ส่องทำเลย่านบางซื่อ ศูนย์กลางการขนส่งรถไฟแห่งอาเซียน

Author
by
At
July 7, 2022
ส่องทำเลย่านบางซื่อ ศูนย์กลางการขนส่งรถไฟแห่งอาเซียน ส่องทำเลย่านบางซื่อ ศูนย์กลางการขนส่งรถไฟแห่งอาเซียน

บางซื่อ ศูนย์กลางฮับด้านคมนาคมทางรางไทย

ย่านบางซื่อ” เป็นทำเลใหญ่มีประวัติชุมชนที่เก่าแก่ และมีสถานที่ราชการมากมาย ในอดีตเป็นเพียงพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ให้กับเกษตรกร แต่พื้นที่แห่งนี้ในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟขนาดใหญ่ ที่จะสามารถอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง และยังสะดวกให้กับการส่งสินค้าต่างที่สามารถกระจายได้ทั้งในและต่างประเทศได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลงและรวดเร็ว ส่งผลที่ทำให้เกิดการเติบโตในพื้นที่ได้มากขึ้น ทั้งอสังหาริมทรัพย์มากมายที่ขยายเพื่อรองรับกับเศษฐกิจในพื้นที่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน คอนโด โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหารอร่อยๆต่างๆมากมาย จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นอีก1ในทำเลทองให้กับกรุงเทพเมืองหลวงของไทยในปัจจุบันที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง

สถานีเตาปูน-บางซื่อ จุด interchange ขอบคุณรูปจาก Lumpini Place

ทำความรู้จักย่านบางซื่อ

1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร พื้นที่ทั้งหมดรวมกว่า 11,500 ตร.กม.

พื้นที่ บางซื่อ ตั้งอยู่ในฝั่งทางเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่เชื่อมต่อจังหวัดนนทบุรี และติดกับริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร

    • ทิศเหนือ : ติดกับอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
    • ทิศใต้ : ติดกับเขตดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    • ทิศตะวันออก : ติดกับเขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    • ทิศตะวันตก : ติดกับเขตบางพลัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร และอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 
ภาพสถานีชุมทางบางซื่อ เส้นทางรถไฟที่สำคัญในอดีต ขอบคุณรูปภาพจาก Bangkok Expressway and Metro

มีแนวทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต มีพื้นที่แบ่งเขตเป็นแขวงบางซื่อและแขวงวงศ์สว่าง ความเจริญเริ่มขึ้นตั้งแต่ในอดีตที่เป็นเส้นทางรถสถานีไฟที่สำคัญ ถัดจากหัวลำโพงที่เป็นสถานีเก่าแก่ ซึ่งสถานีไฟบางซื่อก็เป็น 1ใน 10สถานีแรกของประเทศไทยพร้อมๆ กับการเดินรถไฟครั้งประวัติศาสตร์อีกด้วย ในตอนหลังทางรถไฟได้มีการวางแผนเส้นทางเชื่อมทางรถไฟสายใต้ ผลจึงออกมาที่สถานีบางซื่อ ที่เหมาะสำหรับการสร้างเป็นทางแยกในเส้นทางการเดินทางไปยังสายใต้ สถานีบางซื่อจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นใหม่เพิ่มคำนำหน้า เป็นชุมทาง โดยคำว่าชุมทางมีความหมายว่าทางแยกนั่นเอง จึงมีชื่อเต็มว่า สถานีชุมทางบางซื่อ หลังจากมีการคมนาคมที่ดีแล้ว การเกิดชุมชน ต่างๆจึงได้ขยับขยายการพัฒนา ยิ่งในปัจจุบัน

จนกระทั้งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนศูนย์กลางทางรถไฟจากเดิมหัวลำโพง เป็นสถานีกลางบางซื่อ ที่จะเป็นศูนย์กลางระบบรางของไทย จึงเกิดทำเลค้าขาย ห้างร้าน คอนโด ที่อยู่อาศัยต่างๆมากมาย ยิ่งในปัจจุบันพื้นที่ใจกลางกรุงถูกพัฒนาเต็มรูปแบบแล้ว เพื่อรองรับประชากรที่มากขึ้นให้กับเมืองหลวง บางซื่อจึงเป็น CBD แห่งใหม่ที่กระจายตัวออกมา จึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆครบถ้วนที่รองรับกับกลุ่มคนทุกระดับชั้นสำหรับการอาศัย และทำธุรกิจในที่แห่งนี้ จึงทำให้เป็นทำเลที่น่าจับตามองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ประวัติความเป็นมาย่านบางซื่อ

