ทำเลย่านรามคำแหง อีกแหล่งที่อยู่อาศัยที่น่าจับตามองในอนาคตอันใกล้

Author
by
At
July 20, 2022
ทำเลย่านรามคำแหง อีกแหล่งที่อยู่อาศัยที่น่าจับตามองในอนาคตอันใกล้ ทำเลย่านรามคำแหง อีกแหล่งที่อยู่อาศัยที่น่าจับตามองในอนาคตอันใกล้

ย่านรามคำแหง ทำเลที่น่าจับตามองแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก

เจาะลึกความเป็นมาย่านรามคำแหง

รามคำแหง” ทำเลที่มีการลงพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินมาอย่างต่อเนื่อง และรวมถึงเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม ที่จะเจาะผ่านศูนย์กลางธุรกิจ ตัวเมืองด้านในทั้งลำสาลี, พระราม 9, รัชดาภิเษก, ลาดพร้าว, เพชรบุรี, พัฒนาการ, สุขุมวิท 71 หรือซอยปรีดี พนมยงค์ จนถึงแถบอนุสาวรีย์, เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน, สายสีชมพู หรือเส้นมีนบุรี (สุวินทวงศ์) เข้าสู่ตัวเมืองชั้นได้ผ่าน interchange สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ซึ่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม ที่จะแล้วเสร็จภายในอีก 3 ปี หรือ ปี พ.ศ.2568 จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดเป็นอย่างมาก สำหรับการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถโดยสารสาธารณะก็ตาม ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดเวลาในการเดินทาง เข้าสู่ตัวเมืองชั้นใน

ภาพจำทำเลรามคำแหงในอดีตถึงปัจจุบันนี้

ศูนย์กลาง และจุดแลนด์มาร์คอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอบคุณภาพจาก maipo

หากพูดถึงย่านรามคำแหงในอดีตถึงทุกวันนี้ จุดศูนย์กลางหากไม่พูดถึง มหาวิทยาลัยรามคำแหงคงไม่ได้ เพราะเหมือนเป็นจุดแลนมาร์ค และเป็นสถานที่ๆ มีทั้งนักศึกษา, คนทำงานในย่านนี้ และร้านค้ารายย่อยอยู่ล้อมรอบ ทั้งในส่วนที่เป็นด้านหน้าถนนรามคำแหง และส่วนในของเส้นรามคำแหง ที่เชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือเอแบค (ABAC) อีกทั้งยังมีสนามกีฬารามคำแหง, และสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน ในรามคำแหง 24 ซึ่งทุกที่ๆ ได้กล่าวมา ถือว่าในปัจจุบันนี้ เป็นที่สนใจสำหรับนักลงทุน ที่จะวางแผนโครงการสร้างที่อยู่อาศัย ทั้งในรูปของคอนโดมิเนียม, หมู่บ้านจัดสรร, รวมถึงบ้านเดี่ยว

ขยายมุมมองกว้างออกไปในเส้นถนนรามคำแหง ในช่วงรามคำแหง 15 เป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขารามคำแหง หรือเดอะมอล์ล 3 จนมาถึงรามคำแหง 24 ก็จะเป็นที่ตั้งของห้างซุปเปอร์สโตร์อย่าง บิ๊กซี สาขาหัวหมาก หรือสาขารามคำแหง เป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ใจกลางเมืองอย่าง คลองตัน, Airport Raillink สถานีหัวหมาก ซึ่งสามารถเชื่อมต่อเข้าถึงตัวเมืองอย่าง พญาไท และเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สำหรับการเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ และสถานีทับช้าง

ความน่าสนใจในย่านรามคำแหง ที่โดดเด่นกว่าทำเลไหนๆ

ทำเลรามคำแหง อยู่ในระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ขอบคุณรูปภาพจาก Bangkok citismart

