าโอนที่ดิน' พร้อมอัปเดตค่าโอนประจำปี 2023!
ชวนรู้จัก 'ค่าโอนที่ดิน' พร้อมอัปเดตค่าโอนประจำปี 2023!

ค่าโอนที่ดินคืออะไร

ค่าโอนที่ดิน ก็คือค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการโอนแบบการยกมรดก การโอนโดยเสน่หา ไปจนถึงการโอนเพื่อซื้อ-ขายอย่างที่เราเห็นกันในซื้อขายอสังหา ฯ กันแบบปกตินั่นเองค่ะ ซึ่งค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เป้าหมายนั่นเองค่ะ

ซึ่งพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นได้มีการอัปเดตอยู่เรื่อย ๆ ค่ะ แต่อาจจะไม่ได้เป็นรายปี อย่างล่าสุดที่อัปเดตก็คือช่วงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 ซึ่งตัวที่อัปเดตมาใหม่นั้น จะถูกนำมาใช้แทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน-ที่ดิน ที่ถูกยกเลิกไป โดยจะเปลี่ยนมาให้ใช้เป็นการโอนที่ดินและโอนบ้าน เพื่อให้เสียภาษีที่ดินน้อยลงค่ะ

ค่าโอนที่ดินคืออะไร
ค่าโอนที่ดินคืออะไร

ทำไมต้องรู้จัก?

เพราะว่าค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ของอสังหาริมทรัพย์ หรือ ค่าโอนที่ดิน นั้นทั้งคอนโด บ้าน และที่ดิน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับวงการอสังหา ฯ ต้องรู้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อ ผู้ขาย นักลงทุน นายหน้า เป็นต้นค่ะ เนื่องจากต้องใช้เพื่อการพิจารณาซื่้อ-ขาย การตั้งราคา และใช้เป็นข้อมูลต่อรองและลดราคา ทั้งหมดนี้นอกจากจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือแล้ว ยังช่วยไม่ให้การทุนอีกด้วย

ส่วนสำหรับผู้ซื้อนั้นก็จำเป็นต้องรู้ เพื่อไม่ให้เสียเปรียบในการซื้อ-ขาย อีกทั้งยังทำให้สามารถประเมินงบประมาณได้อย่างครอบคลุมและถูกต้อง

ใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

หากให้พูดตามความจริงนั้น ทั้งผู้ซื้อและผู้จ่ายต้องจ่ายร่วมกันค่ะ แต่ในบางกรณีนั้น ผู้ซื้อจะจ่ายเอง หรือผู้ขายก็จะจ่ายเอง เนื่องจากว่ากฏหมายไม่ได้ระบุว่าใครจะต้องเป็นคนจ่าย ดังนั้นทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับการตกลง ซึ่งจะต่างกันไปตามข้อตกลงที่ตกลงกันไว้ในตอนที่เซ็นสัญญาค่ะ และจุดสำคัญที่ห้ามพลาดก็คือ ต้องมีการตกลงราคากันให้ชัดเจน รวมถึงมีหลักฐานในการพูดคุย เพื่อไม่ให้มีปัญหาตามมาทีหลัง

ส่วนกรณีที่ผู้ขายเป็นบริษัทอสังหา ฯ นั้น จะมีพนักงานขายหรือเซลล์ที่จะสรุปรายการค่าใช้จ่ายให้ แต่ถ้าเป็นกรณีซื้อขายกันเอง ผู้ซื้อจะต้องเตรียมข้อมูลเองค่ะ

*รายการที่ต้องเตรียมอิงจากได้หัวข้อ ค่าใช้จ่ายในการโอนสำหรับซื้อ-ขาย


การโอนที่ดินมีที่แบบ

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า การโอนที่ดินนั้นจะมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะไม่เหมือนกัน แบ่งได้ตามนี้เลยค่ะ

โอนโดยยกให้ญาติพี่น้อง

ในกรณีที่เราต้องการโอนที่ดินและบ้านให้กับคนในครอบครัวนั้น จะมีกฏหมายที่กำหนดถึงลักษณะและค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับเราค่ะ

