คู่มือซื้อ อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

Author
by
At
September 12, 2024
คู่มือซื้อ อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย คู่มือซื้อ อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

หากคุณเป็นชาวต่างชาติที่มาเที่ยว มาพักผ่อน หรือคนไทยที่เห็นถึงศักยภาพในการลงทุนหรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย คู่มือชุดนี้จะช่วยให้การลงทุนของคุณเป็นเรื่องง่ายขึ้นด้วยเนื้อหาที่ทำการค้นคว้า และรวบรวมเอาไว้ภายในบทความเดียวทำให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสะดวกง่ายดาย ซึ่งในบทความนี้เราจะเริ่มต้นตั้งแต่รายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ที่หลายคนมีคำถามว่าสรุปชาวต่างชาติซื้อคอนโดในประเทศไทยได้หรือไม่ ข้อดี/ข้อเสีย ทำเลน่าลงทุนในประเทศไทย รวมไปจนถึงขั้นตอนการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ภาษีและค่าใช้จ่ายที่ต้องเจอเมื่อตัดสินใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

1.ชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้หรือไม่?

คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คำตอบคือ “ชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้” แต่มีเงื่อนไขและข้อจำกัดบางประการอยู่ ซึ่งชาวต่างชาติสามารถซื้อและถือครองเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมได้ แต่ไม่สามารถซื้อหรือครอบครองที่ดินได้ เช่น วิลล่า หรือ ทาวเฮาส์ และในหัวข้อนี้เราจะมาเจาะลึกในรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์แต่ละรูปแบบกัน

คอนโดมิเนียม และ อพาร์ตเมนต์

ชาวต่างชาติสามารถซื้อและถือครองเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมได้อย่างสมบูรณ์ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าชาวต่างชาติที่จะซื้อคอนโดจะต้องเป็นสัดส่วนที่ไม่เกินจำนวน 49% ของยูนิตทั้งหมดในอาคาร ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ พ.ศ. 2542 ดังนั้น หากอาคารใดมีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของถึง 49% ของอาคารแล้วก็ถือว่าไม่สามารถทำการซื้อหรือครอบครองเป็นเจ้าของได้นั้นเอง

ซื้ออสังหาริมทรัพย์
LIFE Rama4 - Asoke: https://propertyscout.co.th/en/bangkok/condo/life-rama-4-asoke/

ที่ดิน

ในการครอบครองที่ดินปัจจุบันชาวต่างชาติยังไม่สามารถทำการซื้อบ้านหรือครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินได้แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้มีการร่างกฏหมายใหม่ที่ระบุว่าชาวต่างชาติควรได้รับอนุญาตให้ถือครองที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้ โดยกำหนดขอบเขตสูงสุดไว้ที่ 1 ไร่ (ประมาณ 0.16 เฮกตาร์) โดยร่างกฎหมายดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนพิจารณา แต่ยังมีอีก 2 ทางเลือกสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเป็นเจ้าของที่ดิน

  • การเช่าระยะยาว: การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อการค้าเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม ซึ่งผู้เช่าและผู้ให้เช่าสามารถกำหนดระยะเวลาไว้มากกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี หรืออาจตกลงกันต่อระยะเวลาการเช่าออกไปอีกได้แต่มีกำหนดไม่เกิน 50 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา
  • การลงทุนผ่านบริษัท: การจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยและให้บริษัทเป็นเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทได้ แต่มีเงื่อนไขว่าคนไทยจำเป็นต้องถือหุ้นของบริษัทมากกว่า 51% ถึงจะทำให้ที่ดินถูกจดทะเบียนในนามของบริษัทไม่ใช่ในนามของชาวต่างชาติ

แม้ว่าชาวต่างชาติจะแต่งงานกับพลเมืองไทยแล้วก็ตามก็ยังไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกันได้ พวกเขาจะต้องพิจารณาทางเลือกที่กล่าวถึงข้างต้นเพื่อเป็นเจ้าของหรือควบคุมที่ดินในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

2.ข้อดีและสิ่งที่ควรพิจารณาสำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

การซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเป็นการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับหลายๆ คน ทั้งเพื่ออยู่อาศัยเองหรือเพื่อการลงทุน แต่ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียต่างๆ ดังนี้

ข้อดี

  • คุณภาพชีวิตที่ดี: ประเทศไทยมีชื่อเสียงในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดี อากาศดี อาหารอร่อย วัฒนธรรมที่น่าสนใจ และค่าครองชีพที่ยังไม่สูงมาก การมีอสังหาริมทรัพย์ในไทยทำให้คุณได้สัมผัสกับวิถีชีวิตแบบไทยอย่างเต็มที่
  • ศักยภาพในการเติบโตของราคา: ราคาอสังหาริมทรัพย์ในไทยโดยเฉพาะในทำเลที่มีศักยภาพ มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นในระยะยาว ทำให้เป็นการลงทุนที่น่าสนใจ
  • รายได้จากการปล่อยเช่า: หากไม่ได้อยู่อาศัยเอง คุณสามารถปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ของคุณเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่มั่นคง
  • วีซ่า: การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในไทยอาจมีสิทธิ์ได้รับวีซ่าประเภทต่างๆ เช่น วีซ่า Elite ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถพำนักอยู่ในไทยได้นานขึ้น
  • การท่องเที่ยว: อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาเยือนไทย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนอุปสงค์ในการเช่าที่พัก

