บ้านก็อยากมี รถก็อยากได้ ซื้อบ้านหรือรถยนต์ก่อนดี?

Author
by
At
July 17, 2023
บ้านก็อยากมี รถก็อยากได้ ซื้อบ้านหรือรถยนต์ก่อนดี? บ้านก็อยากมี รถก็อยากได้ ซื้อบ้านหรือรถยนต์ก่อนดี?

คำถาม เรื่องการ ซื้อบ้านกับซื้อรถยนต์ ควรซื้ออะไรก่อนกัน เป็นอีกปัญหาโลกแตกอย่างหนึ่งสำหรับทุกคนที่เริ่มต้นทำงานมาได้สักระยะ พอเราเริ่มมีเงินเก็บสักก้อน เรามักจะต้องเกิดคำถามนี้ในใจขึ้นมากันอย่างแน่นอน ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ก็เป็นเหมือน หลักประกันในชีวิต ที่ให้ความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากขึ้น แล้วเราควรจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังกันอย่างไร? มีหลักในการคิด และพิจารณาก่อนการเลือกซื้อของทั้งสองสิ่งนี้อย่างไรบ้าง ไปดูพร้อมกันกับ PropertyScout ได้ในบทความนี้


ซื้อพร้อมกันทั้งสองอย่างเลย จะดีไหม?

ซื้อพร้อมกันทั้งสองอย่างเลย-จะดีไหม

การซื้อพร้อมกัน 2 อย่างไม่น่าจะไหว โดยเฉพาะสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มทำงาน เพราะการซื้อทั้งบ้านและรถต้องใช้เงินไม่น้อย หากยังมีรายได้ไม่เพียงพอ เพราะว่าหนี้สินทั้งหมดที่เรามีนั้นไม่ควรเกิน 40% ของรายได้

พอมาลองคิดดูว่าซื้อบ้านหรือคอนโดก็ดีจะได้ไม่ต้องเสียเงินเช่าคนอื่นอยู่ แถมก็ยังเป็นสินทรัพย์ที่ราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ราคาก็ไม่ใช่ถูกแถมยังเป็นภาระหนี้กันยาว ๆ 20-30 ปีเลยทีเดียว ส่วนการซื้อรถยนต์ช่วยให้เราเดินทางไปทำงานสะดวกสบายมากขึ้น ก็คิดต่อไปอีกว่า ราคาของรถยนต์มีแต่ลดลงจริง ๆ เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าเสื่อมไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นหากยังมีรายได้ไม่มากพอ แนะนำให้ซื้อทีละอย่างดีกว่า


พิจารณาความพร้อมก่อนตัดสินใจซื้อบ้านหรือซื้อรถ

พิจารณาความพร้อมก่อนตัดสินใจซื้อบ้านหรือซื้อรถ

สำหรับมนุษย์เงินเดือน หรือคนที่เพิ่งเริ่มทำงานที่ยังไม่ได้มีรายได้มากมายเพียงพอที่จะซื้อสินทรัพย์ทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ก็ต้องมานั่งคิดและพิจารณากันก่อนว่า เรามีความจำเป็นในการซื้ออะไรก่อน มากกว่ากัน

เพราะไม่ได้มีกฎเกณฑ์หรือจะสามารถฟันได้ว่า อายุเท่านี้ควรจะซื้ออะไรก่อนดี หรือซื้ออะไรก่อน-หลัง เพราะแต่ละบุคคลก็จะมีความพร้อมที่แตกต่างกันไป เดี๋ยวไปดูกันต่อว่า ซื้อบ้าน กับ รถยนต์ ใครเหมาะกับการซื้อสิ่งไหนก่อน


ซื้อบ้านก่อน เหมาะกับใคร?

