ทำเลอนุสาวรีย์ชัยฯ ที่เป็นมากกว่าจุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคม ของกรุงเทพมหานคร
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แหล่งการค้า จุดเปลี่ยนถ่ายคมนาคมสำคัญ
“ย่านอนุสาวรีย์ชัย”เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันทำเลพื้นที่แห่งนี้ เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายคมนาคมสำคัญ ให้กับเมืองหลวงแห่งนี้ โดยมีถนนเส้นทางหลัก 4 เส้นทางที่เป็นทางสัญจรวิ่งเข้าสู่วงเวียนขนาดใหญ่ เพื่อนวนออกไปยังจุดหมายต่างๆตามเส้นถนนได้ทั่วสารทิศในกรุงเทพมหานครแห่งนี้ จึงเป็นแลนด์มาร์กสำคัญ สำคัญคนทั่วไปที่เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ ในการเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ เพื่อไปยังจุดมุ่งหมายอีกที โดยมีรถโดยสารสาธารณะที่ครอบคลุมการเดินทางมากมาย ทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ รถตู้ ซึ่งเป็นการเดินทางไปยังทุกเส้นทาง ในเมือง และออกเมืองต่างจังหวัดใกล้เคียงด้วยรถตู้อีกด้วย จึงสะดวกสุดๆในการเดินทาง การเดินเป็นจุดเปลี่ยนการเดินทางนี้เอง ทำให้พื้นที่อนุเสาวรีย์ เป็นพื้นที่น่าสนใจ เพราะพื้นที่ไหนที่มีผู้คน พื้นที่นั้นมักมีโอกาส ยิ่งผู้คนเยอะ ยิ่งทำให้ทำเลเเห่งนี้เป็นที่จับตามองสำหรับนักลงทุน เริ่มตั้งแต่ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านบริการต่างๆ จนไปถึงทำเลแห่งการเติบโตทางด้านอสังหาริมทรัพย์ เพราะด้วยการเป็นพื้นที่ที่สะดวกต่อการเดินทาง สิ่งต่างๆจึงเริ่มขยับขยายเป็นเเหล่งทำเลที่น่าสนใจน่าติดตามอีกด้วย
ทำความรู้จักอนุสาวรีย์ชัยฯ
อนุสาวรีย์ชัยฯ เป็นอนุสรณ์สถานสำคัญ ก่อสร้างบริเวณสี่แยกถนนราชวิถีตัดกับถนนพญาไท และต้นถนนพหลโยธิน (ขณะนั้นเรียกว่าถนนประชาธิปัตย์) พื้นที่ 6,781 ตารางวา อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพมหานครที่มีรถโดยสารให้บริการเป็นจำนวนมากในหลายเส้นทาง ทั้งรถประจำทาง รถไฟฟ้า และรถตู้ ผ่านตลอด 24 ชั่วโมง โดยตั้งอยู่บนพื้นที่วงเวียนขนาดใหญ่ที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง 4 เส้นทางถนน โดยมีถนนถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท โดยทั้ง 4 ถนนวิ่งออกเส้นทางต่างๆดังนี้
- ทิศเหนือ : ถนนพหลโยธิน เกาะพหลโยธิน » สะพานควาย-ห้าแยกลาดพร้าว เข้าสู่โซนกรุงเทพตอนเหนือด้วยถนนพหลโยธิน ได้แก่ อารีย์ จตุจักร ลาดพร้าว เป็นต้น
- ทิศใต้ : ถนนพญาไท เกาะพญาไท » แยกรางน้ำ เข้าสู่กรุงเทพชั้นในและ CBD ด้วยถนนพญาไท
- ทิศตะวันออก : ถนนราชวิถี เกาะดินแดง » แยกสามเหลี่ยมดินแดง เข้าสู่ถนนวิภาวดีรังสิต New CBD พระราม9 ไปจนถึงโซนตะวันออกของกรุงเทพฯ
- ทิศตะวันตก : ถนนราชวิถี เกาะราชวิถี » แยกตึกชัย เข้าสู่สวนดุสิตจนถึงพระนครและฝั่งธนบุรี เป็นแหล่งรวมโรงพยาบาล หน่วยงานราชการ และสถาบันทางการแพทย์