ให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำนิยามของลูกที่ชอบด้วยกฏหมายนั้น จะหมายถึง ลูกที่เกิดจากพ่อและแม่ที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฏหมาย เมื่อผู้ปกครองต้องการโอนบ้าน โอนที่ดิน จะมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ อยู่ 2 อย่างค่ะ

  • ค่าธรรมเนียมการโอน - 0.5% จากราคาประเมิน
  • ค่าอากรแสตมป์ - 0.5% จากราคาประเมิน
ให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย

อีกทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะต้องมีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยค่ะ แต่จะได้รับการยกเว้นในกรณีที่มูลค่าต่อคนนั้นจะต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท หากเกินกำหนด จะต้องเสียภาษีอยู่ที่ 5% ของมูลค่าอสังหา ฯ เฉพาะส่วนที่เกินมาจาก 20 ล้านบาทค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น

กรณีที่ไม่เกิน - พ่อและแม่ต้องการโอนบ้านให้กับนาย A ซึ่งเมื่ออิงจากราคาประเมินแล้ว จะมีราคาอยู่ที่ 5 ล้านบาท ดังนั้น ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะแบ่งตามนี้เลยค่ะ

ค่าธรรมเนียมการโอน - 5 ล้านบาท*0.5% = 25,000 บาท
ค่าอากรสแตมป์ - 5 ล้านบาท*0.5% = 25,000 บาท

รวมแล้ว จะต้องเสียค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 50,000 บาทนั่นเองค่ะ

กรณีที่เกิน - พ่อและแม่ต้องการโอนที่ดินให้กับ นาย P และนางสาว S โดยจะมีมูลค่าที่ดินจากราคาประเมินอยู่ที่ 30 ล้านบาท ดังนั้น ค่าใช้จ่ายจะแบ่งตามนี้

นำราคาประเมินมา - กับราคายกเว้น
30,000,000 - 20,000,000 = 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท)

เราจะนำสิบล้านบาทมาคิดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ต่อค่ะ
ค่าธรรมเนียมการโอน - 10 ล้านบาท*0.5% = 50,000 บาท
ค่าอากรสแตมป์ - 10 ล้านบาท*0.5% = 50,000 บาท

รวมแล้ว จะต้องเสียค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 100,000 บาทนั่นเองค่ะ ตกคนละ 50,000 บาท

ให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย จะมีความหมายถึงบุตรที่พ่อหรือแม่ไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งในกรณีที่โอนให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายนั้นจะต้องมีค่าใช้จ่าย 3 ประการ ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมการโอน - 0.5% จากราคาประเมิน
  • ค่าอากรแสตมป์ - 0.5% จาก หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - อิงจากราคาประเมิน (คิดตามค่าบันไดของรายได้)
    • หักค่าใช้จ่ายได้อยู่ที่ 50%

*ลูกบุญธรรมจะอยู่ในกรณีของญาตินะคะ

ให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โอนให้แก่สามี-ภรรยา

หากต้องการโอนที่ดินและบ้านให้กับคู่สมรสหรือสามี-ภรรยานั้น หากไม่ได้โอนในรูปแบบของมรดก* จะต้องมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมการโอน - 0.5% จากราคาประเมิน
  • ค่าอากรแสตมป์ - 0.5% จาก หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - อิงจากราคาประเมิน (คิดตามค่าบันไดของรายได้)
    • หักค่าใช้จ่ายได้อยู่ที่ 50%
โอนให้แก่สามี-ภรรยา
โอนให้แก่สามี-ภรรยา