ซื้อบ้านก่อน

มีแผนก่อร่างสร้างตัว

ในวัยเริ่มทำงานหรือทำงานไปได้ซักพัก หลายคนก็เริ่มวางแผนอนาคตว่าอยากจะสร้างครอบครัวเป็นของตัวเอง ด้วยการย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ แล้วอยากมีบ้านเป็นของตัวเองบ้าง บางคนอาจจะหันมามองว่าการซื้อบ้านก่อนนั้นตอบโจทย์เพราะเราสามารถซื้อทิ้งไว้ ผ่อนทิ้งไว้ ในระหว่างที่ทำงานก่อร่างสร้างครอบครัวใหม่ และเมื่อวันนึงพร้อม เราก็คงผ่อนบ้านไปได้ระยะหนึ่งแล้ว อาจจะเหลือหนี้ไม่มาก ทำให้ไม่ต้องรับภาระหนักเกินไปในวันที่มีครอบครัว

ทำเล

สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ ฯ ที่มีรถสาธารณะค่อนข้างครอบคลุม และไม่มีปัญหาใดๆ ในการใช้รถสาธารณะเหล่านี้ ก็อาจจะหันมาซื้อบ้านก่อน เพราะสามารถเดินทางได้ด้วยรถโดยสาร หรือรถไฟฟ้าที่ครอบคลุมทั้งในเมือง และออกนอกเมืองได้แล้ว หรือแม้กระทั่งจะเดินทางไปต่างจังหวัด ก็สามารถใช้รถสาธารณะได้ 

เช็คความพร้อมด้านการเงิน

อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ได้อยากได้บ้านก่อน ให้เช็คให้มั่นใจว่าตัวเองนั้นมีเงินเก็บเพียงพอที่สามารถจะไปดำเนินการเรื่องการยื่นกู้เพื่อซื้อบ้านได้ เพราะค่าใช้จ่ายนั้นก็ถือว่าเยอะพอสมควร ทั้งค่าจอง ค่าทำสัญญา เงินดาวน์ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะมีตั้งแต่เริ่มจองบ้านไปจนถึงวันที่เข้าอยู่ และถึงแม้เข้าอยู่แล้วก็ยังมีค่าตกแต่ง และค่าบำรุงรักษาอีกมากมาย ที่จะเกิดขึ้นนับจากซื้อบ้าน ซึ่งจะใช้เงินก้อนมากกว่าการซื้อรถหลายเท่าตัว 

นอกจากเงินก้อนที่ต้องใช้ในการทำสัญญาต่าง ๆ แล้ว ในช่วงเวลาที่เราผ่อนบ้าน ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพื่อผ่อนบ้านอีก นอกจากจะเป็นเงินขั้นต่ำในการผ่อนแล้ว เราจำเป็นต้องจ่ายเกินขั้นต่ำ หรือมีเงินสำหรับโปะ เพื่อที่จะได้ร่นระยะเวลาการเป็นหนี้ให้สั้นลงด้วย


ซื้อรถยนต์ก่อน เหมาะกับใคร?

ซื้อรถยนต์ก่อน

ไม่ได้มีแผนย้ายออกไปอยู่เอง

บางคนก็ยังไม่ได้คิดเรื่องวางแผนอนาคตที่จะสร้างครอบครัว หรือไม่ได้อยากจะมีครอบครัว และต้องการอาศัยอยู่กับพ่อแม่ต่อ การซื้อบ้านก็คงไม่จำเป็น แต่ถ้าวันนึงเกิดอยากจะสร้างครอบครัว หรืออยากจะมีบ้านใหม่ให้พ่อแม่ แล้วอยากซื้อบ้านใหม่ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะการมีประวัติซื้อรถจะทำให้การกู้ซื้อบ้านนั้นง่ายขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนั้นคนที่อยู่อาศัยค่อนข้างห่างไกลจากตัวเมือง หรืออยู่ไกลจากที่ทำงาน ทำให้ต้องเดินทางเป็นระยะทางที่ไกล และต่อรถสาธารณะหลายช่วง ก็อาจจะมีความจำเป็นในการซื้อรถมากกว่า เพราะจะได้ไม่เสียเวลาไปกับการเดินทางมากเกินไป