เราอาจเห็นว่ามีหลายพื้นที่ทำเล ติดกับสถานศึกษาไม่แพ้กับเส้นรามคำแหงแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเส้นพหลโยธิน ที่เชื่อมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, เส้นประชาชื่น ที่ตั้งของมหาวิทยลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือ เส้นวิภาวดีรังสิต ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แต่คงไม่มีใครปฏิเสธกำลังซื้อที่มีอยู่มาก ในย่านรามคำแหงแห่งนี้ ที่มีทั้งสถานศึ่กษาอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ที่ถือว่าทั้ง 2 ที่เป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินเข้ามาก่อสร้าง ก็เรียกว่า เป็นเกือบจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ ซึ่งในช่วงนั้นขาดเพียงแค่ การเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์ในด้านธุรกิจ และอาคารสำนักงานเท่านั้น ที่ยังมีไม่มากเท่าไหร่

แต่หลังจากที่ได้มีโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้มเข้ามา ในเส้น สำหรับ 17 สถานี จะแล้วเสร็จไม่เกินปี พ.ศ. 2568 เส้นทางตั้งแต่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – ลำสาลี และจะผ่านรามคำแหง 34 สามารถคาดการณ์ได้ทันทีว่า จะมีส่วนของบริษัท และอาคารสำนักงานที่เข้ามาในย่านรามคำแหงเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเส้นถนนสายหลักด้านหน้า หรือเส้นด้านในฝั่งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสนามราชมังคลากีฬาสถาน รวมถึงที่ตั้งของ Airport Rail Linkสถานีหัวหมาก อาคารสำนักงาน UM ทั้งหมดนี้สามารถเดินทางถึงกันไม่เกินครึ่งชั่วโมง ผ่านจุดเชื่อมต่อทั้ง โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน และ Airport Rail Link และเมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเสร็จในปี พ.ศ. 2568 ปัญหารถติดในย่านรามคำแหง จะมีความสะดวกสบายในการเดินทาง และสถานที่อำนวยความสะดวกในย่านนี้เข้ามาทดแทน

สถานที่อำนวยความสะดวก และน่าสนใจในเส้นรามคำแหง

ห้างเดอะมอลล์ รามคำแหง ห้างสรรพสินค้าที่อยู่คู่เส้นรามคำแหงมาเกือบ 40 ปี ขอบคุณรูปภาพจาก gambol
    • ห้างเดอะมอลล์ รามคำแหง : ในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2526 ที่จะเรียกว่ารามคำแหง  มีห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ เป็นที่เดียวที่ใหญ่ที่สุด สำหรับย่านนี้ และครอบคลุมทั้ง 2 ฝั่งคือ ซ้ายกับขวา โดยมีจุดเชื่อมเป็นสะพานลอย ภายในมีทั้งส่วนที่เป็นตัวห้างสรรพสินค้า, ซุปเปอร์มาร์เก็ตในเครือเดอะมอลล์ และโซนพลาซ่า ซึ่งกลายเป็นภาพจำของผู้คนที่ผ่านไปย่านรามคำแหงแห่งนี้ และน้อยคนที่ผ่านไปแล้ว จะไม่แวะเข้าด้านในห้างฯ
    • บิ๊กซี หัวหมาก : เป็นศูนย์รวมของของใช้ และอาหาร ที่ในปัจจุบันนี้ ห้างบิ๊กซี หัวหมาก ได้ทำการปรับปรุงภายใน ให้มีพื้นที่ในการใช้สอย ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าให้มากกว่าเดิม อีกทั้งยังปรับให้มีส่วนพื้นที่พลาซ่ามากขึ้น เพื่อเพิ่มสินค้า และกลุ่มช้อปปิ้งที่นอกเหนือจากโซนซุปเปอร์มาร์เก็ต
    • Mixed Use Hub : เป็นโครงการที่จะก่อสร้าง  และปรับพื้นที่เดอะมอลล์ รามคำแหง 2 ให้เป็นศูนย์รวมทางการค้า, กลุ่มธุรกิจ, แหล่งที่อยู่อาศัย ทั้งบ้านเดี่ยว หมู่บ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียมอีกหลายโครงการ ให้ครอบคลุมพื้นที่กว่า 30 ไร่แห่งนี้ ซึ่งหากที่แห่งนี้สร้างเสร็จ ก็จะเชื่อมต่อกับเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีส้ม ทั้งหมดนี้จะตอบโจทย์ผู้คนในย่านนี้ รวมถึงผู้สัญจรผ่านไปมา ได้ครบทุกความต้องการ
    • สนามราชมังคลากีฬาสถาน : เป็นสนามกีฬาที่ถือว่าขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย อีกทั้งหากมีการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญ หรือระดับประเทศ สถานที่แห่งนี้จะถือว่า สามารถรองรับทั้งจำนวนผู้เข้าชม ซึ่งมีที่นั่งสามารถจุผู้เข้าชมได้มากถึง 51,522 ที่นั่ง รวมถึงจำนวนผู้คนที่สามารถเข้ามาในสนามราชมังคลากีฬาสถาน ได้มากถึง 80,000 คนทีเดียว
    • ร้านอาหารอร่อยยามค่ำคืน : ย่านรามคำแหง ถือว่าเป็นแหล่งร้านอาหารที่มีชื่อเสียงอยู่หลายร้าน โดยเฉพาะอาหารทะเล อย่างเช่น ร้านกุ้งเผาหัวหมาก อยู่ซอยหัวหมาก 19 ถนนกรุงเทพกีฑา, ร้านรามเมี่ยงปลาเผา เป็นร้านที่ใครแวะมารามคำแหง ต้องมาชิม อยู่ในซอยรามคำแหง 24 ใกล้กับสนามราชมังคลากีฬาสถาน รวมถึงภายในรามคำแหง 24 นี้ ก็มีร้านอาหารไทยที่มีชื่ออีกร้านคือ แกงป่าอาหารไทย ที่มีจานเด็ดอย่าง แกงคั่วหอยขมใบชะพลู  

