หนังสือมอบอำนาจต้องใช้เมื่อไหร่?
หนังสือมอบอำนาจต้องใช้เมื่อไหร่?
การมอบอำนาจหนังสือมอบอำนาจมีกี่ประเภท?ข้อควรระวังในการกรอกข้อมูลหนังสือมอบอำนาจในการทำเซ็นสัญญาทางกฎหมายจำเป็นต้องมีเอกสารยืนยันในการ ใช้ในกรณีมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ใช้ในการติดต่อราชการ เช่น การโอนกรรมสิทธิ์
การมอบอำนาจ
การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง การมอบอำนาจให้ทำกิจการใดที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น การซื้อขายที่ดิน กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นการมอบอำนาจให้ขายที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย
หนังสือมอบอำนาจมีกี่ประเภท?
หนังสือมอบอำนาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
หนังสือมอบอำนาจสำหรับบุคคลทั่วไป
(add i.e.)
หนังสือมอบอำนาจสำหรับนิติบุคคล
(add i.e.)
ข้อควรระวังในการกรอกข้อมูลหนังสือมอบอำนาจ
- ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก บ้านเรือน โรง ให้ชัดเจน
- ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่ามอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย
- อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกันถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน
- ถ้ามีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
- อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจก่อนกรอกข้อความครบถ้วน และถูกต้องตามความประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอก ข้อความเป็นอันขาด
- ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน พยานต้องเซ็นชื่อจะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้ ถ้าภรรยาเป็นผู้รับมอบอำนาจต้องให้สามีลงชื่อเป็นพยานและให้บันทึกความยินยอมเป็นหนังสือด้วย
- หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุลหรือโนตารีปัปลิครับรองด้วย
ที่มาจาก : กรมที่ดิน