‘พื้นที่รับน้ำของกรุงเทพ’ อยู่จุดไหนบ้าง?
บทความนี้ PropertyScout จะมากล่าวถึงเรื่อง ผังแสดงที่โล่งท้ายกฎกระทรวง ฯ 'ที่กำหนดการใช้ประโยชน์ที่โล่ง' ในประเทศไทย ซึ่งรวมทั้ง 'พื้นที่รับน้ำ' และ 'พื้นที่ที่มีลักษณะเพื่อการระบายน้ำ' เพื่อป้องกันน้ำท่วม เป็นข้อมูลที่ชาวกรุงเทพหลายคนกำลังสงสัยกัน
พื้นที่รับน้ำ คืออะไร?
พื้นที่พักน้ำป้องกันน้ำท่วม 'พื้นที่รับน้ำ' ลักษณะ ล.5. ก็คือที่ินลักษณะที่โล่งในบริเวณที่ถูกกำหนดไว้เป็น 'สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีเขียว' เพื่อพักน้ำเพื่อการป้องกันน้ำท่วม ตั้งกระจายไปทั่วพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่ปี 2523 โดยพื้นที่รับน้ำเหล่านี้มีทั้งแก้มลิงเอกชนที่อยู่ในพื้นที่เอกชนหรือหมู่บ้านจัดสรร และแก้มลิงสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
ความเป็นมาพื้นที่รับน้ำในประเทศไทย
ก่อนจะไปดูว่าพื้นที่รับน้ำกระจายอยู่ตามเขตไหนบ้าง PropertScout ขอเกริ่นถึงความเป็นมาของพื้นที่รับน้ำในประเทศไทยกันก่อน
ประเทศไทยนั้นได้มีการจัดระเบียบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินมาตั้งแต่รัชการที่ 5 (กรมโยธาธิการจัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2432) สืบต่อมาจนปัจจุบัน ซึ่งข้อบังคับผังเมืองควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพมหานคร รอบล่าสุดคือ 'ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556' ส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยบ้างในเรื่องผังสีการใช้ประโยชน์ที่ดินตามจำแนก เช่น เขตสีแดง เป็นที่ดินประเภทพาณิชยกรรม , เขตสีน้ำตาล เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เป็นต้น
แต่มากไปกว่านั้นคือข้อมูลหลายอย่างที่เราไม่ทันสังเกต อย่างเช่น ผังโครงการคมนาคมและขนส่ง , ผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค เช่น โครงการขุดคลอง , โครงการอุโมงค์ระบายน้ำ รวมถึง ผังพื้นที่โล่งซึ่งก็ได้กลายเป็นพื้นที่รับน้ำด้วย
พื้นที่รับน้ำในกรุงเทพ อยู่ในเขตไหนบ้าง?
ปัจจุบันมี พื้นที่รับน้ำ ปฎิบัติการแล้วมี 25 แห่ง รับน้ำได้ราว 13.04 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งอยู่แถบใจกลางกรุงเทพเป็นส่วนใหญ่ ในเขตเหล่านี้
- เขตปทุมวัน
- เขตคลองเตย
- เขตพญาไท
- เขตบางกะปิ
- เขตประเวศ
พื้นที่รับน้ำ อยู่ระหว่างก่อสร้างมี 2 แห่ง สามารถรับน้ำได้เพิ่มอีก 316,700 ลูกบาศก์เมตร
- อยู่ถนนรามคำแหงในเขต สะพานสูง ซึ่งก็คือ บึงรับนํ้าหมู่บ้านสัมมากร และ สวนนํ้าเสรีไทยช่วงคลองรหัสถึงคลองครุ
พื้นที่รับน้ำจัดหาเพิ่ม ราว 12 แห่ง กระจายตัวถัดมาแถบชายเมืองของกรุงเทพมหานครเช่น
- เขตสายไหม , เขตคลองสาม เป็นต้น มีทั้งพื้นที่สาธารณะและพื้นที่เอกชน คาดการณ์ว่าจะรับน้ำได้เพิ่มราว 6.18 ล้านลูกบาศก์เมตร
พื้นที่เพื่อการระบายน้ำคืออะไร แตกต่างจากพื้นที่รับน้ำอย่างไร?
นอกจากพื้นที่รับน้ำแล้วยังมีพื้นที่เพื่อการระบายน้ำ 'พื้นที่รับน้ำ' ในลักษณะ ล.4. จะเป็นที่โล่งในบริเวณกำหนดไว้เป็น 'สีขาวมีเส้นทแยงสีเขียว' เพื่อการสงวนรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติ แบ่งเป็น 2 ฝั่งของกรุงเทพมหานคร ซึ่งก็คือ ด้านตะวันออก และ ตะวันตก กระจายไปตามเขตต่าง ๆ ดังนี้
ตะวันออก
- เขตคลองสามวา
- เขตมีนบุรี
- เขดลาดกระบัง
ด้านตะวันตก
- เขตตลิ่งชัน
- เขตทวีวัฒนา
- เขตบางแค
- เขตภาษีเจริญ
วิธีรับมือน้ำท่วมแบบฉับพลัน ควรทำอย่างไร?
ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยที่ไม่ได้รับการแจ้งเตือนหรือรู้ล่วงหน้ามาก่อน จนทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวได้ทัน แนะนำว่าหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ทันตั้งตัวเช่นนี้ ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตมาก่อนทรัพย์สินเสมอ โดยสามารถรับมือได้ดังนี้
- พื้นที่เสี่ยงสูง ควรเตรียมกระสอบทรายไว้ เพื่อทำผนังป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน
- นำเอกสารสำคัญใส่ไว้ในถุงซิปล็อก เช่น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร ใบโฉนดที่ดิน เป็นต้น
- แขวนปลอกคอสัตว์เลี้ยงพร้อมชื่อและเบอร์โทรเราไว้ เผื่อน้องหลุดหายจะได้ประกาศหาได้ง่าย
- ชาร์จแบตโทรศัพท์ และเตรียมอุปกรณ์เสริมให้พร้อม เช่น พาวเวอร์แบงค์ สายชาร์จ ไฟฉาย
- ยกของขึ้นที่สูง เตรียมอาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษา และอุปกรณ์ใช้พยุงตัว
- ถอดปลั๊กไฟในบ้าน แล้วแปะเทปกาวปิดปลั๊กไฟป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
- นำรถยนต์ไปจอดในพื้นที่สูงหรือที่ปลอดภัย หรือใช้ถุงคลุมรถกันน้ำ ในกรณีที่น้ำท่วมไม่สูงมาก
- จัดการย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา ไปยังพื้นที่ปลอดภัย หรือพื้นที่ของหน่วยงานที่รองรับ
- ถ้าขับรถอยู่ ให้จอดและออกจากรถทันที อย่าพยายามขับรถหรือย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม
- หากได้รับสัญญาณเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน ให้รีบอพยพไปที่ที่สูงทันที ในกรณีอยู่นอกบ้านให้พยายามมองหาที่สูงเอาไว้ เช่น ภูเขา สะพานลอย ตึกหรืออาคารสูง หากไม่มีที่สูงใกล้ ๆ แนะนำให้เกาะสิ่งของขนาดใหญ่ไว้
- ห้ามเดินตามเส้นทางน้ำไหล แม้บริเวณนั้นจะมีระดับน้ำไม่สูง เพราะความเร็วของน้ำอาจทำให้เสียหลัก พลัดไปกับน้ำ จนอาจจมน้ำได้
- หากเห็นเสาไฟหรือสายไฟ ให้หลีกเลี่ยงที่จะเข้าใกล้ และเมื่อมีโอกาสให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที
สายด่วนให้ข้อมูลและช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร 1784
- ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โทร 192
- กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 1182
- กรมชลประทาน โทร 1460
- ศูนย์ปลอดภัยทางน้ำ โทร 1199
- บริการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669
ช่องทางติดตามข้อมูลข่าวสาร/การเตือนภัยพิบัติน้ำท่วม
- เตือนภัย เช็คสถานการณ์น้ำ และข้อมูลน้ำในแต่ละพื้นที่ลุ่มน้ำ ติดตามได้ทาง กรมทรัพยากรน้ำ
- พยากรณ์อากาศ เส้นทางพายุ และปริมาณน้ำฝน ติดตามได้ทาง กรมอุตุนิยมวิทยา
- เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม ติดตามได้ทาง ติดตามได้ทาง กรมทรัพยากรธรณี
- ข้อมูลอากาศ และระบบน้ำในเขื่อนและน้ำทะเล ติดตามได้ทาง สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
- ข้อมูลภัยพิบัติ และการแจ้งเตือนพื้นที่ภัยพิบัติ ติดตามได้ทาง ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
- ข้อมูลภัยพิบัติ แจ้งเตือนพื้นที่ภัยพิบัติ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ติดตามได้ทาง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ลำน้ำ และการปล่อยน้ำ ติดตามได้ทาง กรมชลประทาน
สรุปส่งท้าย
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน และถึงแม้ว่าพื้นที่รับน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ทางฝั่งตะวันออก เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรอยู่อาศัยสูง แต่ทางฝั่งตะวันตกก็มีโครงการแก้มลิง 'คลองมหาชัย-สนามชัย' สามารถระบายน้ำท่วมขังพื้นที่ตอนบนฝั่งตะวันตกได้เช่นกัน ดังนั้นคนที่อยู่อาศัยในแถบนี้สบายใจได้เลย
อ่านบทความ รีวิวโครงการ อัปเดตข่าวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ได้ที่ PropertyScout Blog
มีคำถาม ข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือต้องการ เช่า ซื้อ ขาย
คลิกตามด้านล่างได้เลย