การเดินทางมาในย่านรามคำแหง

รถไฟฟ้า Airport Rail Link การเดินทางที่สะดวกในเส้นทางรามคำแหง
ขอบคุณรูปภาพจาก Matichon online
  • รถยนต์ส่วนบุคคล : สามารถขับผ่านถนนเส้นพระราม 9 มายังเส้นพัฒนาการ, ใช้ทางด่วนพิเศษฉลองรัชเข้ากรุงเทพกีฑา เพื่อเชื่อมต่อเส้นหัวหมาก หรือทางด่วนศรีรัช ไปทางห้วยขวาง ผ่านเส้นพระราม 9
  • รถไฟฟ้า : ซึ่งจะเป็นโครงสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม ที่จะมีจุดเชื่อมต่อเข้าตัวเมืองด้านใน และสามารถเปลี่ยนการเดินทาง interchange ในโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสายสีน้ำเงินเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ อย่างสีลม, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, พญาไท, สยาม, มาบุญครอง, จตุจักร จนถึงสถานีนอกเมืองอย่าง บางหว้า

รวมถึงการเชื่อมต่อไปยังโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีเหลือง ลำสาลี, สายสีชมพู มีนบุรี, และสายสีเขียว พหลโยธิน คูคต ซึ่งสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ Airport Rail Link ได้ทั้งคู่เพื่อเข้าสู่ตัวเมือง หรือใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งรายละเอียดการเชื่อมต่อของแต่ละสถานี ของโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม ได้แก่

    • สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
    • สถานีรถไฟฟ้ามหานคร
    • สถานีวัดพระราม 9
    • สถานีรามคำแหง 12
    • สถานีรามคำแหง
    • สถานีการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
    • สถานีรามคำแหง 34
    • สถานีแยกลำสาลี
    • สถานีศรีบูรพา
    • สถานีคลองบ้านม้า

จุดทางยกระดับโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน อีก 7 สถานี ได้แก่

