รู้จักย่านอารีย์ แหล่งทำเลร่วมสมัย ที่น่าอยู่อาศัยติดอันดับโลก
ย่านอารีย์ มนต์เสน่ห์ของทำเลร่วมสมัย ที่อยู่อาศัยติดอันดับโลก
ทำความรู้จักย่านอารีย์
ย่านอารีย์เป็นทำเลพื้นที่ที่ตั้งอยู่ตรงถนนเส้นหลักอย่างพหลโยธิน ที่อยู่ระหว่างสะพานควายและสนามเป้า ซึ่งตามความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ ย่านอารีย์จะจำกัดพื้นที่อยู่ในช่วงถนนพหลโยธินซอย 7 และมีการแยกย่อยเป็นซอยอารีย์ ต่าง ๆ โดยพื้นที่ทั้งหมดจะอยู่ในเขตพญาไท
ก่อนที่ “ย่านอารีย์” จะพัฒนาความเจริญจนกลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยชั้นยอด ทำเลทองน่าอยู่ติดอันโลก ที่เป็นอีกหนึ่งพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และหน่วยงานบริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ครบวงจร ทั้งที่อยู่อาศัย แหล่งงาน อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ แหล่งรวมพื้นที่แห่งไลฟ์สไตล์อันหลากหลาย ที่มีการผสมผสานความต่างได้อย่างลงตัว จนกลายเป็นย่านที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ ย่านอารีย์จัดเป็นย่านที่เก่าแก่อีกหนึ่งของกรุงเทพ ที่มีประวัติความมา และการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบได้อย่างน่าสนใจมากๆ จากเดิมเป็นเพียงพื้นที่เกษตรกรรม เต็มไปด้วยผืนดินสำหรับทำการเพาะปลูก และได้กลายเป็นที่ปักหลักปักฐานของหน่วยงานราชการ จนได้ขยายตัวและพัฒนาพื้นที่ขึ้นเป็นย่านอารีย์อย่างชัดเจน ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
อารีย์ในอดีต ศูนย์รวมเมืองราชการ ย่านพักอาศัยเหล่าขุนนาง
แต่เดิมย่านอารีย์เป็นเพียงแหล่งพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับการทำนาข้าว และสวนผลไม้ จนได้เริ่มขยายตัวและพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน และกลายเป็น “ย่านอารีย์” ขึ้นในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานราชการสายทหาร ฝั่งถนนสามเสนจำนวนมาก ทำให้มีการก่อสร้างบ้านพักของนายทหาร ข้าราชการ ชนชั้นสูงและบุคคลสำคัญทางการเมือง ในพื้นที่บริเวณตั้งแต่ย่านสามเสน และขยับมายังย่านราชครู (พหลโยธิน ซอย 5) จนถึงย่านอารีย์
ต่อมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2479 ได้มีการตัด “ถนนประชาธิปัตย์” ขึ้น ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมไปยังดอนเมือง และยกระดับเป็นทางหลวงเชื่อมกรุงเทพ-ลพบุรี ภายหลังได้เปลี่ยนได้ชื่อเป็น “ถนนพหลโยธิน” ซึ่งถือเป็นถนนที่มีความถนนสำคัญมาก ที่ทำให้ความเจริญเข้ามาถึงพื้นที่ให้สองข้างทางของถนน จนกลายเป็นย่านอารีย์แหล่งทำเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ
เพราะในระยะต่อมา ก็ได้มีการจัดตั้งสถานที่ราชการเพิ่มขึ้นหลายหน่วยงานในพื้นที่ย่านอารีย์ ทั้งทหารและราชการพลเรือน เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมประชาสัมพันธ์ ตลอดจนหน่วยงานด้านการทหาร เช่น กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ไปจนถึงสถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) เป็นต้น จึงอาจเรียกว่าเป็น “เมืองราชการ” ก็ว่าได้
นอกจากในพิ้นทืจะเต็มไปด้วยหน่วยงานราชการแล้ว ในช่วงหลัง 2490 ก็ยังมีบ้านพักอาศัยของข้าราชการ และผู้ที่อยู่อาศัยอื่นๆ ปรากฏให้เห็นมากขึ้น ทั้งที่เป็นบ้านเดี่ยว มีรั้วรอบ และมักมีสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เป็นบ้านปูน มีสวนหน้าบ้าน
ต่อมาย่านอารีย์มีความคึกคักมากขึ้น เมื่อมีร้านสหกรณ์พระนคร มาเปิดทำการ ในปี 2516 ซึ่งเป็นเหมือนศูนย์การค้าสำหรับการจับจ่ายซื้อหาสำหรับข้าราชการ และผู้อยู่อาศัยในย่าน