โอนให้ญาติพี่น้อง

หากต้องการโอนให้ญาติ (ทุก ๆ คนในเครือญาติไม่ว่าจะเป็นพี่ น้อง ปู่ ย่า ป้า น้า ลูกบุญธรรม ลูกเขย ลูกสะใภ้ เป็นต้น) กรณีที่ไม่ได้โอนในรูปแบบของมรดกนั้น จะต้องเสียค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมการโอน
    • 2% จากราคาประเมิน กรณีที่เป็นญาติ
    • 0.5 % จากราคาประเมิน กรณีที่เป็นปู่ ย่า ตา ยาย โอนที่ดินให้หลานผู้สืบสันดานแท้ ๆ
  • ค่าอากรแสตมป์ - 0.5% จาก หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - อิงจากราคาประเมิน (คิดตามค่าบันไดของรายได้)
    • หักค่าใช้จ่ายได้อยู่ที่ 50%
โอนให้ญาติพี่น้อง
โอนให้ญาติพี่น้อง

นอกจากนี้ ในทุกกรณีของการโอน จะต้องมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น

  • ค่าคำขอ - แปลงละ 5 บาท
  • ค่าพยาน - 20 บาท
  • ค่าอากรคู่ฉบับ - 5 บาท

โอนมรดก

กรณีที่เป็นการโอนมรดก การคิดค่าธรรมเนียมนั้นจะต่างกันออกไป โดยจะเสียเพียงค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนมรดกเท่านั้น ซึ่งจะกำหนดว่า หากผู้รับมรดกนั้นเป็นผู้สืบสันดาน (บุตร หลาน เหลน และอื่น ๆ) หรือคู่สมรส จะต้องเสีย 0.5% จากราคาประเมิน หากเป็นญาติพี่น้อง หรือบุตรบุญธรรม จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน

โอนมรดก
โอนมรดก

ในส่วนของราคาอากรค่าสแตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะไม่ต้องเสีย แต่จะต้องมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย เช่น

  • ค่าคำขอ - แปลงละ 5 บาท
  • ค่าประกาศมรดก - แปลงละ 10 บาท
  • ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก - แปลงละ 50 บาท

แต่ว่าในกรณีการโอนมรดกนั้น ผู้ที่รับมรดกจะต้องเสียค่าภาษีมรดกตามอัตรานี้

  • หากมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาทนั้น จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10% เฉพาะส่วนเกินที่มาจากมูลค่า 100 ล้านบาท

ยกตัวอย่างเช่น

  1. กรณีที่เป็นผู้สืบสันดาน - พ่อ แม่ ลูก หลาน - *อัตราภาษีจะลงมาเหลือเพียง 5% เท่านั้น

ลูกได้รับมรดกจากพ่อและแม่เป็นที่ดิน มูลค่าและราคาประเมินนั้นมีมากกว่า 150 ล้านบาท จะต้องเสียค่ามรดกที่ดินดังนี้

คิดส่วนต่างของเงินที่ต้องจ่าย : 150,000,000 - 100,000,000 = 50,000,000 บาท

เราจะนำราคาส่วนต่างนี้มาคิดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ต่อค่ะ

50,000,000*5% = 2,500,000 บาท

รวมแล้ว จะต้องเสียค่ามรดกที่ดินอยู่ที่ 2,500,000 บาท

2. กรณีที่เป็นญาติ - อัตราภาษี 10%

หลานได้รับมรดกที่ดินราคาเป็นจำนวน 110 ล้านบาทจากลุง จะต้องเสียค่ามรดกที่ดิน ดังนี้

คิดส่วนต่างของเงินที่ต้องจ่าย : 110,000,000 - 100,000,000 = 10,000,000 บาท

เราจะนำราคาส่วนต่างนี้มาคิดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ต่อค่ะ

10,000,000*10% = 1,000,000 บาท

รวมแล้ว จะต้องเสียค่ามรดกที่ดินอยู่ที่ 1,000,000 บาท

3. ถ้าสามีหรือภรรยาฝ่ายใดฝ่ายนึงนั้นเสียชีวิต

หากจดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย ผู้ที่ได้รับมรดกจะต้องได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี


โอนสำหรับการซื้อ-ขาย

ในส่วนของการโอนแบบซื้อ-ขายบ้านและที่ดิน นั้น จะมีปัจจัยในการโอน 5 อย่างด้วยกัน ไม่ว่ากับญาติพี่น้อง หรือบุคคลทั่วไป ได้แก่