    • สถานีสัมมากร
    • สถานีน้อมเกล้า
    • สถานีราษฏร์พัฒนา
    • สถานีมีนพัฒนา
    • สถานีเคหะรามคำแหง
    • สถานีมีนบุรี
    • สถานีแยกร่มเกล้า
  • Airport Rail Link : ซึ่งจะมีสถานีทั้งหมด 7 สถานี ได้แก่
    • สถานีพญาไท
    • สถานีราชปรารภ
    • สถานีรามคำแหง
    • สถานีทับช้าง
    • สถานีลาดกระบัง
    • สถานีมักกะสัน (ใกล้กับแยกทางรถไฟ แยกอโศกมนตรี)
    • สถานีหัวหมาก
  • รถโดยสารสาธารณะ : ส่วนใหญ่จะเป็นรถบริการสาธารณะ ที่เดินรถเป็นเส้นทางระยะยาว โดยผ่านทั้งสุขุมวิท, นนทบุรี, สีลม, และเส้นทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน, รถไฟฟ้าบีทีเอส และ Airport Rail Link ได้แก่
    • สาย 60 : สวนสยาม – ปากคลองตลาด
    • สาย 501 : สวนสยาม – หัวลำโพง
    • สาย 22 : สวนสยาม – สาธุประดิษฐ์
    • สาย 71 : ปัฐวิกรณ์ – วัดธาตุทอง
    • สาย 93 : หมู่บ้านนักกีฬา – สี่พระยา
    • สาย 40 : ขนส่งสายใต้ใหม่ – ตลาดลำสาลี
    • สาย 545 นนทบุรี – สำโรง
    • สาย 207 รามคำแหง 1 – รามคำแหง 2 (บางนา)
  • รถตู้ : ส่วนใหญ่จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง และสามารถต่อเข้าตัวเมืองได้อีกหลากหลายตัวเลือก ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าบีทีเอส, รถไฟฟ้าใต้ดิน, รถโดยสารสาธารณะ หรือรถตู้ ซึ่งจะมีไปทั้งเส้นพระราม 9, รามอินทรา, ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, ขนส่งสายใต้ใหม่, รามคำแหง 2 (บางนา) และ ดอนเมือง หรือเส้นวิภาวดีรังสิต
  • รถสองแถว : ซึ่งจะเป็นการวิ่งระยะสั้นๆ ภายในเส้นทางช่วงรามคำแหง คือเส้นถนนด้านหน้า ผ่านห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์หัวหมาก (รามคำแหง), บิ๊กซี, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ลำสาลี, บางกะปิ และมีอีกส่วนที่วิ่งเส้นด้านใน คือผ่านมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสนามราชมังคลากีฬาสถาน
  • เรือโดยสาร : ในปัจจุบันที่กำลังมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีส้มอยู่ ซี่งมีปัญหาการจราจรติดขัดในเส้นทางเดินรถ ย่านรามคำแหงเป็นอย่างมาก การเดินทางด้วยเรือ จึงมีคนหันมาใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ เทียบเท่ากับ Airport Rail Link เลยทีเดียว โดยมี 6 ท่าเรือที่จะผ่านเส้นถนนรามคำแหง ได้แก่
    • ท่าเรือรามคำแหง -  Airport Rail Link รามคำแหง
    •  
    • ท่าเรือเดอะมอลล์ - เดอะมอลล์รามคำแหง
    • ท่าเรือเดอะมอลล์ 29 – บิ๊กซี รามคำแหง
    • ท่าเรือวัดเทพลีลา - โรงเรียนวัดเทพลีลา
    • ท่าเรือรามคำแหง 53 – มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    • ท่าเรือสะพานมิตรภาพมหาดไทย – ตลาดนัด กกท.
  • วินมอเตอร์ไซต์ : จะมีอยู่เกือบทุกปากซอย ตลอดเส้นถนนรามคำแหง โดยเฉพาะช่วงหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปากซอยรามคำแหง 24 ที่จะเข้าไปยังมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสนามราชมังคลากีฬาสถาน

มุมมองการเข้าสู่ EBD ทำเลรามคำแหงในอนาคต

ศูนย์รวมสถานที่อำนวยความสะดวก ย่านรามคำแหงนอกจากเส้นทางการเดินรถไฟ Airport Rail Link ที่เชื่อมต่อไม่ว่าจะเป็นเส้นพัฒนาการ, ปรีดี พนมยงค์, และคลองตัน (อาคาร UM)

โครงการ Mixed Use ที่จะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อความสะดวกสบายย่านรามคำแหง
ขอบคุณรูปภาพจาก Checkraka