บางซื่อ มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน เดิมเป็นชุมชนเก่าแก่ เป็น1ในอำเภอชั้นนอก ของมณฑลกรุงเทพ ในสมัยนั้นโดยขึ้นตรงต่อกระทรวงนครบาล ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองต่างๆมากมาย และความเจริญต่างๆก็เริ่มขยับขยายในเวลาต่อมา

ภาพอาคารปูนซิเมนต์ไทย(มหาชน) แหล่งผลิตปูนแห่งแรกของประเทศไทยในอดีต
ขอบคุณรูปภาพจาก Tinnakorn C.

ลำดับการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

    • พ.ศ. 2437 อำเภอ บางซื่อ เป็นอำเภอชั้นนอก อำเภอหนึ่งในมณฑลกรุงเทพ ขึ้นตรงต่อกระทรวงนครบาล (เป็นการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลในช่วงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
    • พ.ศ. 2458 อำเภอ บางซื่อ กำหนดเขตการปกครองใหม่โดยรวมอยู่ในท้องที่ จังหวัดพระนคร(เป็นการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนเขตการปกครองใหม่ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
    • พ.ศ. 2470 อำเภอ บางซื่อ ได้มีการปรับปรุงเขตการปกครองใหม่หลายครั้ง เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงให้ขนาดเล็กลง จังหวัดพระนคร
    • พ.ศ. 2481 ตำบล บางซื่อ ถูกยุบจากการเป็นอำเภอบางซื่อ เป็นเขตการปกครองย่อยของอำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร

จากนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2514-2515 ได้มีการยุบรวม จังหวัดธนบุรี กับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ

    • พ.ศ. 2514-2515 แขวง บางซื่อ ขึ้นกับเขตดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    • พ.ศ. 2532 เขต บางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร (วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยแยกแขวงบางซื่อออกจากเขตดุสิตและจัดตั้งเป็น เขตบางซื่อ ประกาศฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่กระทรวงออกประกาศ)

เขตบางซื่อ ถูกแบ่งเป็น 2 แขวง โดยมีทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต

  • แขวงบางซื่อ
    • ทิศเหนือ มีทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต ติดกับแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ และแขวงจตุจักร เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    • ทิศใต้ มีคลองประปา คลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
    • ติดกับแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    • ทิศตะวันออก มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต ติดกับแขวงจตุจักร เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    • ทิศตะวันตก มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต ติดกับแขวงบางอ้อ เขตบางพลัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • แขวงวงศ์สว่าง
    • ทิศเหนือ มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต ติดกับตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 
    • ทิศใต้ มีทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต ติดกับแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    • ทิศตะวันออก มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต ติดกับแขวงลาดยาวและแขวงจตุจักร เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    • ทิศตะวันตก มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต ติดกับตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย ตำบลสวนใหญ่ และตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ภาพบริเวณ ย่านเขตบางซื่อทั้งหมด
ขอบคุณรูปภาพจาก แผนที่ดินไทยและธาตุอาหารพืช
  • คำว่า บาง หมายถึง ทางน้ำเล็กๆในภาษามอญโบราณหมายถึงปาก
  • คำว่า ซื่อ หมายถึง ตรง 

บางนา น่าจะหมายความถึงคลองที่ผ่านย่านนี้ ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างตรง

จากนิทานที่เล่ากันในละแวกนั้นกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าอู่ทองหนีโรคห่าลงมาครั้งนั้นพระเจ้าอู่ทองให้นำทองที่บรรทุกมาไปซ่อนที่บริเวณบางซ่อน ต่อมามีคนมาถามผู้คนกลุ่มหนึ่ง คนกลุ่มนั้นก็ได้บอก ถึงที่ซ่อนทอง คนทั้งหลายจึงเห็นว่าคนเหล่านี้มีความซื่อสัตย์ จึงเลือกพื้นที่บริเวณนั้นว่า บางซื่อ 