  • ค่าธรรมเนียมการโอน
  • ค่าจดจำนอง
  • ค่าอากรแสตมป์
  • ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ซึ่งรายละเอียดการคำนวณอื่น ๆ นั้นเราจะแนบไว้ในหัวข้อต่อไปด้านล่างค่ะ

โอนสำหรับการซื้อ-ขาย
โอนสำหรับการซื้อ-ขาย

ค่าใช้จ่ายในการโอนสำหรับซื้อ-ขาย

ในการซื้อขายบ้านและที่ดิน จะมีค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เราต้องเสียให้กับสำนักงานที่ดิน แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ค่าใช้จ่ายต่อแปลง

  • ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท
  • ค่าอากร 5 บาท
  • ค่าพยาน 20 บาท

ค่าใช้จ่ายตามราคาประเมิน

  • ค่าธรรมเนียมในการโอน
  • ค่าจดจำนอง
  • ค่าอากรแสตมป์
  • ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

และในวันนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายตามราคาประเมินนะคะ เพราะตรงนี้จะเป็นราคาที่ไม่ตายตัว จะขึ้นอยู่กับการประเมิน การหักลบ อัตราภาษี และอื่น ๆ อีกมากมาย ต่างจากค่าใช้จ่ายต่อแปลงที่มีราคาที่ตายตัว ไม่จำเป็นต้องมาคำนวณอะไรเพิ่มค่ะ

ค่าใช้จ่ายในการโอนสำหรับซื้อ-ขาย
ค่าใช้จ่ายในการโอนสำหรับซื้อ-ขาย

ค่าธรรมเนียมในการโอน

ส่วนแรกจะเป็นเรื่องของค่าธรรมเนียมในการโอนค่ะ ปกติแล้วค่าธรรมเนียมตัวนี้จะคิดเป็นราคาร้อยละ 2 จากราคาประเมิน แต่ในปีนี้ได้มีการปรับลดให้เหลือเพียง 1% เท่านั้นค่ะ ยกเว้นแต่มูลค่าการซื้อขายนั้นจะเกินราคา 3 ล้านบาท จะต้องยังโอนอยู่ที่ 2% เท่าเดิม แต่จะมีเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้นะคะ

  • เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ห้องแถว อาคารพาณิชย์หรือห้องชุด
  • ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมินทุนทรัพย์ และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา ไม่รวมการขายเฉพาะส่วน
  • ถ้าโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนอง
  • ต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย

ยกตัวอย่าง

กรณีที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท*

ซื้อ-ขายบ้านราคา 2 ล้านบาท จะต้องเสียค่าธรรมเนียมอยู่ที่เท่าไหร่

3 ล้าน*1% = 30,000 บาท

รวมแล้วเสียค่าธรรมเนียมราว ๆ 30,000 บาท 

ค่าธรรมเนียมในการโอน
ค่าธรรมเนียมในการโอน

ส่วนใหญ่แล้วผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงจ่ายกันคนละครึ่งหนึ่ง ซึ่ง 2% นี้จะเป็นราคาประเมินที่ดินที่รวมสิ่งปลูกสร้างไว้ จะแบ่งกันจ่ายคนละครึ่ง หรือขึ้นอยู่กับสัญญาว่าใครจะจ่าย แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งกันจ่ายค่ะ

*ราคาประเมินคือ ราคาที่รัฐบาลเป็นคนกำหนดให้เป็นราคากลางของการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าธรรมเนียมและภาษี สามารถเช็กราคาประเมินได้จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์

ค่าจดจำนอง

ค่าจดจำนองนั้นจะต้องเสีย กรณีที่ซื้อขายโดยการจดจำนอง ปกติจะคิดอยู่ที่ร้อยละ 1 แต่ว่าในปี 2566 นั้นไ้ด้มีการเพิ่มนโยบาย ปรับลดลงเหลือ 0.01% ตามเงื่อนไขเหมือนกับค่าธรรมเนียมในการโอนเลยค่ะ ยกเว้น หากมูลค่าการซื้อ-ขายมากกว่า 3 ล้านบาท ค่าจดจำนองยังคงคิด 1% ตามเดิม 