ยังมีอีกจุดการก่อสร้างที่น่าสนใจ คือการก่อสร้างโครงการ Mix Used ของเครือเดอะมอลล์ ที่กำลังเชื่อมให้ย่านรามคำแหง เป็นแหล่ง Extension Business District อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า บริษัท หรือธุรกิจที่มาตั้งอยู่ในย่านรามคำแหงแห่งนี้แต่แรกเริ่ม มีอยู่มากพอสมควร เช่น บริษัทไทยน้ำทิพย์, บริษัทแอมเวย์, บริษัทโอสถสภา, บริษัทโตโยต้า เป็นต้น

รวมถึงสถานศึกษา และโรงพยาบาลต่างๆ ในย่านนี้อย่างเช่น โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี), โรงเรียนวัดเทพลีลา, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, โรงพยาบาลรามคำแหง, โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา, โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ รามคำแหง เป็นต้น

โครงการสิ่งปลูกสร้าง ที่มาพร้อมกับการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าย่านรามคำแหง

ผังโครงการย่านรามคำแหง สิ่งปลูกสร้าง และเส้นทางการเดินทางที่สะดวก มากกว่าในอดีต
ขอบคุณรูปภาพจาก Pruksa

หากเรามองทั้งด้านบริษัท และกลุ่มธุรกิจที่เข้ามาลงทุน ทั้งในส่วนอาคารสำนักงาน และการตั้งบริษัทในย่านรามคำแหงแห่งนี้ ที่มีทั้งหน่วยงานเอกชนที่เข้ามาตั้งแต่แรกเริ่ม และอีกหลายกลุ่มธุรกิจที่กำลังจะเข้ามาเปิดบริษัท และลงทุนในย่านศูนย์กลางธุรกิจแห่งนี้ ในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งโครงการ Mix Used ที่จะเพิ่มกลุ่มกำลังซื้อ และการรวมทั้งสถานที่อำนวยความสะดวก, กลุ่มธุรกิจ และ การเดินทางเชื่อมต่อที่ครอบคลุมทั้งในส่วนกรุงเทพฯ, ตัวเมืองชั้นใน และเชื่อมต่อไปยังจังหวัดนนทบุรี และมีนบุรี ทั้งหมดนี้คือคำจำกัดความของ ศูนย์กลางธุรกิจอย่างครบสมบูรณ์ในเวลาอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ รวมถึงราคาที่ดินย่านรามคำแหง โดยเฉพาะรามคำแหง 24 อยู่ที่ 250,000 ต่อตารางเมตร และเป็นที่แน่ชัดว่า หากมีสิ่งปลูกสร้างทั้งในส่วนคอนโดมิเนียม แบบ low rise และ high rise ขึ้นในส่วนของเส้นถนนรามคำแหง และภายในซอยรามคำแหง รวมถึงโคงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีส้มเสร็จสมบูรณ์ ราคาที่ดินเปล่าในย่านนี้จะดีดตัวสูงขึ้นกว่านี้อย่างแน่นอน ซึ่งจะคล้ายกับย่านเจริญนคร, เตาปูน และเส้นมีนบุรีในอนาคต

การลงทุนก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ในย่านนี้ จะมีทั้งในส่วนของบ้านเดี่ยว, หมู่บ้านจัดสรราภายในซอยรามคำแหง และเส้นถนนสายหลักด้านหน้า ที่เป็นที่ตั้งของสถานที่อำนวยความสะดวกอย่าง ห้างสรรพสินค้า, ร้านค้าสะดวกซื้อ, บริษัท หรือหน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่จะเป็นโครงการผุดขึ้นของคอนโดมิเนียม ที่นอกจากผู้สนใจซื้อ จะวางแผนไว้อยู่อาศัยเองแล้ว ยังสามารถลงทุนเก็งกำไร ในการปล่อยเช่าได้ตั้งแต่ 8,000 – 16,000 ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับโครงการของแต่ละคอนโดมิเนียม และทำเลที่ตั้งโครงการ

