ส่องทำเลตลาดพลู พื้นที่ของอร่อย หนึ่งในแหล่งเศษฐกิจสำคัญย่านฝั่งธน
ตลาดพลู ทำเลทองที่เป็นมากกว่าแหล่งความอร่อยแห่งฝั่งธน
“ย่านตลาดพลู” พื้นที่ที่มีเรื่องราวในอดีตอย่างยาวนาน จากการค้าขายเล็กๆ เริ่มขยับมาชุมชนที่มีมนเสน่ห์ตั่งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันไม่เพียงแต่เป็นแหล่งที่ผู้คนมักจะแวะเวียนมาหาของอร่อยกิน ยังเป็นแหล่งทำเลที่นักลงทุนหลายต่อหลายคน มองเห็นโอกาสการเติบโต จึงได้เกิดสถานที่หลายแห่งเป็น หอพัก คอนโด ห้างสรรพสินค้าต่างๆมากมาย เพื่อตอบสนองความเจริญเติบโตของชุมชนมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงความเสน่ห์ของชุมชนที่อบอุ่นเพื่อผู้อาศัยได้หลีกหนีความวุ่นวายจากในตัวเมือง มาใช้ชีวิตในชุมชนไม่ใหญ่มาก แต่ให้ความรู้สึกที่ครบเครื่องเรื่องของการใช้ชีวิตในทุกมิติ ทั้งการเดินทางที่สะดวก อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งอาหารการกินที่อร่อย การอาศัยร่วมกับชุมชนที่อบอุ่น มีหลากหลายเชื้อชาติวัฒนธรรม ตั่งแต่เมื่อในอดีต จนถึงปัจจุบัน ตลาดพลู จึงเป็นแหล่งชุมชนที่น่าสนใจสำหรับการใช้ชีวิตของคนที่ต้องการอาศัยในแหล่งชุมชนที่อบอุ่น ไม่วุ่นวายแต่เดินทางไปยังในเมืองได้อย่างสะดวกอีกด้วย
(ภาพสี่แยกตลาดพลู)
ทำความรู้จักย่านตลาดพลู
ตลาดพลู เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ แขวงตลาดพลู ที่เรียกภาพรวมทางกายภาพทั้งหมดว่า ย่านตลาดพลู
ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เขตธนบุรีของกรุงเทพมหานคร พื้นที่ทั้งหมดรวมกว่า 1.823 ตร.กม.
- พื้นที่ ย่านตลาดพลู ตั้งอยู่บริเวณถนนเทอดไท แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี ติดกับคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน ในอดีตเรียกคลองแห่งนี้ว่าคลองบางหลวง ในฝั่งทางทิศเหนือ เริ่มตั้งแต่ทิศตะวันออกวัดเวฬุราชิณ จนถึงทิศตะวันตกวัดขุนจันทร์ ริมคลองด่านหรือคลองสนามชัย
- พื้นที่ ตลาดพลู ในส่วนของตลาดที่เป็นแหล่งการค้าสำคัญ อุดมไปด้วยแหล่งของกินที่อร่อย เรียกได้ว่าเป็นไข่แดง แลนด์มาคก์สำคัญในพื้นที่ย่านตลาดพลู เริ่มตั้งแต่ทิศตะวันออกสะพานช้างตรงคลองวัดราชคฤห์วรวิหาร จนถึงทิศตะวันตกสะพานรัชดาภิเษก
- ทิศเหนือ : ติดกับแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
- ทิศใต้ : ติดกับแขวงบุคคโล แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี และ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
- ทิศตะวันออก : ติดกับเขตประเวศ จังหวัดกรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