ประวัติความเป็นมาย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์แห่งชัยชนะของไทยในกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส หลังความขัดแย้งสิ้นสุดลง รัฐมนตรีขณะนั้น มีมติให้สร้างอนุสาวรีย์เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการสงครามและประสบอันตรายถึงแก่ชีวิต เพื่อให้เป็นเกียรติประวัติวีรกรรม และเป็นเครื่องเตือนใจอนุชนรุ่นต่อมา ให้ชื่อว่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ”
เรียงลำดับเหตุการณ์ทั้งหมดกว่าจะเป็นอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ในปัจจุบัน
- ในช่วงสมัย รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้น มีความต้องการสร้างชาตินิยมแบบใหม่ ในกับคนไทยในชาติ และได้เริ่มดำเนินการทวงดินเก่าๆที่เคยเสียไปให้กับเหล่าจักรวรรดินักล่าอาณานิคมต่างๆ ด้วยการสร้างชาตินิยมแบบใหม่นี้จึงทำให้คนในชาติเองก็ตื่นตัวและกระตุ้นให้เกิดกระแส ขอคืนดินแดนที่เคยไปในสมัยรัชกาลที่5 กลับมา
- พ.ศ. 2483 สมัยนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกพอดี ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคม กำลังเพรี่ยงพล้ำให้กับเยอรมนี ฝรั่งเศสจึงขอทำสัญญาสงบศึกกับไทย และสัญญาจะไม่รุกรานไทย ไทยจึงได้โอกาสต่อรองขอคืนพื้นที่ดินแดนลาวและกัมพูชาที่ยึดไปกลับคืนให้ไทย
- พ.ศ. 2483 ในปีเดียวกัน ฝรั่งเศสปฏิเสธข้อเสนอ จึงได้เริ่มรุกรานไทยด้วยการยิงปืนข้ามแม่น้ำโขง ส่งเครื่องบินล่วงล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย เครื่องบินฝรั่งเศสได้เข้ามาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม ไทยจึงตอบโต้และเคลื่อนกำลังเข้ายึดดินแดนในอินโดจีนส่วนที่เป็นของไทยกลับคืนมาหลายแห่ง
- พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นขอเสนอตัวเป็นกลางไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท ผลทำให้ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนบางส่วนในอินโดจีนให้ไทย ได้แก่ หลวงพระบางฝั่งขวา จำปาศักดิ์ ศรีโสภณ และพระตะบอง หลังจากไทยได้ดินแดนบางส่วนมา จึงทำการให้สัญชาติไทยให้กับ ทั้งชาวลาว และกัมพูชาหรือเขมรแดง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ขณะนั้น ในการรบครั้งนี้ฝ่ายไทยสูญเสียทหารและพลเรือน 59 นาย
- พ.ศ. 2484 ในปีเดียวกัน จึงมีมติในการสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อฉลองชัยชนะที่ได้ พื้นที่ 4จังหวัดคืนกลับมา และเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ก่อนที่ต่อมาไทยได้ประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ญี่ปุ่นในสงครามโลก
- หลังจากจบสงครามโลก ทำให้ไทยทำให้ไทยตกเป็นจำเลยสงคราม แต่ด้วยการทำงานของฝ่ายเสรีไทยทำให้ไทยรอดพ้นจากสถานะ การเป็นผู้แพ้สงคราม โดยมีข้อแม้ที่เราต้องเพื่อที่เราจะเข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการรวมตัวของฝ่ายชนะสงครามคือ ไทยต้องคืน 4 จังหวัด ที่ได้กลับมาให้กับฝรั่งเศส และคืนดินแดนให้แก่อังกฤษของพม่า และมาเลเซีย ที่ช่วงสงครามญี่ปุ่นโอนมาให้ไทยดูแลให้ช่วงที่ประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในขณะนั้น