ราคา ณ ปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าในวันนี้ที่ “ย่านรามคำแหง” สำหรับโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีส้ม จะยังคงดำเนินการก่อสร้างอยู่ แต่ด้วยความที่เป็นแหล่งรวมของความหลากหลาย ทั้งกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจ, การก่อสร้างทั้งในส่วนของที่อยู่อาศัย และอาคารสำนักงานที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสถานที่อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างเดอะมอลล์ รามคำแหง, บิ๊กซี หัวหมาก, โรงเรียนเทพลีลา, โรงเรียนบดินทรเดชา, โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา 3, โรงพยาบาลรามคำแหง เป็นต้น อีกทั้งยังไม่รวมถึง ร้านค้ารายย่อย, ร้านค้าสะดวกซื้อ, หรือธนาคาร ทั้งหมดนี้เป็นส่วนที่กำหนดราคาที่ดิน และราคาขายของสิ่งก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย ที่กำลังสร้างอยู่ในปัจจุบันนี้ รวมถึงโครงการในอนาคตอันใกล้ ที่สำคัญสำหรับ โครงการ Mixed Use Hub ที่กำลังวางแผนการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อของกลุ่มธุรกิจ, ที่อยู่อาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า ในวันนี้ที่โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีส้มยังไม่แล้วเสร็จ แต่สำหรับมูลค่าที่ดิน ย่านรามคำแหงในวันนี้อยู่ที่ 49,342 ต่อตารางเมตร หรือในส่วนของผู้ที่ต้องการหาที่อยู่อาศัยในย่านนี้ ราคาซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 80,000 ต่อตารางเมตร และมีราคาเช่าคอนโดมิเนียมเฉลี่ยอยู่ที่ 320 ต่อตารางเมตร ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า สำหรับโครงการคอนโดมิเนียม ที่สร้างแล้วเสร็จ จะมีคนเข้ามาสนใจจับจอง ในแต่ละโครงการเป็นจำนวนมาก และในอนาคตหากมีการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีส้มเสร็จสมบูรณ์แล้ว ราคาที่ผู้ซื้อคอนโดมิเนียมในย่านรามคำแหงนี้ จะสามารถเก็งกำไร เพื่อขายต่อจะมีราคาเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอีก

สรุปส่งท้าย

การวางแผนล่วงหน้า ในการเลือกแหล่งที่อยู่อาศัย หรือทำเลในการเลือกลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ จึงเหมือนเป็นการคาดการณ์โดยอ้างอิง จากโครงการที่กำลังจะสร้างขึ้น และหากใครมีข้อมูลในมือมากกว่า รวมถึงการตัดสินใจที่เร็วกว่า ก็ย่อมจะได้ทำเลที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุด ไม่ว่าสำหรับการอยู่อาศัยเอง หรือสำหรับการปล่อยเช่า, ลงทุนเก็งกำไรในอนาคต เพื่อเมื่อไหร่ที่ “ย่านรามคำแหง” มีเครือข่ายการคมนาคมที่สามารถเชื่อมต่อกันได้หมด และเป็นที่ตั้งของกลุ่มธุรกิจต่างๆ รวมถึงร้านค้ารายย่อย และสถานศึกษาด้วยแล้ว ในอนาคตที่แห่งนี้ จะกลายเป็นแหล่งทำเลเงิน ทำเลทองได้อย่างไม่ต้องสงสัย

ดังนั้นหากคุณไม่อยากพลาดย่านทำเลดีๆ อย่างรามคำแหงแห่งนี้ หรือในทำเลอื่นๆ ที่กำลังมีโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ที่มาพร้อมกับการเชื่อมต่ออย่างครบวงจร เพียงแค่คลิ๊กเข้ามาเยี่ยมชม ข้อมูลโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่กำลังมีแผนการก่อสร้าง หรือที่สร้างแล้วเสร็จได้ในเว็บไซต์ PropertyScout ที่ๆ มีข้อมูลอัพเดทให้คุณได้เร็วก่อนใคร และช่วยให้คุณไม่พลาดทุกตัดสินใจ สำหรับโครงการในแหล่งทำเล ที่อาจหาไม่ได้อีกหากตัดสินใจช้า