บ้านพังตอนหมดประกัน แก้ปัญหาอย่างไรดี?
ในคราวนี้ PropertyScout ได้นำข้อมูลดี ๆ มาแชร์ให้ฟังกัน เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ปัญหาการอยู่อาศัย ถ้าเกิดว่า เราเป็นลูกบ้านโครงการบ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง เมื่อซื้อบ้านและเข้าอยู่แล้วประมาณ 2 ปี เจอเหตุการณ์ ทั้งประตูที่จอดรถพัง หลังคารั่ว น้ำซึม และที่หนักสุดคือสมมุติว่า 'บัวปูน' บนหลังคาหล่นลงมา กระแทกรั้วพัง พื้นกระเบื้องแตกกระจัดกระจาย บางส่วนก็ทะลุฝ้าลงมา ซึ่งประเด็นที่อยากนำเสนอเพื่อให้เป็นประโยชน์จากเหตุการณ์เหล่านี้ก็คือถ้า 'บ้านเสียหาย' แบบนี้ ในตอนที่อยู่อาศัยไปสักระยะ ซึ่งตัวบ้านก็หมดประกันไปแล้ว คนซื้อบ้านควรทำอย่างไร?
ประเด็นสำคัญที่ต้องรู้เมื่อบ้านพังหลังจากหมดประกัน
ระยะเวลาประกันตามกฎหมายและการส่งมอบบ้านตามสัญญา
เกี่ยวกับระยะเวลาประกันบ้านนั้นตามกฎหมาย (แบบมาตรฐานสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน-ประกาศของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง)
- โครงสร้างของอาคาร ได้แก่ เสาเข็ม ฐานราก เสา คาน พื้น โครงหลังคา และผนังรับน้ำหนัก ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือความชำรุดบกพร่องเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันโอนกรรมสิทธิ์
- ส่วนควบหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ รั้ว กำแพง หรือส่วนสำคัญที่ไม่ใช่โครงสร้างของอาคาร ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบเป็นเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันโอนกรรมสิทธิ์
- สำหรับกรณีเกิดเหตุการณ์บัวปูนหล่นทำส่วนอื่นเสียหายตามไปด้วย จัดอยู่ในหมวดนี้ ซึ่งก็คือส่วนควบ ดังนั้นถ้ายึดตามหลักกฎหมายนี้ ถือว่าบ้านได้หมดระยะเวลาประกันไปแล้ว
อย่างไรก็ตามยังมีกฎหมายที่สามารถนำมาเทียบเคียงกับเรื่องนี้ นั่นคือความรับผิดของผู้ขาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายในสภาพที่เป็นไปตามสัญญา หากผู้ซื้อได้สินค้าและบริการที่ดี มีความปลอดภัยและมีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม
สนใจอ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้อง คลิก
ข้อกำหนดทางกฎหมายเรื่องความรับผิดชอบ
ทีนี้มาดูกันต่อในเรื่องของข้อกำหนดทางกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องความรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ซื้อขาย
- ผู้ขายต้องรับผิดชอบในกรณีที่ทรัพย์สินที่ขายนั้นชำรุดบกพร่องอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ
- ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบถ้าผู้ซื้อได้รู้และเห็นความบกพร่องแล้วตั้งแต่ตอนซื้อ และเป็นทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด
สำหรับในกรณีที่จะโต้แย้งหรือฟ้องร้องให้ผู้ขายรับผิดในความชำรุดบกพร่องของบ้านในโครงการบ้านจัดสรร อาจต้องใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทบัญญัติตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาควบคู่กัน
- ผู้ซื้อจะต้องฟ้องผู้ขายให้รับผิดภายในเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เวลาที่พบเห็นความชำรุดบกพร่อง
- ถ้าความชำรุดบกพร่องยังมีอยู่ตลอดไป แก้ไขไม่หาย
- ถ้าเป็นกรณีคดีผู้บริโภค ถ้าศาลเชื่อว่าความชำรุดบกพร่องนั้นมีอยู่ในขณะส่งมอบสินค้าและไม่อาจแก้ไขให้กลับคืนสภาพเดิมที่ใช้งานได้ตามปกติ ศาลสามารถสั่งให้ผู้ขายรื้อบ้านที่ชำรุดแล้วปลูกบ้านใหม่ให้ผู้ซื้อได้
สรุปส่งท้าย เรื่องการแก้ไขปัญหาบ้านพังตอนหมดประกัน
หวังว่าข้อมูลที่ได้นำเสนอกันไปข้างต้น จะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่กำลังเจอปัญหาย้ายเข้าอยู่ไปสักระยะแล้วบ้านพัง หรือเกิดการชำรุดเสียหาย ซึ่งทางโครงการก็มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว เพราะมีข้อกำหนดทางกฎหมายกำกับไว้อยู่ เพราะฉะนั้นขอให้สบายใจได้เลย แต่หากทางโครงการปฏิเสธการรับผิดชอบ เราก็สามารถดำเนินการทางกฎหมายต่อไปได้
มองหาบ้าน-คอนโด สภาพสวย ติดต่อ PropertyScout ได้เลย