ถึงแม้ตอนจบเราจะต้องคืนให้กับฝรั่งเศส แต่สัญลักษณ์แห่งการเชิดชูให้กับเหล่าคนไทยผู้เสียชีวิต ได้เป็นอนุสรณ์ในเชิงสัญลักษณ์ที่ให้ความหมายถึงการต่อสู้และการเสียสละเพื่อปกป้องดินแดนของทุกฝ่าย ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน
ความน่าสนใจในการออกแบบ โดยมีหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ
มีแรงบันดาลใจ 5 ประการ คือ
- ปฏิบัติการของกองทัพทั้งสี่
- ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ
- อาวุธที่ทหารใช้สู้รบ
- เหตุการณ์สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ
- ความสนใจของประชาชน
โดยอนุสาวรีย์ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร จำนวน 5 เล่ม ประกอบรวมกันจัดตั้งเป็นกลีบแบบรูปมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นผิวประดับด้วยหินอ่อน มีความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ 50 เมตร (เฉพาะส่วนของดาบปลายปืนสูงประมาณ 30 เมตร) ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเป็นฐานเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ภายในห้องโถงใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่และบรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส
ส่วนด้านนอกรอบโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดงวีรชน ขนาดความสูงขนาด 2 เท่าของคนจริง ประกอบด้วย 5 เหล่า ได้แก่ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน
ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, แช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
- รูปปั้นทหารบก - ที่แสดงท่าถือปืนพร้อมรบชี้ดาบปลายปืนขึ้นฟ้านั้น เป็นผลงานของ นายแช่ม แดงชมพู โดยอาศัย นายพิมาน มูลประมุข เป็นแบบ
- รูปปั้นทหารเรือ - ที่แต่งเครื่องแบบกลาสี มือซ้ายประคองลูกปืนใหญ่ มือขวาเตรียมบรรจุลูกปืนลงในรังเพลิงท้ายลูกปืน เป็นผลงานของ นายสิทธิเดช แสงหิรัญ โดยมี เรือเอก สิงห์ นาคมี ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์ยุทธนาวี เกาะช้าง ตำแหน่งพลบรรจุลูกปืนป้อมปืนหัว ประจำ ร.ล.รัตนโกสินทร์ เป็นแบบ
- รูปปั้นทหารอากาศ - ที่ยืนนิ่ง มือจับลูกระเบิด สีหน้าสงบเยือกเย็น เป็นผลงานของ นายสิทธิเดช แสงหิรัญ โดยนายแสวง สงฆ์มั่งมี เป็นแบบ
- รูปปั้นตำรวจ - ที่ยืนถือปืน ในลักษณะพร้อมใช้ สายตามองไปข้างหน้า เป็นผลงานของ นายพิมาน มูลประมุข
- รูปปั้นพลเรือน - ที่ยืนมือซ้ายถือหนังสือ สายตาสงบนิ่ง เป็นผลงานของ นายอนุจิตร แสงเดือน
ปัจจุบันปรากฏรายชื่อผู้เสียชีวิตที่จารึกไว้รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิด้านนอก นับตั้งแต่ พ.ศ. 2483 - 2497 จำนวน 807 ชื่อ และที่ปรากฏด้านในอนุสาวรีย์ มีรายชื่อผู้เสียชีวิตทุกสมรภูมิทั้งที่มีอัฐิและไม่มีอัฐิ จำนวน 7,297 ราย – นับโดยองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2558
จนเป็นอนุสาวรีย์ชัยในปัจจุบันให้คนไทยได้เห็น โดยมีการอนุรักษ์และซ่อมแซม หลายต่อหลายครั้ง ทั้งบูรณะผิวเดิม ขูดลอกล้างสีเดิม และทาสีใหม่ เพื่ออนุรักษ์การเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญต่อไป