ค่าจดจำนอง
ค่าจดจำนอง

ยกตัวอย่าง

กรณีที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท*

ในกรณีที่ซื้อบ้านมูลค่า 2.5 ล้านบาท หากโอนและจดจำนองพร้อมกันวันที่ 31 ธันวาคม 2566 จะเสียค่าใช้จ่ายดังนี้

อัตราปกติ

จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 2% และค่าจดจำนอง 1%

ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 2.5 ล้าน*2% = 50,000

ค่าจดจำนอง 2.5 ล้าน*1% = 25,000

รวมแล้วอยู่ที่ 75,000 บาท

อัตราใหม่ปี 2566

จะต้องเสียค่าธรรมเนียม และค่าจดจำนอง 0.1%

ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 2.5 ล้าน*1% = 25,000

ค่าจดจำนอง 2.5 ล้าน*0.01% = 2,500

รวมแล้วอยู่ที่ 27,500 บาท

ราคาจะต่างกันอยู่ที่ 34,500 บาท*

ค่าอากรแสตมป์

กรณีซื้อ-ขายบ้านพร้อมที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นบ้านชนิดไหนก็ตาม หากเป็นผู้ขายจากบุคลลธรรมดา แล้วมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หรือถือครองมาครบ 5 ปี จะต้องเสียค่าอากรสแตมป์ โดยจะมีอัตราการคิดอยู่ที่ 0.5% ของราคาซื้อ-ขาย หรือจะคิดจากราคาประเมินทุนทรัพย์ (ขึ้นอยู่กับว่าราคาไหนสูงกว่า)

*ซึ่งแม้จะเสียค่าอากรแสตมป์ แต่เราก็ไม่ต้องเสียค่าธุรกิจเฉพาะอีก

ค่าอากรแสตมป์
ค่าอากรแสตมป์

ยกตัวอย่าง

หากมีบ้านที่มีราคาประเมินอยู่ที่ 1.5 ล้านบาท แต่มีราคาซื้อ-ขายอยู่ที่ 2 ล้านบาท เราจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์เท่าไหร่

*อย่างแรกคือ ให้ยึดราคาที่แพงที่สุด นั่นก็คือราคา 2 ล้านบาทมาคำนวณค่ะ

2,000,000*0.5% = 10,000 บาท

รวมแล้ว เสียค่าอากรแสตมป์อยู่ที่ 10,000 บาทค่ะ

ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

การเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนั้นจะต้องเสียในกรณีที่ซื้อ-ขายอสังหา ฯ ได้จากการรับมรดก หรือถูกเวนคืนตามกฏหมาย โดยจะคิดเป็น 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่ว่าราคาไหนที่สูงกว่า

*ยกเว้นแต่การถือครองอสังหา ฯ เกิน 5 ปีขึ้นไป และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี จะต้องเสีย ค่าอากรแสตป์ค่ะ

ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

ยกตัวอย่าง

หากมีราคาประเมินอยู่ที่ 2 ล้านบาท แต่ราคาซื้อขายอยู่ที่ 2.5 ล้านบาท ให้ยึดราคาที่แพงกว่าเป็นเกณฑ์

2.5 ล้านบาท*3.3% = 82,500 บาท

รวมแล้วจะต้องจ่ายค่าภาษีธุรกิจเฉพาะจะอยู่ที่ 82,500 บาทค่ะ

ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

มาถึงส่วนสุดท้ายที่ทุกคนต้องจ่ายอย่างเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลนั่นเองค่ะ ซึ่งผู้ขายจะต้องเสียภาษีเงินได้อยู่ที่ 1% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อ-ขาย ขึ้นอยู่กับราคาใดราคานึงที่สูงกว่า แต่หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีเงินได้โดยนำราคาประเมินรวมที่และสิ่งปลูกสร้างมาเป็นตัวตั้งในการคำนวณอัตราภาษี สามารถคำนวณได้จากลิงก์นี้เลยค่ะ