- ทิศตะวันตก : ติดกับอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ความเจริญแรกเริ่มจากการเป็นแหล่งการเพาะปลูกสวนต้นพลู เพื่อนำส่วนของใบพลูมาทานกับหมาก จึงเกิดเป็นแหล่งศูนย์รวมการขายใบพลูในตอนนั้น และยังเกิดเป็นตลาดซื้อขายของต่างๆมากมาย แต่ที่โดดเด่นและขึ้นชื่อสำหรับย่านนี้ คือเรื่องอาหารการกินที่อร่อย จากการรวมวัฒนธรรมที่หลากหลายในพื้นที่แห่งนี้ จนถึงปัจจุบันตลาดพลูยังชูจุดเด่นที่ต้อนรับนักกิน ได้มากินอาหารอร่อย ได้ตลอดทั้งวันโดยเฉพาะยามค่ำคืน ที่ครึกครื้นด้วยของกินสารพัดอย่าง ต้องรับคนจากทั่วทุกทิศที่ทั้งคนไทย ชาวต่างชาติ จนชาวต่างชาติหลายคนที่เคยมาเยือนกับตลาดแห่งนี้ ยืนยันว่าตลาดพลูเป็นหนึ่งในstreet food ที่อร่อยถูกใจติดท็อปเป็นอันดับต้นๆของไทยเลยทีเดียว
(ภาพตลาดน้ำ ในพื้นที่ตลาดพลูในอดีต)
ประวัติความเป็นมาย่านตลาดพลู
พื้นที่ย่านตลาดพลูแห่งนี้ มีความเป็นมาอย่างยาวนาน ในอดีตเป็นแหล่งการค้าทางเรือ ที่เป็นตลาดน้ำในคลองบางหลวง คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งมีหลายตลาดตามริมแนวคลอง แต่ตลาดใหญ่ที่สำคัญในคลองแห่งนี้คือตลาดพลู ที่เคียงค้างกับวัดทาราม วัดจันทาราม วัดมอญ ตลาดนี้เป็นตลาดขายอาหารและการค้าต่างๆมากมายเช่น ครก ตุ่ม โอ่ง เป็นต้น โดยมีผู้ซื้อหลากหลาย ไทย มอญ จีน มุสลิม รองรับกลุ่มลูกค้าหลายระดับ ตั้งแต่ขุนนางใหญ่โต ชาวสวน จนไปถึงชาวบ้านต่างก็พากับมาจับจ่ายซื้อของในย่านนี้ จึงทำให้ที่แห่งนี้เป็นอู่อาหารแห่งความอร่อย ที่เป็นคลังการค้านานาชาติอีกด้วย
- ในสมัยนั้นคนจีนได้เริ่มถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกคลองเป็นฝั่งพระนคร การค้าขายทางเรือ ได้ถูกปรับเปลี่ยนเริ่มจากการสร้างเส้นทางถนนในพื้นที่ เพื่อตัดถนนเชื่อมระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี ในตอนนั้นตลาด ที่มีผู้คนเคยควักไขวซื้อของ ได้ทยอยออกไปค้าขายยังตลาดแห่งใหม่ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้ย้ายไปซื้อขายกันตรงแถวปากคลองตลาดฝั่งพระนครเป็นส่วนใหญ่ พระนครจึงกลายเป็นจุดศูนย์รวมการค้าแห่งใหม่ ตลาดถูกเริ่มลดบทบาทลง และชาวจีนบางส่วนก็ได้ย้ายไปตั้งรกรากแห่งใหม่ที่สำเพ็งก่อนเป็นตลาดสำคัญในปัจจุบันอีกด้วย
- ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ชาวมุสลิมที่มาจากภาคใต้ ก็ได้มาสร้างถิ่นฐานในพื้นที่แห่งนี้ด้วยเช่นกัน
ในช่วงเวลานั้นเองจึงเกิดการแลกเปลี่ยนในพื้นที่ทำให้เกิดความคึกคักด้านการค้าขาย โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ขึ้นชื่อเลยคือการทำสวนต้นพลู เพื่อนำใบมาขาย โดยนำใบรับประทานกับหมาก ที่เรียกติดปากคือ หมากพลู ที่ชาวจีนและชาวมุสลิมทำร่วมกันมา