อนุสาวรีย์ชัยฯ แหล่งอาศัยของผู้คนในปัจจุบัน ที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินรถของกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันย่านอนุสาวรีย์ชัยฯ แม้จะไม่ใช่พื้นการเติบโตอย่าง CBD ที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน แต่เป็นพื้นที่แห่งการสัญจร ที่มีผู้คนมากมายเดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้ แต่เป็นหนึ่งในทำเลจุดเปลี่ยนการเดินทางสำคัญให้กับผู้คน ทำให้การเดินทางสัญจรไปยังพื้นที่ต่างๆได้อย่างสะดวก ถึงแม้แต่ละวันมีผู้คนมากมายเดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้ แต่อนุสาวรีย์ไม่ใช่พื้นที่ ที่มีการพักอาศัยในรูปแบบคอนมากพอถ้าเทียบกับพื้นที่อื่นๆในกรุงเทพ แต่มีคอนโดบางแห่งที่สร้างมาในระดับ High Rise ส่วนคอนโด Low Rise ยังคงมีไม่มากเนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ส่วนใหญ่ใช้ในเชิงพาณิชย์มากกว่า แต่มีการพักอาศัยรูปแบบอพาร์ทเม้นท์ ที่รองรับผู้อยู่อาศัยบางส่วน ตามไลฟสไตร์ผู้คนที่มายังพื้นที่แห่งนี้ ที่มีความเร่งรีบของผู้คนจำนวนมาก รวมถึงแหล่งค้าขาย ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ ก็ตอบสนองความเร่งรีบนั้นในการค้าขาย ประเภทสินค้าที่จะขายดีจึงจะเป็นสินค้าที่ซื้อขายง่ายๆ หยิบจับซื้อได้เลยในราคาที่จับต้องได้ไม่ต้องคิดมากในช่วงเวลาเร่งรีบ
แม้พื้นที่แห่งนี้จึงยังไม่เกิดทำเล Luxury แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุด คือการรองรับการเดินทางที่สะดวกสุด แต่หากท่านต้องการหาที่พักเพื่ออาศัย ถึงแม้มีคอนโดในพื้นที่เป็นตัวเลือกไม่มากสำหรับท่านมาก หากอยากได้ตัวเลือกคอนโดที่เยอะขึ้น พื้นที่รอบข้างใกล้เคียงจากอนุสาวรีย์ชัยฯ ก็เป็นพื้นที่ทำเลตัวเลือกที่ดีไม่น้อยไม่น้อย
สิ่งอำนวยความสะดวกโลเคชั่นสำคัญต่างๆ อนุสาวรีย์ชัยฯ
การพัฒนาเมืองให้พื้นเติบโตคู่กับผู้คนที่เข้าใช้ประโยชน์ในทำเลแห่งนี้ มีความน่าสนใจอยู่ที่พื้นที่แห่งนี้พัฒนาเป็นทำเลการค้าขาย ร้านอาหารชื่อดังมากมาย แต่มีพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆที่เป็นทำเลการแพทย์ โรงเรียน ทำให้พื้นที่อนุสาวรีย์ชัยฯแห่งนี้สะดวกต่อการเข้าถึง โลเคชั่นสำคัญๆต่างที่ครอบคลุมการใช้ชีวิตในทุกมิติของผู้คนตลอดวัน และเป็นทำเลที่คึกคักตั้งแต่เช้าจรดค่ำรองรับผู้คนมากมายที่เดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้
- ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า : Victory Mall , เซ็นเตอร์วัน , วิคตอรี่ ฮับ , Circular Shopping mall , คิงส์ พาวเวอร์ รางน้ำ , เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า เป็นต้น
- ร้านอาหาร : Eat I Am You Are , ลูกชิ้นดิสโก้ , ก๋วยเตี๋ยวเรือป๋ายักษ์ อนุสาวรีย์ชัยฯ , ปาเต๊ะ , ก๋วยเตี๋ยวเรือพระนคร สาขาเซ็นจูรี่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ , ก๋วยจั๊บน้ำข้นอนุสาวรีย์ , อนงค์ ก๋วยเตี๋ยวเรือ เป็นต้น
- สถานศึกษา : โรงเรียนพญาไท , โรงเรียนกิ่งเพชร, โรงเรียนสันติราษฎ์วิทยาลัย , โรงเรียนมักกะสันพิทยา , โรงเรียนเซนต์ดอมินิค เป็นต้น