และมีคำเกล่า “ถึงบางซื่อชื่อบางนี้สุจริต” ปรากฏจากนิราศพระบาทของสุนทรภู่ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 อีกด้วย

บางซื่อในปัจจุบัน แหล่งความเจริญด้วยจุดเริ่มต้นจากคมนาคม

บางซื่อ แหล่งเจริญที่เกิดจากความแข็งแกร่งทางด้านคมนาคมในย่านนี้ ทำให้เกิดแหล่งชุมชน อาคารสำนักงาน บ้านเรือน คอนโด และที่สำคัญพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่แหล่งหน่วยงานราชการต่างๆมากมายอีกด้วย แต่โครงการสถานีกลางบางซื่อ จะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะเป็นแหล่งเฟื่องฟูทางการค้า และจะเกิดการพัฒนาเป็นแลนด์มากค์ สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมากมายจะเกิด โดยพื้นที่สถานีกลางบางซื่ออย่างเดียว จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 300,000 คนต่อวันในอนาคต จึงไม่แปลกใจหากแผนโครงการการเดินทางรถไฟแห่งนี้สำเร็จ สถานีกลางบางซื่อจะพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในอาเซียนอย่างแน่นอน

พื้นที่ปัจจุบันเป็นทำเลที่น่าสนใจในการใช้ชีวิตไม่น้อย เพราะมีแหล่งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ ทั้งที่อยู่อาศัย คอนโด บ้าน ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงพยาบาล ถือว่าครบจบในพื้นที่เดียว สำคัญอย่างยิ่งคือการเดินทางที่ ครอบคลุมการเดินที่ง่ายต่อการใช้ชีวิตในพื้นที่ ทุกโซนของพื้นที่ย่านสามารถเข้าถึงได้ง่าย การเชื่อมต่อไปยังย่านใกล้เคียงก็สะดวกสบาย พื้นที่แห่งนี้จึงสะดวกสบายสำหรับการใช้ชีวิตในเมืองหลวงที่เป็นแหล่งเศษฐกิจ New CBD แห่งนี้ ที่รองรับการขยายจากความเจริญในพื้นที่ตัวเมืองได้เป็นอย่างดี 

สิ่งอำนวยความสะดวกโลเคชั่นสำคัญต่างๆ ย่านบางซื่อ

บางซื่อ ตั้งแต่ในอดีต ที่เปลี่ยนผ่านยุคการเดินทางด้วยเรือ มาสัญจรตามท้องถนน พื้นที่บางซื่อแห่งนี้จึงเกิดแหล่งชุมชนมากมาย และการมาของเส้นทางรถไฟสถานีชุมทางบางซื่อในอดีตจึงทำให้พื้นที่ชุมชนที่เกิดขึ้นโดยรอบมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันเป็นยุคเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในเมกะโปรเจคสถานีกลางบางซื่อแห่งนี้ จึงเป็นที่จับตามองของเหล่านักลงทุน ที่มาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อรองรับความการเดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้ จากการเดินทางที่สะดวก จึงเกิดแหล่งอำนวยความสะดวกต่างๆมากมายเรียกได้ว่าครบจบในที่เดียว การอาศัย ช็อปปิ้ง การศึกษา โรงพยาบาลต่างๆ พื้นที่แห่งนี้จึงตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างที่สุด