อัตราภาษีเงินได้ที่หัก ณ ที่จ่าย เมื่อซื้อ-ขายอสังหา ฯ และที่ดิน

เงินได้สุทธิ (บาท)จำนวนเงินที่ได้ (บาท)อัตราภาษี
0-300,000300,0005%
300,001-500,000200,00010%
500,001-750,000250,00015%
750,001-1,000,000250,00020%
1,000,001-2,000,0001,000,00025%
2,000,001-5,000,0003,000,00030%
5,000,001 ขึ้นไป35%

การหักค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ถือครอง

จำนวนปีที่ถือครองร้อยละของเงินที่ได้ (ราคาประเมิน)
192%
284%
377%
471%
565%
660%
755%
8 ปีขึ้นไป50%

*หากถือครองเกิน 10 ปีให้นับว่าเป็น 10 ปีเท่านั้น

ตัวอย่างการคำนวณ

กรณีซื้อ-ขาย

ขายบ้านที่ได้จากการซื้อ-ขายมาในราคา 10 ล้านบาท แต่บ้านมีราคาประเมินอยู่ที่ 5 ล้าน และถือครองมาแล้วกว่า 5 ปี ไล่ลำดับการคำนวณดังนี้

ราคาประเมิน
หักค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ถือครอง
หารด้วยปีที่ถือครอง
คำนวณอัตราตามภาษีเงินได้
คูณปีที่ถือครอง

คำนวณราคาประเมิน

*อิงจากตารางด้านบนได้เลยค่ะ

ราคาประเมิน*ร้อยละของเงินที่ได้ตามปีที่ถือครอง

5,000,000*65% = 3,250,000 บาท

จะได้มูลค่าที่ต้องใช้คำนวณมาคิดภาษีอยู่ที่ 3,250,000 บาท

หารด้วยปีที่ถือครอง

ก่อนจะนำมาคำนวณอัตราตามภาษี เราจะต้องนำจำนวนเงินที่ได้มาหารกับปีที่ถือครองก่อนค่ะ สามารถทำตามตัวอย่างนี้ได้เลยนะคะ

ราคาคำนวณภาษี/หารปีที่ถือครอง

3,250,000/5 = 650,000 บาท

จะได้มูลค่าอยู่ที่ 650,000 บาท

คำนวณอัตราตามภาษีเงินได้

*อิงจากตารางด้านบนได้เลยค่ะ

เงินได้สุทธิอัตราภาษีจำนวนภาษีที่จ่าย
500,00015%75,000

คูณปีที่ถือครอง

จำนวนภาษีที่ต้องจ่าย*ปีที่ถือครอง

75,000*5 = 375,000

จะได้มูลค่าอยู่ที่ 375,000 บาท


กรณีขายบ้านจากการได้รับมรดก

ขายบ้านที่ได้จากมรดกมาในราคา 5 ล้านบาท แต่บ้านมีราคาประเมินอยู่ที่ 3 ล้าน และถือครองมาแล้วกว่า 2 ปี ไล่ลำดับการคำนวณดังนี้

ราคาประเมิน
หักค่าใช้จ่าย 50% (ไม่นับปีที่ถือครอง)
หารด้วยปีที่ถือครอง
คำนวณอัตราตามภาษีเงินได้
คูณปีที่ถือครอง

คำนวณราคาประเมิน

*อิงจากตารางด้านบนได้เลยค่ะ

ราคาประเมิน*ร้อยละของเงินที่ได้ตามปีที่ถือครอง

5,000,000*50% = 2,500,000 บาท

จะได้มูลค่าที่ต้องใช้คำนวณมาคิดภาษีอยู่ที่ 2,500,000 บาท

หารด้วยปีที่ถือครอง

ก่อนจะนำมาคำนวณอัตราตามภาษี เราจะต้องนำจำนวนเงินที่ได้มาหารกับปีที่ถือครองก่อนค่ะ สามารถทำตามตัวอย่างนี้ได้เลยนะคะ