- สถานพยาบาล : โรงพยาบาลราชวิถี , โรงพยาบาลโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน , โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า , โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า , โรงพยาบาลสงฆ์ , โรงพยาบาลรามาธิบดี , โรงพยาบาลพญาไท 1 เป็นต้น
- สวนสาธารณะ : สวนสันติภาพ เป็นต้น
- อาคารสำนักงานสำคัญ : อาคารเลิศปัญญา , สำนักงาน ป.ป.ส. , สถานีตำรวจนครบาลพญาไท , สถานีตำรวจนครบาลดุสิต , สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง , สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน , สถานีตำรวจนครบาลดินแดง , ธนาคารทหารไทย สาขาพญาไท , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเซ็นจูรี่ พลาซ่า , ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ , ธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ , ธนาคารกรุงไทย สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ , ธนาคารกสิกรไทย สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นต้น
- สถานที่สำคัญอื่นๆ : อู่ซ่อมรถสวัสดิการ , Kerry Express Parcel Service Point สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ , Kerry Express สาขาเซ็นเตอร์วัน เป็นต้น
- ศูนย์การค้าของอุปโภคบริโภค : ตลาดนัดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ , ตลาดนัด เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า , V STREET MARKET เป็นต้น
การเดินทางมายัง “อนุสาวรีย์ชัยฯ”
เป็นที่ทราบกันดีว่า สิ่งที่เป็นแลนด์มากค์สำคัญให้กับอนุสาวรีย์ชัยฯ คือแหล่งที่เป็นจุดเปลี่ยนการเดินทางสำคัญ ทำให้การเดินทั้งขาเข้าและขาออก เดินทางได้สะดวก ที่รองรับผู้คนนับหลายหมื่นคนต่อวัน อีกทั้งยังเป็นแหล่งขนส่งสาธารณะมากมายที่ครอบคลุมการเดินทางทั้งในกรุงเทพ รวมถึงการเดินทางออกต่างจังหวัด โดยเป็นพื้นที่การสัญจรทางท้องถนนสำคัญ ที่เปรียบเสมือนไข่แดงเป็นจุดผ่านไปยังเส้นทางต่างๆทั่วถึงรอบกรุงเทพ แม้จะเป็นการเดินทางที่สะดวกแต่เมื่อเป็นเวลาเร่งรีบจะทำให้มีบางช่วงที่รถติดหากท่านสัญจรมาด้วยรถยนต์เตรียมเผื่อเวลามาให้ดีจะสะดวกมากกว่า
- ทางรถยนต์ : เป็นเส้นทางที่สำคัญที่สุดในการเดินทาง เพราะการเป็นถนนที่รองรับการสัญจรที่เยอะ ด้วยการเป็นการสัญจรเส้นทางหลักทำให้การเดินทางสามารถไปยังจุดหมายครอบคลุมรอบกรุงเทพ และออกต่างจังหวัดในโซนภาคเหนือ ภาคอีสาน การเดินทางด้วยเส้นทางถนนมีบางช่วงที่รถติด จำเป็นต้องเผื่อเวลาซักนิด โดยทางเดินถนนเส้นต่างๆมีดังนี้
- ถนนพหลโยธิน เป็นถนนสายหลัก เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังสถานีขนส่งหมอชิต รวมถึงเป็นเส้นทางในการเดินออกต่างจังหวัดทั้งภาคเหนือและภาคอีสานได้ด้วย
- ถนนพญาไท เป็นถนนซึ่งเชื่อมต่อกับกรุงเทพชั้นในสามารถเดินทางได้เข้าไปในเขตกรุงเทพชั้นเมืองได้ด้วย
- ถนนดินแดง-วิภาวรังสิต เป็นถนนสามารถเชื่อมต่อไปยังสนามบินดอนเมืองรวมถึงมีทางยกระดับอุตราภิมุขเป็นทางด่วนพิเศษอยู่บนถนนวิภาวดีสำหรับผู้ต้องการความรวดเร็วในการเดินทาง