ในช่วง พ.ศ. 2533–2543 มีสำนักงานธุรกิจ และบริษัทของภาคเอกชนหลายแห่ง ได้เข้ามาตั้งบริษัทในย่านนี้ เช่น อาคารธนาคารกสิกรไทย, อาคารชินวัตร 1 และ 2 (ต่อมาทั้งสองอาคารเปลี่ยนชื่อเป็น อาคารเอไอเอส ทาวเวอร์ 1 และ 2 ตามลำดับ), อาคาร S.P. (อาคาร IBM) และอาคาร EXIM Bank เป็นต้น ทำให้บริษัทอื่นๆ ตามมาตั้งอาคารในย่านนี้ ซึ่งนำพาผู้คนวัยทำงานอีกมากมายหลากหลายเข้ามาในพื้นที่
ต่อมาปี 2536 มีการเปิดให้บริการของระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) และการเข้ามาของรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่เปิดให้บริการในปี 2542 ก็ทำให้ย่านนี้เจริญเติมโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็วิลล่า มาร์เก็ต อารีย์ มาเปิดให้บริการไล่เลี่ยกันในปี 2549 ซึ่งหน้าที่เป็นศูนย์กลางขนาดย่อยของย่าน ยิ่งช่วยส่งเสริมความเป็นเมืองของย่านให้เข้มข้นยิ่งขึ้น
อารีย์ในปัจจุบัน ย่านเก่าร่วมสมัย ผสมผสมผสานไลฟ์ไสตล์ที่ลงตัว
การเข้ามาของรถไฟฟ้า BTS ทำให้บริเวณโดยรอบของย่านอารีย์ มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโดยตลอด ทั้งมีการก่อสร้างโครงการที่พักขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ การเปิดกิจการและธุรกิจร่วมสมัยของคนหนุ่มสาว หรือกลุ่ม Young Adult ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านค้า แหล่งรวมงานศิลป์ หรือแม้แต่คาเฟ่
ทำให้ปัจจุบันย่านอารีย์เป็นชุมชนกึ่งเก่ากึ่งใหม่ ที่รวมตัวของผู้คนที่หลากหลายในพื้นที่ ทั้งเหล่าข้าราชการและผู้คนอยู่อาศัยเดิม พนักงานออฟฟิศ นักเรียน นักศึกษา พ่อค้าแม่ค้า ไปจนถึงนักธุรกิจและผู้ประกอบการ สำนักงานใหญ่ๆ ที่รายล้อมไปด้วยมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร จนกลายเป็นย่านที่มีศักยภาพการ “เดินได้” ดีเป็นอันดับต้นๆ ของกรุงเทพฯ
เรียกได้ว่าอารีย์ เป็นย่านที่มีการใช้พื้นที่อย่างผสมผสานได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย พื้นที่เชิงพาณิชย์ และพื้นที่นันทนาการ แหล่งรวมไลฟ์สไตล์ต่างๆได้อย่างลงตัว ทั้งยังเป็นย่านที่ไม่เคยหยุดนิ่ง มีกิจกรรมให้ทำตลอดทั้งวัน ซึ่งสามารถดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาแวะเวียนในพื้นที่แห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย
สิ่งอำนวยความสะดวก “ย่านอารีย์”
“อารีย์” ถือเป็นอีกหนึ่งย่าน ที่รวบรวมอาคารสำนักงานไว้มากมาย ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สามารถดึงดูดผู้คนเข้ามาในพื้นที่เสมอ เพราะรวมถึงสถานอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ครบวงจรดังนี้
- สถานศึกษา : โรงเรียนอนุบาลเปล่งประสิทธิ์สายลม, RBIS Rasami British International School, College of Management, Mahidol University, โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย, โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เป็นต้น
- สถานพยาบาล : โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า, โรงพยาบาล พญาไท, โรงพยาบาล เปาโล เมโมเรียล พหลโยธิน, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เป็นต้น
- หน่วยงานราชการสำคัญ : สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4, กรมสรรพากร, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมประชาสัมพันธ์, กระทรวงการคลัง, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์, ททบ.5, กระทรวงการคลังกรมสรรพากร, กรมประชาสัมพันธ์, กรมธนารักษ์สำนักงานใหญ่ เป็นต้น
- อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ : Pearl Bangkok, Ari Hills, SC Tower, อาคาร AIS ทาวเวอร์ 1 และ 2, บริษัท IBM, สหกรณ์พระนคร, อาคารปิยวรรณ, SME Bank Tower, อาคารพหลโยธินเพลส เป็นต้น
- แหล่งอาหารและคอมมูนิตี้ มอลล์ : Numthong Art Space, GUMP’s Ari, Laylaoaree, A-One Ari, Landhaus Bakery, เวฬาฌา, Flower in hand by P,Tokyobike, BLACKSMITH, Chuanpisamai cafe, Kinu, Numthong Art Space, Museum of Everything Jinglebell เป็นต้น
- ห้างสรรพสินค้า : ลา วิลล่า อารีย์, Villa Market, The Seasons Mall, ปันสุขออแกนิค สาขาอารีย์ (Punsuk Organic) เป็นต้น
- สถานที่อื่นๆ : สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ, สถานีตำรวจนครบาลดินแดง, ธนาคารกรุงไทย สาขา ซอยอารีย์ SME D Bank, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเพิร์ล แบงก์ค็อก, ธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่ในย่านอารีย์นั้นเรียกได้ว่ามีครบวงจร ทั้งสถานที่ราชการและอาคารสำนักงานต่างๆ สถานศึกษา โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร คอมมูนิตี้มอลล์และแหล่งรวมพื้นที่รวมไลฟ์สไตล์หลากหลาย เป็นอีกหนึ่งทำเลที่มีการผสมผสานวิถีชีวิตที่แตกต่างได้อย่างลงตัว ระหว่างอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย ที่ทุกพื้นที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของความคลาสสิค จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครของย่านอารีย์
การเดินทางมายัง “ย่านอารีย์”
สิ่งที่ทำให้ย่านนี้น่าสนใจและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว นั่นคือ เส้นทางการเดินทางคมนาคมที่สมบูรณ์ หลายช่องทาง ทำให้เดินทางได้อย่างสะดวก ทั้งนี้วิธีการเดินทางมาย่านอารีย์ มีให้เลือกหลายวิธีดังนี้
- รถไฟฟ้า : สามารถนั่ง BTS สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วิ่งผ่าน โดยจะวางตัวไปตามเส้นถนนพหลโยธินนั่นเอง ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS เดิม มาลงที่สถานีอารีย์ที่อยู่ในย่านนี้ได้เลย
- รถยนต์ส่วนตัว การเดินทางด้วยรถยนต์มายังย่านอารีย์นั้น สามารใช้ถนนเส้นหลักของย่านนี้ได้ นั่นคือ คือถนนพหลโยธิน ซึ่งมีตรอก ซอก ซอยตลอดเส้นทาง ซึ่งซอยส่วนใหญ่ก็สามารถเชื่อมถึงกันได้ และมีทางคู่ขนานเป็นถนนพระรามที่ 6 กับถนนวิภาวิดีรังสิต และมีถนนเชื่อมกับทางคู่ขนานทั้ง 2 เป็น ถนนประดิพัทธิ์ ถนนสุทธสารวินิจฉัย และซอยพหลโยธิน 2
- ทางพิเศษ : ทางพิเศษที่ใกล้ที่สุดในย่านนี้ คือ ทางพิเศษศรีรัช และทางยกระดับอุตราภิมุข มีจุดขึ้นลงห่างออกไปไม่ถึง 2 กิโลเมตร สะดวกต่อการใช้งานทั้ง 2 เส้นทาง
- รถประจำทาง : มีป้ายรถประจำทางให้บริการตลอดเส้นพหลโยธิน แต่ป้ายรถประจำทางหลักจะอยู่ที่บริเวณวิลล่า มาร์เก็ต จากนั้นจะเป็นป้ายที่เว้นระยะห่างเป็นช่วง ๆ โดยมีรถเมล์สายสำคัญ ๆ ดังนี้
-
- รถเมล์สาย 17: ท่าข้าม-อนุสาวรีย์
- รถเมล์สาย 38: ส.ราชภัฏจันทรเกษม-วิทลาลัยรามคำแหง
- รถเมล์สาย 54: วงกลมรอบเมือง-ห้วยขวาง
- รถเมล์สาย 77: อู่สาธุประดิษฐ์-หมอชิดใหม่
- รถเมล์สาย 97: กระทรวงสาธารณสุข-โรงพยาบาลสงฆ์
- รถเมล์สาย 204: กทม.2-ท่าน้ำราชวงศ
- รถเมล์สาย 502: อู่สวนสยาม-อนุสาวรีย์
- รถเมล์สาย 509: พุทธมณฑลสาย 2-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