คำว่า ตลาดพลู ก็มาจากความเป็นมาตรงนี้เป็นที่มาของพื้นที่ย่านตลาดพลู จนถึงปัจจุบัน
นอกจากเรื่องของการค้าขายใบพลูที่เป็นจุดเด่นแล้ว เรื่องอาหารยังคงเป็นที่ที่ผู้คนต่างพูดถึงที่มีวัฒนธรรมการกินมากมาย เช่น กุยช่าย ที่หลายคนอาจจะสงสัย ว่าทำไมกุยช่าย ต้องเป็นกุยช่ายตลาดพลู ที่ฮิตกันในปัจจุบัน แต่ความเป็นจริงแล้ว กุยช่ายเป็นอาหารที่มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน โดยพื้นที่แห่งนี้นอกจากนอกจากขึ้นชื่อเรื่องของตลาดใบพลูแล้ว วัฒธรรมการกินอาหารก็เริ่มขึ้นในสมัยนั้น ที่ชาวจีน แต้จิ๋วเดินทางมาอาศัยในพื้นที่โดยรอบของตลาดพลู และได้นำสูตรแป้งสำหรับการทำกุยช่ายมาทำกินกันในครอบครัวในวันสำคัญต่างๆ จนผู้คนโดยรอบมีโอกาสได้ลิ้มลอง ทำให้เป็นที่ติดอกติดใจของคนในพื้นที่ ชาวจีนแต๊จิ๋วจึงเริ่มนำมาขาย ผู้คนนอกพื้นที่ก็ถูกอกถูกใจไปตามๆกัน จึงเป็นแวะเวียนซื้อกุยช่ายสำหรับเป็นของฝาก แล้ววันนึงเมื่อพื้นที่แห่งนี้ได้ลดบทบาทการเป็นตลาด แม่ค้าที่ขายอยู่จึงได้ย้ายไปค้าขายไปพื้นที่ต่างๆ ยังคงรสชาติที่อร่อยจึงและยังใช้ชื่อกุยช่ายตลาดพลู จึงทำให้เป็นที่รู้จัก กุยช่ายตลาดพลู นั่นเอง นอกจากกุยช่ายแล้วยังมี อาหารอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ขนมเบื้อง ข้าวหมูแดง หมี่กรอบจีนหลี กระเพาะปลาขันน้ำตลาดพลุ เป็นต้น
ตลาดพลู ในปัจจุบันแหล่งของอร่อย
(ภาพใต้สะพาน ตลาดพลูยามค่ำคืน เครดิตภาพ PROPERTY GURU)
ถึงแม้ย่านตลาดพลูจะมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ที่เคยถูกลดบทบาทเรื่องการเป็นแหล่งการค้าสำคัญเมื่อครั้งในอดีต แต่ปัจจุบันเป็นสถานที่มีการเดินทางคมนาคมได้อย่างสะดวก เริ่มตั้งแต่ถนน รถไฟฟ้า อีกทั้งยังเป็นเส้นทางสายรถไฟวงเวียนใหญ่-มหาชัย จึงทำให้เดินทางได้สะดวกในพื้นที่ไปยังที่ต่างๆได้มากมายหลายทาง และพื้นที่แห่งนี้ยังคงเสน่ห์ในเรื่องวัฒนธรรมอาหารการกินที่อร่อย เป็นจุดแวะนัดมาทานอาหารที่เหล่านักกิน สามารถแวะมาลิ้มรสได้ตลอดทั้งวัน แต่ไฮไลท์เลยคือตลาดกลางคืนที่เป็นสวรรค์ของนักกินอย่างแท้จริง มีอาหารเด็ดมากมายเช่น กุยช่าย ผัดไท ขนมเบื้อง และอีกมากมาย ในปัจจุบัน พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นแหล่งของกิน และยังเป็นพื้นที่ที่ผู้คนเข้ามาหาที่อยู่ ของเหล่าพนักงานออฟฟิศ และนักศึกษามากมาย โดยที่พักส่วนใหญ่ เป็นรูปแบบอพาร์ทเม้นและคอนโด พื้นที่ในย่านนี้จึงเป็นที่เป็นอีกแหล่ง ที่เหล่านักลงทุนเข้ามาพัฒนาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพื่อรองรับการอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น
สิ่งอำนวยความสะดวกโลเคชั่นสำคัญต่างๆ ย่านตลาดพลู
สิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ทำให้การใช้ชีวิตในย่านแห่งนี้ง่ายยิ่งขึ้น จึงเป็นทำให้เป็นที่ที่ผู้คนต่างถิ่นมาใช้ชีวิตเพื่อการอาศัยอย่างแท้จริง และยังคงเป็นพื้นที่แห่งการพัฒนาความสะดวกสะบายให้กับผู้คนต่อไป
- ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า : เดอะมอลล์ท่าพระ , บิ๊กซี ดาวคะนอง เป็นต้น
- ร้านอาหารเจ้าเด็ดชื่อดัง : กุยช่ายอาม่าสวนพลู , ข้าวหมูแดง , บะหมี่ตงเล้ง , บะหมี่นายก้า , สรินทร์ทิพย์ ขนมเบื้องไทย ตลาดพลู , ขนมบดินทร์ เป็นต้น
- สถานศึกษา : โรงเรียนวัดบางสะแกนอก ,โรงเรียนกันตทาราราม , โรงเรียนอำนวยศิษย์ศึกษา , โรงเรียนนาวิกเวชกิจ , วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ , มหาวิทยาลัยสยาม เป็นต้น
- สถานพยาบาล : สถานพยาบาลรัชดา-ท่าพระ , ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 , โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า , โรงพยาบาล สมิติเวช ธนบุรี เป็นต้น
- สวนสาธารณะ : สวนสาธารณะใต้บีทีเอสตลาดพลู , สวนหย่อมใต้สะพานถนนราชพฤกษ์ เป็นต้น
- อาคารสำนักงานสำคัญ : สถานีตำรวจ ตลาดพลู , สถานีตำรวจนครบาลบุคคโล , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) , ธนาคารเกียรตินาคิน สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ , ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนวุฒากาศ , ธนาคารกสิกรไทย สาขาตลาดพลู , ไปรษณีย์ ตลาดพลู , ไปรษณีย์สำเหร่ เป็นต้น
- สถานที่สำคัญอื่นๆ : บริษัท เยี่ยมศรี จำกัด ซ่อมบำรุงรถยนต์ , ศูนย์บริการแอลจี สาขาธนบุรี ซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
ศูนย์การค้าของอุปโภคบริโภค : ตลาดพลู เป็นต้น
การเดินทางมายัง “ตลาดพลู”
จากการขยายตัวของฝั่งถนนย่านตลาดพลู ทำให้การเดินทางคมนาคมถูกพัฒนาให้ประชาชนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ที่แห่งนี้เป็นทางผ่านไปยังพื้นที่เศษฐกิจอื่นๆได้อีกด้วย
- ทางรถยนต์ : การเดินทางด้วยรถยนต์จึงถือว่าสะดวกเพราะถนนสายหลักที่ตัดผ่านมีช่องจราจรขนาดใหญ่และแบ่งทิศทางการวิ่งชัดเจน ทำให้รถเคลื่อนตัวได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตลอดทั้งเส้นมีซอยแยกย่อยไม่เท่าไร และเกือบทั้งหมดสามารถทะลุถึงกันหรือเชื่อมไปยังถนนเส้นอื่น ๆ ได้
ย่านตลาดพลูมีถนนเส้นหลัก คือถนนรัชดาภิเษกและถนนราชพฤกษ์ โดยจะตัดกันที่แยกรัชดา-ราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นแยกที่อยู่ใกล้ ๆ กับเดอะมอลล์ท่าพระ ถนนทั้ง 2 สายนี้ จึงสะดวกสบายหากท่านมีโอกาสในการเดินทาง