ภาพจำลอง ศูนย์การค้าเกทเวย์ แอท บางซื่อ ขอบคุณรูปภาพจาก Os group
  • ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า : เกทเวย์ แอท บางซื่อ และใกล้เคียงเดินทางสะดวกไปยัง ศูนย์การค้าบางซื่อจังชั่น จตุจักร อีกด้วย
  • สถานศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครเหนือ , โรงเรียนเทพสัมฤทธิ์วิทยา , โรงเรียน ผะดุงศิษย์พิทยา , โรงเรียนกุลวรรณศึกษา  เป็นต้น
  • สถานพยาบาล : โรงพยาบาลบางโพ , โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น เป็นต้น
ภาพบริเวณ สวนสุขภาพประชานุกูล
  • สวนสาธารณะ : สวนสุขภาพประชานุกูล , สวนสาธารณะใต้สะพานพระรามเจ็ด และใกล้เคียงเดินทางสะดวกสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ อีกด้วย
  • อาคารสำนักงานสำคัญ : สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน , สถานีตำรวจนครบาลบางโพ , สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางโพ , สถานีดับเพลิงบางซ่อน , ที่ทำการไปรษณีย์บางโพ , สำนักงานสรรพากรพื้นที่ 3 , ที่ทำการไปรษณีย์บาง  เป็นต้น
  • สถานที่สำคัญอื่นๆ : วัดสร้อยทอง , สถานีรถไฟพระราม6 , ถนนสายไม้ , บริการด้านขนส่งพัสดุ เป็นต้น
ภาพบริเวณ ตลาดสุดคลาสสิค ชุมทาง สยามยิปซี ขอบคุณรูปภาพจาก Thetrippacker
  • ศูนย์การค้าของอุปโภคบริโภค : ชุมทาง สยามยิปซี , BANG SON NIGHT MARKET , ศูนย์การค้ามณีพิมาน , ตลาดนัด วัฒนานันท์ เป็นต้น

การเดินทางมายัง “ย่านบางซื่อ”

ถนนทุกสายมุ่งไปที่บางซื่อและรางมาอยู่ที่นี่คอยให้บริการสำหรับการเดินทาง การคมนาคมแห่งใหม่ที่ขยายตัวจากการพัฒนาอย่างเต็มรูปเพื่อเป็นฮับการขนส่งทางรางที่ครอบคลุมทั้งประเทศ

  • ทางรถยนต์ : การเดินทางด้วยรถยนต์ มีถนนเส้นหลักของย่านบางซื่อมีอยู่หลายสาย ได้แก่ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถนนประชาชื่น และถนนประชาราษฎร์สาย 2 ช่องจราจรกว้างขวาง สภาพถนนทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี ปริมาณรถในพื้นที่ไม่ค่อยหนาแน่นมากนัก สำหรับย่านนี้ ยกเว้นในชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้ากับช่วงค่ำ ที่จะมีจังหวะต้องชะลอตัวบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือตามแหล่งห้างสรรพสินค้า และตลาดต่างๆเท่านั้น
  • ทางพิเศษ : จุดขึ้น- ลงทางพิเศษ อยู่ตรงบริเวณสี่แยกที่เลยจากรถไฟฟ้า MRT สถานีบางซ่อนไปเล็กน้อย ทางพิเศษที่อยู่ในย่านนี้คือ ทางพิเศษศรีรัช
  • รถเมล์ : มีป้ายรถประจำทางคอยให้บริการอยู่บนถนนเส้นหลักทุกสาย คอยให้บริการเป็นระยะ โดยรถเมล์สายสำคัญได้แก่
    • รถเมล์สาย 5 : สถานีขนส่ง (จตุจักร)-จักรวรรดิ
    • รถเมล์สาย 16 : หมอชิต 2-สุรวงศ์
    • รถเมล์สาย 30 : วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน)-นนทบุรี
    •  
    • รถเมล์สาย 50 : พระราม 7-สวนลุมพินี
    • รถเมล์สาย 65 : วัดปากน้ำ (นนท์)-สนามหลวง
    • รถเมล์สาย 66 : ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ-สายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน)
    • รถเมล์สาย 97 : กระทรวงสาธารณสุข-โรงพยาบาลสงฆ์
    • รถเมล์สาย 543 : บางเขน-ลำลูกกา
ภาพบริเวณ สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางทางระบบรางแห่งอาเซียน ขอบคุณรูปภาพจาก prachchat
  • รถไฟฟ้า : บางซื่อเป็นจุดสำคัญที่ทำให้การเดินทางจากใจกลางเมืองสู่จังหวันนทบุรี ได้อย่างสะดวก เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนเมือง ที่ต้องการหนีการสัญจรทางท้องถนน ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าคอยให้บริการอยู่ด้วยกัน 2 สาย คือรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน และในอนาคตจะมีอีกหลายสายที่จะผ่านมายังสถานีกลางบางซื่อ เพื่อความสะดวกในการสัญจรคมนาคมต่างๆ ที่แห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางการรถไฟที่เชื่อมทั้งใจกลางเมืองสู่นอกเมืองได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันรถไฟฟ้าที่ผ่านในเขตบางซื่อ  2 สาย ที่เชื่อมต่อกัน

    • รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่ หรือสายฉลองรัชธรรม โดยใช้ชื่อย่อว่า MRT Purple Line  มีทั้งหมด 3 สถานีที่ผ่านเขตพื้นที่บางซื่อ MRTเตาปูน MRTบางซ่อน MRTวงศ์สว่าง
    • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ-สถานีหัวลำโพง และบางซื่อ-ท่าพระ(ผ่านเตาปูน) หรือสายเฉลิมรัชมงคล โดยใช้ชื่อย่อว่า MRT มีทั้งหมด 2 สถานีที่ผ่านเขตพื้นที่บางซื่อ MRTบางซื่อ MRTเตาปูน

ในอนาคต รถไฟฟ้าจะมีให้เลือกได้เพิ่มมากขึ้น โดยมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟอีกหลายสาย ที่มีแผนโครงการดำเนินการ

    • เส้นทาง SRT สายสีแดงเข้ม (บ้านภาชี–บางซื่อ–ปากท่อ) เป็นประเภทรถไฟฟ้ารางหนัก (heavy rail)
    • เส้นทาง SRT สายสีแดงอ่อน (นครปฐม–บางซื่อ–ฉะเชิงเทรา) เป็นประเภทรถไฟฟ้ารางหนัก (heavy rail)
    • เส้นทาง SRT สายสีแดงเข้มท่าอากาศยาน (ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท)  เป็นประเภทรถไฟฟ้ารางหนัก (heavy rail) เชื่อมต่อกับ เส้นทาง ARL ไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ซึ่งรถไฟฟ้าเหล่านี้ จะทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างสะดวกสบายและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น

ภาพจำลอง รถไฟสายสีแดงเข้ม ขอบคุณรูปภาพจาก prachachat
  • วินมอเตอร์ไซค์ : การนั่งวินมอเตอร์ไซต์ ในช่วงเวลาเร่งรีบ เพื่อจะลัดเลาะเส้นถนน พาท่านไปสู่ จุดหมายได้ทันท่วงที ย่านบางซื่อก็เป็นอีกแหล่ง ที่มีคิววินกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ หลักๆทั้งบริเวณสถานีรถไฟฟ้า ตลาด และตามโครงการที่พักอาศัย คอนโดต่างๆ 
  • รถสามล้อ : เป็นอีก1เสน่ห์สำหรับกรุงเทพเมืองหลวงของเราที่ต่างชาติต่างคุ้นชิน และอยากหาโอกาสใช้บริการอยู่เสมอ แม้จะมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับวินมอเตอร์ไซค์ แต่มีพอให้บริการนักท่องเที่ยวโดยจะจอดรับผู้โดยสารที่สถานีรถไฟฟ้าเป็นหลัก นอกนั้นก็จะไปอยู่ตามตลาดนัดขนาดใหญ่ ราคาค่าโดยสารแล้วแต่การเจรจาตกลง ควรสอบถามให้ชัดเจนก่อนใช้บริการทุกครั้ง
  • รถไฟ : ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางทางการขนส่งทางรางให้กับประเทศไทย 
    • สายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันให้บริการ 66 ขบวนต่อวัน
    • สายใต้ ปัจจุบันให้บริการ 24 ขบวนต่อวัน
    • สายตะวันออก ปัจจุบันให้บริการ 28 ขบวนต่อวัน

และปัจจุบันมีแผนก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางอีกด้วย ได้แก่ 

    • กรุงเทพฯ-เชียงใหม่
    • กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย
    • กรุงเทพฯ-ฉะเชิงทรา-ชลบุรี-ระยอง เชื่อมต่อ 3 สนามบิน ได้แก่ ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา
    • กรุงเทพฯ-หัวหิน มีแผนจะศึกษาเพิ่มเติมเส้นทางช่วงหัวหิน-สุราษฎร์ธานี