- ถนนราชวิถี เป็นถนนที่นำไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวรวมถึงสถานบันการแพทย์ต่างๆจำนวนมาก
- ทางพิเศษ : เป็นทางเดินรถที่อำนวยความสะดวกในการเดินทางเพื่อแบ่งเบาการเดินด้วยท้องถนน มีทางพิเศษศรีรัช เป็นทางพิเศษ และเพิ่มประสิทธิภาพให้ย่านนี้กลายเป็นแหล่งเชื่อมต่อด้านคมนาคมที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
- รถเมล์ : มีรถเมล์หลายเส้นทางที่วิ่งในพื้นที่แห่งนี้ คอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้คนมากมาย มีรถเมล์หลายสายวิ่งผ่านถนนหลักทั้ง 4 เส้นทางถนนดังนี้
- พหลโยธิน ได้แก่สาย 12, 24, 36, 36ก, 58, 69, 92, 168, 171, 172, 187, 528, 529, 538, R26E
- พญาไท ได้แก่สาย 14, 17, 29, 34, 36, 38, 39, 54, 59, 62, 74, 77, 139, 140, 172, 177, 183, 187, 204, 503, 529, 536, 539, 542
- ดินแดง ได้แก่สาย 26, 27, 29, 34, 38, 39, 54, 63, 74, 77, 97, 108, 157, 166, 177, 204, 502, 503, 509, 510, 522, A2
- ราชวิถี ได้แก่สาย 12, 14, 18, 28, 92, 97, 108, 157, 171, 509, 515, 536, 538, 539, 542, R26E
- รถจักรยานยนต์รับจ้าง : เป็นพื้นที่การเดินทางที่สะดวกที่สุดในช่วงเร่งรีบ และเป็นที่นิยมที่สุด เนื่องจากสะดวกและรวดเร็ว โดยรถจักรยานต์รับจ้างมักจะจอดอยู่ไม่ห่างจากรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยฯ มากนัก
- รถไฟฟ้า : เป็นการเดินทางที่สร้างความเจริญให้กับทำเลแห่งนี้โดยมี รถไฟฟ้าสายสีเขียว BTS เป็นอีกตัวเลือกการเดินทางที่สะดวกไม่ต้องฝ่ารถติด โดยเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟได้ โดยเปลี่ยนขบวนรถได้ที่สถานีพญาไท โดยปัจจุบันรถไฟฟ้า BTS ยังสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (ปัจจุบันเปิดถึงสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ทำให้อนาคตจะกลายเป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งยาวต่อเนื่องเชื่อมต่อได้ตั้งแต่ สถานีเคหะสมุทรปราการ จนถึงสถานีคูคตได้เลย โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวน
รถตู้ : แต่เดิมย่านอนุสาวรีย์ชัยฯ ถือเป็นแหล่งรวมของจุดจอดรถตู้ในกรุงเทพฯ แต่หลังจากมีการจัดระเบียบจุดจอดรถตู้ใหม่ทำให้ปัจจุบันมี ย่านอนุสาวรีย์ชัยฯ มีเพียงรถตู้ที่ให้บริการเป็นเส้นทางสั้น ๆ เท่านั้น ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล โดยจะจอดที่เกาะพหลโยธิน (ป้ายรถเมล์ไปสะพานควาย) เกาะดินแดง (หน้าห้างแฟชั่นมอลล์) เกาะพญาไท (ป้ายรถเมล์ไปพญาไท) ส่วนจุดจอดรถหน้าโรงพยาบาลราชวิถีปัจจุบันไม่มีให้บริการ
ภาพรวมความเจริญสู่ทำเลทองการพัฒนา ในอนาคต