พิจารณาเรื่องที่จอดรถ

หลายคนมองข้ามเรื่องที่จอดรถ เพราะคิดว่าเมื่อมีรถแล้วก็ค่อยคิดว่าจะเอารถไปจอดที่ไหนก็ได้ แต่ในความเป็นจริง เราควรมีที่จอดรถก่อนที่จะซื้อรถ เพราะการจอดรถไม่เป็นระเบียบ เป็นอีกปัญหาหลักของบ้านเรา และคิดว่าเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็ทำ เราก็ทำมั่ง พอทำกันเยอะก็กลายเป็นเรื่องปกติ ทั้งๆที่ไม่ถูกต้อง หลายคนได้รับความเดือดร้อนจากการจอดรถไม่เป็นระเบียบ ไม่จอดในที่ของตัวเอง ไปจอดหน้าบ้านคนอื่นบ้าง จอดในที่ห้ามจอดบ้าง สุดท้ายก็มีปากเสียงกันและเป็นปัญหาใหญ่โตตามกันไป

ใช้เงินก้อนน้อยกว่าซื้อบ้าน

เงินก้อนสำหรับดาวน์รถนั้น ไม่เยอะเท่าบ้าน และสามารถเตรียมเงินเก็บสำหรับจอง หรือดาวน์รถ ได้โดยใช้ระยะเวลาที่ไม่มาก อย่างไรก็ตามในระหว่างที่ใช้รถ ก็ยังมีค่าบำรุงรักษา ค่าจิปาถะ ยิบย่อยที่ไม่ต่างจากบ้านเหมือนกัน ซึ่งก็ต้องเตรียมส่วนนี้ไว้ด้วยเช่นกัน

การผ่อนรถนั้นใช้ระยะเวลาสั้นกว่าบ้านอยู่หลายปีทีเดียว ซึ่งสูงสุดจะผ่อนได้นานถึง 7 ปี ก็ยังถือว่าเร็วกว่าบ้าน เพราะบ้านนั้นถ้าไม่ได้มีเงินก้อนคอยโปะ หรือจ่ายเกินขั้นต่ำ อย่างน้อยก็อาจจะใช้เวลาถึง 10 ปีขึ้นไปในการผ่อนบ้านจนเสร็จเลยทีเดียว แต่ถ้าเราไม่อยากเป็นหนี้นาน ก็เลือกผ่อนรถให้เสร็จภายในไม่กี่ปี เพื่อที่จะทำเรื่องกู้ซื้อบ้านต่อได้เร็วขึ้นได้ด้วย


การเตรียมเงินดาวน์

การเตรียมเงินดาวน์

ไม่ว่าจะซื้อบ้าน หรือซื้อรถ เมื่อใช้วิธีขอสินเชื่อจากธนาคาร ก็ต้องมีการเตรียมเงินดาวน์ก้อนหนึ่ง โดยทั่วไป การขอสินเชื่อบ้านต้องมีเงินดาวน์ประมาณ 20% ของราคาบ้าน หรือรถต้องมีเงินดาวน์ประมาณ 25% ของราคารถ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเป็นหนี้ก้อนใหญ่ ต้องสำรวจความพร้อมเรื่องเงินดาวน์ก่อน

ตัวอย่าง

ซื้อบ้านราคา 3,000,000 ล้านบาท ควรมีเงินดาวน์ประมาณ 600,000 แสนบาท สมมุติว่าวางแผนว่าจะซื้อบ้านในอีก 2 ปีข้างหน้า ถ้าไม่ได้มีได้กำไรจากการลงทุนก้อนใหญ่ หรือถูกหวย เท่ากับว่า ต้องออมเงินเดือนละประมาณ 25,000 บาท

แต่หากเงินที่ต้องออมต่อเดือนสูงเกินกำลังความสามารถในการออม ก็อาจต้องเลื่อนเป้าหมายการขอสินเชื่อออกไปก่อน เช่น เลื่อนการกู้บ้านจาก 2 ปี เป็น 3 ปี เพื่อให้มีเวลาเก็บออมเงินดาวน์นานขึ้น หรืออีกวิธีก็คือลดราคาบ้านที่ต้องการซื้อให้น้อยลง เช่น ซื้อบ้านหลังเล็กลงมาหน่อยจาก 3 ล้านบาทเหลือ 2.2 ล้านบาท เพื่อให้จำนวนเงินออมต่อเดือนลดลงอยู่ในความสามารถที่ยังออมได้ไหว โดยไม่เหนื่อยเกินไป