ภาพรวมความเจริญสู่ทำเลทองการพัฒนา ในอนาคต

ก้าวใหม่อนาคตศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งแห่งใหม่ กลายเป็น CBD แห่งใหม่ ซึ่งเขตบางซื่อถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งด้านเศรษฐกิจ คมนาคม การศึกษา รวมถึงมีประชากรที่อาศัยอยู่เดิมและย้ายเข้ามาอยู่ใหม่จำนวนมาก จึงเกิดแหล่งที่พัก คอนโด ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้ารองรับ และยังมีโครงการอีกมากที่กำลังดำเนินโครงการเพื่อรองรับผู้คนที่มาใช้ชีวิตในพื้นที่แห่งนี้ จึงตอบโจทย์การในทุกๆด้านของการใช้ชีวิตของคนเมือง

ที่สำคัญในอนาคตจากพื้นที่ที่อยู่นอกเขตกลางกรุงเป็นศูนย์กลางที่กำลังขยายความเจริญได้โดยรอบจากสถานี โดยจะมีแหล่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เพื่อรองรับประชากรที่เดินทางเข้ามาในจุดศูนย์กลางแห่งนี้ และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากปัญหาการจราจรติดขัด เพื่อให้เกิดทางเลือกใหม่ เพื่อการเดินทางด้วยเส้นทางรถไฟแทน หากมีการขยายพื้นที่เป็นจุดมุ่งหมายของการเดินทางท่องเที่ยวแล้ว เพื่อให้สอดรับกับปริมาณผู้ใช้บริการที่จะเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต โดยสามารถรองรับผู้เดินทางกว่า 624,000 คนต่อวัน ในบนพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับการพัฒนากว่า 2,325 ไร่ จึงสามรารถเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงระดับอาเซียน ตอบโจทย์ธุรกิจและชีวิตทันสมัยสำหรับคนเมืองอย่างแท้จริง

บางซื่อ ทำเลคุ้มค่าน่าลงทุน ราคาพุ่งต่อเนื่อง

ภาพจำลองคอนโดย่านบางซื่อ ชื่อโครงการศุภาลัย ลอฟท์ รัชดา-วงศ์สว่าง คาดว่าสร้างเสร็จในปี2024
ขอบคุณรูปภาพจาก Supalai

ราคาประเมินที่ดินในย่านบางซื่อ ในช่วงปีต่างๆ และการคาดการณ์ในอนาคต

    • ในช่วงปี 2551 – 2554 เฉลี่ยราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 70,000 – 160,000 บาท ต่อตารางวา
    • ในช่วงปี 2559 – 2562 เฉลี่ยราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 100,000 - 265,000 ต่อตารางวา
    • ในช่วงปี 2563 – 2566 เฉลี่ยราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 150,000 - 270,000 ต่อตารางวา

ในอนาคตมีโอกาสที่ราคาประเมิน จะพุ่งสูงขึ้นจากการเจริญเติบโตของคนเมืองตามเศษฐกิจของเมืองอย่างแท้จริง

สรุปส่งท้าย

จากข้อมูลทั้งหมดพื้นที่แห่งนี้ได้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตการเดินทางที่สะดวกเป็นฮับที่จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางทาง ที่ใหญ่ที่สุดเป็นศูนย์กลางการขนส่งรถไฟแห่งอาเซียน ทำให้แหล่งความเจริญเกิดขึ้นรอบๆจากนักลงทุนต่างๆมากมาย ทั้งคอนโด สำนักงาน ห้างร้านต่างๆมากมาย จึงเป็นพื้นที่ที่ครอบคลุมทั้งความสะดวกและการใช้ชีวิตที่ตอบโจทย์สำหรับผู้พักอาศัย

อย่างไรก็ตาม หากท่านเป็นหนึ่งคนที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์น่าลงทุนในย่านบางซื่อแห่งนี้ สามารถเข้ามาเยี่ยมชมโครงการต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ PropertyScout ได้ทันที เพราะเราได้รวบรวมแหล่งรวมอสังหาฯที่ดีที่สุดในประเทศไทยให้ท่านแล้ว