ราคาคำนวณภาษี/หารปีที่ถือครอง

2,500,000/2 = 1,250,000 บาท

จะได้มูลค่าอยู่ที่ 500,000 บาท

คำนวณอัตราตามภาษีเงินได้

*อิงจากตารางด้านบนได้เลยค่ะ

เงินได้สุทธิอัตราภาษีจำนวนภาษีที่จ่าย
1,250,00025%312,500

คูณปีที่ถือครอง

จำนวนภาษีที่ต้องจ่าย*ปีที่ถือครอง

312,500*2 = 625,000

จะได้มูลค่าอยู่ที่ 625,000 บาท


สรุปค่าใช้จ่ายปี 2566

ค่าใช้จ่ายจำนวนเงินผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ค่าธรรมเนียมการโอน1% ของราคาประเมิน*ตามแต่ตกลง
ค่าจดจอง0.01% ของมูลค่าจำนอง*ผู้ซื้อหรือตามแต่ตกล
ค่าอากรแสตมป์***0.5% ของมูลค่าที่เยอะที่สุด**ผู้ขาย
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ***3.3% ของมูลค่าที่เยอะที่สุด**ผู้ขาย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบุคคลธรรมดา - ตามราคาประเมินและปีที่ครอง
นิติบุคคล - คิด 1% จากมูลค่าที่เยอะที่สุด**
ผู้ขาย

*หลังหมดนโยบาย ค่าใช้จ่ายจะกลับมาเป็น 2% และ 1% ตามลำดับ
**อิงจากราคาซื้อขายและราคาประเมิน
***เลือกจ่ายได้ อิงตามปีที่ถือครอง


อัปเดตค่าโอนที่ดิน

ในปัจจุบันนั้น ธนาคารที่ดินได้มีการออกนโยบายทางการเงินเพื่อลดเรื่องภาระค่าใช้จ่าย แก้ไขปัญหาที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน โดยการ

ให้ลดค่าธรรมเนียมโอนเหลือ 1% และค่าจำนองเหลือ 0.01% ไปจนถึงปี 2568 เลยค่ะ

อัปเดตค่าโอนที่ดิน
อัปเดตค่าโอนที่ดิน

โดยในวันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2565 นั้น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกมาประกาศว่า รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายนี้เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องของที่ดินสำหรับเกษตรกร ผู้ยากไป ไปจนถึงเรื่องของการจัดการการใช้ประโยชน์ของที่ดิน

สำหรับการโอนและจำนองอสังหา ฯ ในภารกิจของบจธ. (สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน) โดยการลดค่าโอนที่ดินและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากอัตรา 2% และ 1% เหลือเพียง 0.01% เท่านั้น โดยจะบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2568


สรุปส่งท้าย

ค่าโอนที่ดิน อีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่เราจำเป็นต้องรู้สำหรับการซื้อ-ขายอสังหา ฯ ในปัจจุบัน เพราะว่าสิ่งนี้จะช่วยในเรื่องของการลงทุน การซื้อ-ขาย รวมไปถึงทำให้ราคาต่าง ๆ ในสัญญานั้นชัดและปลอดภัยกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายนั่นเองค่ะ แถมในบล็อคนี้ เรายังได้เอาข้อมูลแบบอัปเดตมาให้ลองดูกันเพื่อประกอบการตัดสินใจด้วยนะคะ

ทาง PropertyScout หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณในเรื่องของค่าใช้จ่ายการโอนไม่มากก็น้อย ถ้าใครมีบทความอะไรอยากมาพูดคุย มาแชร์ สามารถพิมพ์มาได้เลยค่า เจอกันใหม่นะคะ บะบายยยย


ติดต่อเช่า-ซื้อ-ขาย อสังหา ฯ กับเราได้ง่าย ๆ
คลิกเลย