คำนวณความสามารถในการผ่อน

คำนวณความสามารถในการผ่อน

หลังจากตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อบ้านหรือรถก่อนและเตรียมเงินดาวน์แล้ว อีกเรื่องสำคัญก็คือ ความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้รู้ว่าสามารถซื้อบ้านหรือรถได้ในราคาประมาณเท่าไร

โดยทั่วไปการขอสินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ภาระหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 40-60% ของรายได้ ซึ่งสัดส่วนภาระหนี้ที่สามารถมีได้นั้น ขึ้นอยู่กับรายได้ต่อเดือน ยิ่งรายได้สูง ก็สามารถมีสัดส่วนหนี้ต่อเดือนได้สูง แต่ขอแนะนำว่าควรมีภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนไม่เกิน 30% ของรายได้จะดีที่สุด เพราะถ้ามีสัดส่วนหนี้ต่อเดือนสูงเกินไป ก็จะมีโอกาสสร้างปัญหาการเงินในอนาคตได้มากกว่านั่นเอง

ตัวอย่าง

ตัดสินใจเลือกซื้อบ้านก่อน หากรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 30,000 บาท โดยธนาคารให้มีภาระผ่อนหนี้แต่ละเดือนไม่เกิน 40% เท่ากับว่า สามารถมีภาระผ่อนหนี้ทั้งหมดเท่ากับ 40% x 30,000 = 12,000 บาท

โดยหากเลือกระยะเวลาผ่อนประมาณ 20 ปี จะขอวงเงินสินเชื่อจากธนาคารได้ประมาณ 1.3 ล้านบาท แต่หากเลือกซื้อรถก่อน รถราคาประมาณ 6 แสนบาท ผ่อน 5 ปี จะผ่อนประมาณเดือนละ 11,000-12,000 บาท

สรุปส่งท้ายเรื่องการซื้อบ้าน/รถยนต์

แต่ถ้าเราลองดูทั้ง 2 ทางเลือกแล้วไม่เข้าเงื่อนไขหรือยังไม่เหมาะสมที่จะ ซื้อทั้งบ้านและรถยนต์ อาจจะต้องลองชั่งใจ ลองคิดดูอีกครั้ง เพราะอาจจะยังไม่ได้มีความจำเป็นต้องซื้อในตอนนี้ โดยหลัก ๆ แล้วในการซื้อบ้านนั้น จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และเยอะกว่าการซื้อรถ นับตั้งแต่วันที่เราเริ่มจอง ไปจนถึงได้ครอบครอง และเข้าอยู่ แต่การถือครองอสังหา ฯ นั้นก็ทำให้เรา มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนในระยะยาว หากเลือกทำเลได้ดี ประกอบกับการติดตามตลาดวงการอสังหา ฯ ให้ดี ในทางกลับกัน รถยนต์นั้นราคาจะตกลงไปเรื่อย ๆ แต่ก็ทำให้เราเดินทางได้สะดวกสบายขึ้น

อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจ ซื้อทรัพย์สินอย่างบ้านหรือรถ ให้กับตัวเอง สิ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก คือ ความจำเป็น รวมไปถึง ความพร้อม เพราะการซื้อบ้านสักหลังหรือรถสักคัน มีข้อผูกมัดที่ต้องผ่อนชำระหนี้เป็นเวลาหลายปี ทำให้ต้องคิดให้รอบคอบว่าเงินดาวน์พอไหม และผ่อนไหวแค่ไหน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเงินตามมาในอนาคต


ซื้อ-ขาย อสังหา ฯ กับ PropertyScout พร้อมคำแนะนำ เทรนด์ตลาดอสังหา ฯ

โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ คลิกตามด้านล่างเลย