- ทางพิเศษ : ทางพิเศษที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร มีจุดขึ้น-ลงอยู่ห่างจากรถไฟฟ้า BTS สถานีตลาดพลูไปประมาณ 5.8 กิโลเมตร หากต้องการใช้งานให้วิ่งไปตามถนนพระราม 3 แล้วเลี้ยวเข้าถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน มุ่งหน้าไปทางแขวงจอมทอง พอถึงแยกพระราม 2 ให้เลี้ยวเข้าถนนพุทธบูชา ไม่นานก็จะเจอจุดขึ้น-ลงดังกล่าว
- รถเมล์ : ถนนเส้นรัชดาภิเษก จะมีป้ายรถประจำทางอยู่ประปรายช่วงตลอดเส้นทาง ควรจำจุดขึ้นลงให้ชัดเจนเพราะความห่างป้ายห่างกันพอสมควร ถ้าหากเลย มีโอกาสที่ท่านจะต้องนั่งวินมอเตอร์ไวค์เพื่อย้อนกลับมา ส่วนถนนเส้นราชพฤกษ์จะไม่มีป้ายรถประจำทางอยู่เลย ป็นเพราะบนถนนเส้นราชพฤกษ์มีระบบคมนาคมขนส่งที่พร้อมสรรพอยู่แล้ว รถเมล์จึงไม่ได้เป็นที่ต้องการมากนัก โดยรถเมล์สายสำคัญ ๆ ที่วิ่งผ่านย่านนี้ ได้แก่
- รถเมล์สาย 15 : เดอะมอลล์ท่าพระ-สนามหลวง
- รถเมล์สาย 68 : บางลำพู-สมุทรสาคร
- รถเมล์สาย 101 : พุทธมณฑลสาย 2-ตลาดโพธิ์ทอง
- รถเมล์สาย 147 : วงกลมดาวคะนอง-ถนนวงแหวนรอบนอก
- รถเมล์สาย 547 : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์-จตุจักร
- รถเมล์สาย 205 : อู่คลองเตย-เดอะมอลล์ท่าพระ
- รถไฟฟ้า : บางพลูอยู่ในย่านที่มีการคมนาคมที่สะดวกสุดๆ เพราะ มีรถไฟฟ้าวางตัวตามแนวถนนเส้นราชพฤกษ์
ปัจจุบันรถไฟฟ้าที่ผ่านผ่านตลาดพลู เป็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - สถานีบางหว้า หรือสายสีลม โดยใช้ชื่อย่อว่า BTS มีทั้งหมด 3 สถานี BTSสถานีตลาดพลู , BTSวุฒากาศ , BTSโพธิ์นิมิต
ในอนาคต รถไฟฟ้าจะมีให้เลือกได้เพิ่มมากขึ้น โดยมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟอีก2สาย ที่มีแผนโครงการดำเนินการต่อไป ซึ่งรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายนี้จะมาตัดกันที่สถานีวงเวียนใหญ่ และเพิ่มการเชื่อมต่อสายสีแดงเข้มกับรถไฟฟ้าสายเดิมที่สถานีวุฒากาศ
- รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-บางซื่อ-หัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย) โดยใช้ชื่อย่อว่า SRT เป็นประเภทรถไฟฟ้ารางหนัก (heavy rail)
- รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ-ราษฏร์บูรณะ) โดยใช้ชื่อย่อว่า MRT Purple Line
- รถไฟ : ทางการขนส่งทางรางให้กับประเทศไทย เส้นทางสายรถไฟวงเวียนใหญ่-มหาชัย ที่เป็นเส้นทางการขนส่งค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าสายสำคัญ
- รถ BRT : เส้นทางย่านสาทร วิ่งมาตามถนนพระราม 3 - สถานีราชพฤกษ์ ซึ่งอยู่ตรงแยกรัชดา-ราชพฤกษ์
- รถสองแถว : ฝั่งตรงข้ามเดอะมอลล์ท่าพระจะมีรถสองแถวคอยให้บริการ เป็นรถสองแถวสีขาว สามารถนั่งไปถึงเซ็นทรัลพระราม 2