- รถตู้ : มีคิวรถตู้ที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นคิวขนาดใหญ่ ที่สามารถเดินทางได้ทั้งในเมืองและเส้นนอกเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีรถตู้จากที่อื่น ๆ วิ่งผ่านถนนเส้นหลักบนย่านอารีย์นี้ด้วย เช่นรถจากทางฝั่งจตุจักรวิ่งเข้าเมือง และจากอนุสาวรีย์ไปย่านชานเมือง ค่าโดยสารเริ่มตั้งแต่ 30 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ราคาค่าโดยสารอาจเปลี่ยนแปลงได้
- วินมอเตอร์ไซค์ : ย่านนี้อาจมีวินมอเตอร์ไซค์ให้บริการไม่หนาตาเท่าไร เพราะปริมาณซอยไม่ได้มีมากนัก และตลอดทั้งเส้นก็เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้า อย่างไรก็ตามก็จะมีวินอยู่ตามจุดสำคัญต่าง ๆ เช่น วิลล่า ปากซอยพหลโยธิน 2 ปากซอยพหลโยธิน 7 เป็นต้น ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท ราคาค่าโดยสารขึ้นกับระยะทางและอาจเปลี่ยนแปลงได้
- สองแถว : มีคิววินรถสองแถวจอดให้บริการอยู่ใกล้ ๆ กับวินมอเตอร์ไซค์ปากซอยพหลโยธิน 7 ซึ่งมีเฉพาะช่วงเช้าเท่านั้น วิ่งไปจนถึงกรมประชาสัมพันธ์ ค่าโดยสาร 8 บาทตลอดสาย ราคาค่าโดยสารอาจเปลี่ยนแปลงได้
- รถไฟ : ทางฝั่งถนนพระราม 6 จะมีรถไฟที่วิ่งมาจากหัวลำโพงให้บริการด้วย โดยใช้บริการได้ที่สถานีสามเสน ข้าง ๆ โรงพยาบาลวิชัยยุทธนั่นเอง รถไฟสายนี้สามารถวิ่งขึ้นไปทางเหนือได้เลย แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจที่สถานีสามเสนก่อนว่า ตรงจุดนี้มีให้บริการเส้นทางไหนบ้าง
จะเห็นได้ว่าตัวเลือกที่จะใช้เพื่อเดินทางภายในย่านอารีย์ มีให้บริการอยู่หลากหลายประเภท อีกทั้งในอนาคต รถโดยสารสาธารณะที่ให้บริการอยู่ในพื้นที่ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้น พร้อมกับปรับให้มีความทันสมัย สะดวก และง่ายต่อการใช้บริการมากขึ้นอีกด้วย
ภาพรวมของย่านอารีย์กับการพัฒนาในอนาคต
ด้วยศักยภาพของทำเลย่านอารีย์ ที่มีความพร้อมด้านเส้นทางคมนาคม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ทั้งที่พักอาศัย แหล่งงานจากบริษัทชั้นนำ และหน่วยงานงานราชการ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ รวมไปถึงบริเวณชุมชนและพื้นที่สาธารณะต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการกิจกรรมทางสังคมตลอดเวลา ทำให้การเกิดการธุรกิจใหม่ ๆ ของคนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งได้มาสรรค์สร้างรูปแบบไลฟ์สไตล์ในย่านอารีย์ให้มีความหลากหลาย ช่วยเสริมให้ย่านอารีย์มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จนเรียกได้ว่าเป็นทำเลทองแห่งความร่วมสมัย ที่ผสมผสานความเป็นแหล่งชุมชนเก่า กับความทันสมัยได้อย่างลงตัว ทำให้พื้นที่ย่านอารีย์กลายเป็นจุดที่ดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาใช้ชีวิตในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเกิดการลงทุนต่างๆขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่เริ่มหันมาจับจองที่อยู่อาศัยและลงทุนในย่านนี้
นอกจากนี้ยังทำให้พื้นที่ของย่านนี้มีโครงการเชิงพาณิชย์ใหม่ ๆ เกิดมากขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากแหล่งงานใหม่ของภาคเอกชน โครงการอาคารสำนักงานเกรดเอใหม่ ๆ ที่อัตราค่าเช่าเฉลี่ยเริ่มต้นไม่น้อยกว่า 600-700 บาท/ตารางเมตร แสดงให้เห็นว่าในอนาคต ย่านอารีย์จะเป็นศูนย์รวมแหล่งงานขนาดใหญ่ ของทั้งภาคเอกชนและภาคราชการ และเป็นปัจจัยที่ทำให้มีความต้องการที่อยู่อาศัยสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดเช่าที่จะเติบโตอย่างมาก
มนต์เสน่ห์แห่ง“อารีย์” ย่านน่าอยู่ติดอันดับโลก ทำความนิยมพุ่ง