อนุสาวรีย์ชัยฯ เป็นทำเลที่คงเสน่ห์แห่งเมืองที่ไม่หลับใหล จากการใช้ชีวิตในเมืองรองรับการเดินทางตลอดวัน โดยช่วงกลางวันเป็นแหล่งค้าขายเชิงพาณิชย์มากมาย กลางคืนก็เป็นแหล่งเมืองที่ใกล้กับสถานบันเทิงยามค่ำคืน อีกทั้งพื้นที่แห่งนี้ยังคงมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำคัญในการใช้ชีวิตอย่างครบวงจรในทุกมิติการใช้ชีวิต เช่นโรงพยาบาลในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงรวมกัน 10กว่าแห่ง ห้างร้านต่างที่รองรับการบริโภคจากผุ้คนที่แวะเวียนมายังพื้นที่แห่งนี้ โดยการการอยู่อาศัย จากพื้นที่ ที่ส่วนใหญ่ครอบครองโดยหน่วยงานราชการจึงทำให้การอาศัยในรูปแบบคอนโดมีไม่มาก แต่ก็มีบางส่วนพอรองรับผู้อาศัย High Rise ส่วน Low Rise ก็พบบ้างเล็กน้อย หากเป็นโครงการใหม่ ๆ ซึ่งพบการเปิดตัวน้อยมาก แต่โดยรอบทำเลก็เป็น แหล่งที่น่าสนใจในการอาศัย และใช้ชีวิตที่ตอบสนองฟังชั่นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ในอนาคตทำเลอนุสาวรีย์ชัยฯ ยังคงเป็นพื้นที่แห่งการเติบโตตามความต้องอาศัยของคนในพื้นที่อย่างแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับนักลงทุนใหญ่ๆว่าจะสามารถหาพื้นที่ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อรองรับการเติบโตได้ในพื้นที่ไหนและคุ้มค่าสะดวกต่อการลงทุนหรือเปล่า อนุสาวรีย์ชัยฯ จึงเป็นพื้นที่น่าติดตามว่าอนาคตจะเกิดการพัฒนาด้านต่านในรูปไหนบ้าง
อนุสาวรีย์ชัยฯ ทำเลคุ้มค่าน่าลงทุน ราคาพุ่งต่อเนื่อง
ราคาซื้อขายและเช่าคอนโด ในพื้นที่แห่งนี้พบว่ามีจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยไม่มากนัก เนื่องด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกจังจองเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์เกือบหมดแล้ว จึงมีเพียงคอนโดมิเนียมไม่กี่แห่ง โดยราคาเฉลี่ย
- ราคาขายเริ่มต้นที่ 230,000-250,000 บาทต่อตารางเมตร
- ราคาเช่าเริ่มต้นที่ 17,000-18,000 บาทต่อเดือน สำหรับห้องไม่เกิน 35 ตารางเมตร
ราคาประเมินที่ดินในย่านอนุสาวรีย์ชัยฯ ในช่วงปีต่างๆ และการคาดการณ์ในอนาคต
- ในช่วงปี 2559 – 2562 เฉลี่ยราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 300,000-400,000 ต่อตารางวา
- ในช่วงปี 2563 – 2566 เฉลี่ยราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ 400,000 ต่อตารางวา
ราคาเฉลี่ยจะเติบโตขึ้นตามทำเลสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีความทันสมัยเพิ่มมากขึ้นและจำนวนความต้องการของผู้ที่ต้องการอาศัยเข้ามาและใช้ชีวิตในพื้นที่ และพื้นที่อนุสาวรีย์ชัยฯ แห่งนี้ก็ตอบสนองความต้องการของผู้คนได้เป็นอย่างดี
สรุปส่งท้าย
อนุสาวรีย์ชัยฯ เป็นทำเลที่มีจุดเด่นด้านการเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินรถ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำคัญที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในทุกมิติ เป็นแหล่งค้าขาย มีโรงพยาบาล โรงเรียนชื่อดัง และร้านอาหารอร่อยๆมากมาย และมีพื้นที่ล้อมรอบเต็มไปด้วยทำเลสำคัญแห่งการเติบโต อนุสาวรีย์ชัยฯ จึงเป็นพื้นที่ไข่แดงที่เป็นพื้นที่อยู่จุดตรงกลาง สำหรับการเดินทาง ที่เกิดความสะดวก
หากท่านเป็นหนึ่งคนที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพทย์น่าลงทุนในพื้นที่ย่านแห่งนี้ สามารถเข้ามาเยี่ยมชมโครงการต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ https://propertyscout.co.th ได้ทันที เพราะเราได้รวบรวมแหล่งรวม อสังหาฯ ที่ดีที่สุดในประเทศไทยให้สำหรับท่านแล้ว