- วินมอเตอร์ไซค์ : มีคิววินมอเตอร์ไซค์คอยให้บริการตามสถานีรถไฟฟ้า BTS ทุกสถานี และตามตลาดใหญ่ ๆ เช่น ตลาดพลู ก็จะมีวินมอเตอร์ไซค์ ค่าโดยสารก็เปลี่ยนไปตามระยะทางที่ต้องการเดินทางไป
ภาพรวมความเจริญสู่ทำเลทองการพัฒนา ในอนาคต
พื้นที่ตลาดพลูยังคงเป็น ย่านที่นักลงทุนเข้ามาพัฒนา เริ่มต้นตั้งแต่การพัฒนาทางคมนาคมหลากหลายเส้นทาง ทำให้การเดินทางเข้าออกในพื้นที่ได้อย่างสะดวก และถูกพัฒนามาอย่าต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่ใช้ย่านที่พัฒนาในความหรูหราทันสมัย แต่ย่านแห่งนี้ยังคงเสน่ห์ในความอบอุ่นของผู้คนในพื้น ที่ไม่วุ่นวายแต่มีสีสันจากร้านรวงต่างๆมากมาย จึงทำให้เป็นผู้อาศัยคอยต้อนรับผู้คนจากทั่วสารทิศ จึงเป็นแหล่งที่พักอาศัยของผู้คนมากมาน ย่านนี้จึงเป็นแหล่งใช้ชีวิตที่ครบเครื่องสุดๆ ที่ยังคงถูกพัฒนาอสังหา มากมายอีกต่อไป ทำให้เป็นหนึ่งในพื้นที่ทำเลทองสำหรับนักลงทุน ที่มูลค่าที่ดินต่อตารางวา สูงขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นทำเลทองของนักลงทุนอย่างแท้จริง
ตลาดพลู ทำเลคุ้มค่าน่าลงทุน ราคาพุ่งต่อเนื่อง
ราคาประเมินที่ดินในย่านตลาดพลู จากพื้นที่เขตธนบุรีในช่วงปีต่างๆ และการคาดการณ์ในอนาคต
- ในช่วงปี 2551 – 2554 เฉลี่ยราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 38,000-100,000 บาท ต่อตารางวา
- ในช่วงปี 2559 – 2562 เฉลี่ยราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 150,000-350,000 ต่อตารางวา
- ในช่วงปี 2563 – 2566 เฉลี่ยราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 250,000-450,000 ต่อตารางวา
โดยอนาคตเชื่อว่าที่แห่งนี้ยังคงขยายและแนวโน้มว่าอาจจะพุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้ ทำให้มูลค่าที่ดินสูงมากยิ่งขึ้น ตามเศษฐกิจของเมืองที่กำลังเติบโตอย่างแน่นอน
สรุปส่งท้าย
จากข้อมูลทั้งหมดพื้นที่ ย่านตลาดพลู ที่มีประวัติความเป็นอยู่อย่างยาวนาน แม้ปัจจุบันได้พัฒนาความเจริญตอบโจทย์ความทันสมัยของสังคมปัจจุบัน ตลาดพลูยังคงเป็นมนเสน่ห์ที่ดึงดูดคนจากทั่วสารทิศ มาหาของอร่อยกิน จึงเป็นเมืองแห่งอู่อาหารอย่างแท้จริง รวมถึงนักลงทุนที่กำลังมองหาทำเลสำคัญที่เติบโตเพื่อทำกำไรในพื้นแห่งนี้ ย่านตลาดพลู จึงเป็นหนึ่งในพื้นที่สำหรับการพัฒนาที่รองรับความเจริญในอนาคตอย่างแน่นอน
หากท่านเป็นหนึ่งคนที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพทย์น่าลงทุนในย่านบางนาแห่งนี้ สามารถเข้ามาเยี่ยมชมโครงการต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ https://propertyscout.co.th ได้ทันที เพราะเราได้รวบรวมแหล่งรวม อสังหาฯ ที่ดีที่สุดในประเทศไทยให้ท่านแล้ว