การพัฒนาความเจริญที่ไม่เคยหยุดนิ่งของย่านอารีย์ และความต้องการของผู้คนในการจับจองเข้าพักอาศัยที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลการพัฒนาด้านอสังหาฯ ในย่านนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และยิ่งทวีความนิยมขึ้นไปอีก เมื่ออารีย์ ได้รับคะแนนให้เป็นย่านที่น่าอยู่ที่สุดในกรุงเทพฯ และติดอันดับ 47 ย่านที่สุดเจ๋งที่สุดในโลก จากการสำรวจของ Time Out Coolest Neighborhoods in the World 2021 ที่ได้สำรวจความเห็นจากคนเมืองของแต่ละประเทศ เกี่ยวกับย่านที่อยู่อาศัยที่น่าอยู่ที่สุดในโลก ในปี 2021 ที่ผ่านมา โดยวัดจากวิถีชีวิตแหล่งความคิดสร้างสรรค์ แน่นอนว่าเมื่อมีรางวัลการันตรีถึงความเป็นทำเลน่าอยู่เช่นนี้ ก็ยิ่งส่งผลให้ความนิยมในย่านนี้เพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่ที่ดินอยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว ยิ่งจะพุ่งไปอีก ทำให้โครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆขยับราคาขึ้นตามไปด้วย
โดยกรมธนารักษ์ได้จัดทำราคาประเมินที่ดินรอบปี 2565-2568 พบว่าราคาที่ดินเฉลี่ยของถนนพหลโยธิน จะอยู่ที่ 300,000-400,000 บาท/ตร.ว และเจาะลึงไปในย่านอารีย์ ซอยพหลโยธิน 7 ราคาอยู่ที่ 150,000 บาท/ตร.ว.
สำหรับราคาคอนโดมิเนียม มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 100,000 บาท/ตร.ม. หรือ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5 ล้านบาท ขนาดห้อง 35 ตร.ม.ส่วนราคาเช่าคอนโดฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 730 บาท/ตร.ม.
ส่วนคอนโดมือสอง ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4 ล้านบาท ขนาดห้อง 29 ตร.ม.ทาวน์เฮ้าส์มือสอง ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 13 ล้านบาท ขนาดบ้าน 200 ตร.ม. และบ้านเดี่ยวมือสอง ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ล้านบาท ขนาดบ้าน 400 ตร.ม.
หากจะมองหาคอนโดสักแห่งเพื่อพักอาศัยอยู่เอง หรือจะลงทุนเพื่อปล่อยเช่า อารีย์ก็เป็นทำเลตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะราคาที่ดินและสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับอดีต และมีแนวโน้มจะเติมโตขึ้นเรื่อยๆอีกในอนาคต
สรุปส่งท้าย
จากพื้นที่เกษตรกรรมแถบชานเมืองในอดีต กลายมาเป็นย่านน่าอยู่ติดอันดับโลก ที่ได้รวมแหล่งที่อยู่อาศัย และศูนย์รวมแหล่งงานขนาดใหญ่ ที่ผสมผสานระหว่างอดีตและเชื่อมยุคความทันสมัยได้อย่างลงตัว เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และอาหารหลากหลายเชื้อชาติ อีกทั้งเส้นทางคมนาคมอันสมบูรณ์ ที่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ผู้คนที่ต้องการบรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเอง ยิ่งทำให้ความนิยมในทำเลย่านนี้ในการแหล่งที่พักอาศัยสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง จนราคาที่ดินพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งนับเป็นจุดแข็งที่ดึงดูดให้นักลงทุน ต่างหลั่งไหลเข้ามาจับจองพื้นที่ “ย่านอารีย์” สำหรับลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เพราะมั่นใจในศักยภาพของทำเลที่จะเติมโตมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต และให้ผลตอบแทนคุ้มค่าของการลงทุนระยะยาว
อย่างไรก็ตาม หากท่านเป็นหนึ่งคนที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์น่าลงทุนในย่านอารีย์แห่งนี้ สามารถเข้ามาเยี่ยมชมโครงการต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ PropertyScout ได้ทันที เพราะเราได้รวบรวมแหล่งรวมอสังหาฯที่ดีที่สุดในประเทศไทยให้ท่านแล้ว