สิ่งที่ควรพิจารณา

  • ทำเลที่ตั้ง: ทำเลที่ตั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคาและมูลค่าการลงทุน ควรเลือกทำเลที่คาดว่าจะมีการพัฒนาในอนาคต
  • ประเภทของอสังหาริมทรัพย์: เลือกประเภทของอสังหาริมทรัพย์ให้เหมาะสมกับความต้องการ งบประมาณ ซึ่งปัจจุบันชาวต่างชาติสามารถซื้อคอนโดได้ แต่ยังไม่สามารถซื้อบ้านหรือครอบครองที่ดินได้
  • ผู้ขาย: เลือกซื้อจากผู้ขายที่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้พัฒนาโครงการรายใหญ่ หรือตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ที่มีใบอนุญาต
  • กฎหมายและข้อบังคับ: ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในไทยให้ละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อหรือลงทุน
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ: ก่อนตัดสินใจลงทุนควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์หรือทนายความ เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือ โดยเฉพาะหากคุณเป็นชาวต่างชาติที่ต้องการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งทาง Property Scout เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ท่ีสามารถสื่อสารมากกว่า 11 ภาษาคอยให้ความช่วยเหลือ

หลังจากที่เราได้ทราบว่าข้อดีและข้อควรพิจารณาก่อนลงทุนซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วต่อมาสิ่งที่เราต้องศึกษารายละเอียดและตัดสินใจคือเราจะเลือกลงทุนแบบไหนระหว่าง Freehold และ Leasehold ซึ่งในหัวข้อถัดไปเราจะอธิบายถึงการลงทุนทั้งสองแบบรวมไปถึงสิทธิต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของคุณมากขึ้น

The Coral Pattaya: https://propertyscout.co.th/en/chon-buri/condo/coral-pattaya

3.ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Freehold และ Leasehold

“Freehold” และ “Leasehold” เป็นคำศัพท์ที่มักจะพบเห็นในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ทั้งสองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และส่งผลต่อสิทธิในการถือครอง และการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ดังนี้

Freehold (ฟรีโฮลด์) หมายถึงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อย่างสมบูรณ์ คุณสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นๆ อย่างแท้จริง สามารถทำอะไรกับทรัพย์สินได้ตามต้องการ เช่น ซื้อ ขาย ปล่อยเช่า หรือดัดแปลง

สิทธิ:

  • สิทธิในการครอบครอง: คุณมีสิทธิในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ตลอดไป
  • สิทธิในการใช้ประโยชน์: คุณมีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างเต็มที่
  • สิทธิในการโอนกรรมสิทธิ์: คุณสามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นได้

Leasehold (ลีสโฮลด์) หมายถึงสิทธิในการเช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะเวลาหนึ่งตามที่ตกลงกัน

สิทธิ:

  • สิทธิในการครอบครอง: คุณมีสิทธิในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่า
  • สิทธิในการใช้ประโยชน์: คุณมีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ตามเงื่อนไขในสัญญาเช่า
  • สิทธิในการโอนกรรมสิทธิ์: ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ แต่สามารถโอนสัญญาเช่าให้ผู้อื่นได้
ข้อแตกต่างFreeholdLeasehold
กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์เป็นเพียงผู้เช่า
ระยะเวลาไม่มีกำหนดมีกำหนดระยะเวลา
สิทธิ์ในการโอนสามารถโอนได้โอนสัญญาเช่าได้
ราคาสูงต่ำ
ภาษีสูงต่ำ
ความยืดหยุ่นสูงต่ำ

ข้อดี/ข้อเสีย ของ Freehold และ Leasehold

FreeholdLeasehold
ข้อดี1. โอกาสในการเพิ่มมูลค่าและผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาว
- บ้านมักมีแนวโน้มเพิ่มมูลค่าตามเวลา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาและเติบโต
- นับเป็นการลงทุนระยะยาวที่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้

2. สร้างความมั่นคงทางการเงินผ่านการผ่อนชำระเงินกู้
- การผ่อนชำระเงินกู้บ้านเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงิน
- คุณจะสามารถสร้างสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามเวลา

3. ความรู้สึกปลอดภัยและยั่งยืน
- การมีบ้านเป็นของตัวเองให้ความรู้สึกปลอดภัยและยั่งยืน
- คุณสามารถปรับแต่งและตกแต่งบ้านตามความต้องการและไลฟ์สไตล์ของคุณ

4. โอกาสในการรับรายได้จากการปล่อยเช่า
- หากคุณไม่ต้องการอาศัยอยู่ในบ้านเอง คุณสามารถปล่อยเช่าเพื่อรับรายได้ประจำเดือน
- นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้เสริม
1. ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นต่ำกว่า
- โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการเช่าบ้านจะต่ำกว่าการซื้อบ้าน
- มักประกอบด้วยเงินประกันและค่าเช่าเดือนแรก

2. ความยืดหยุ่นในการย้ายที่อยู่อาศัย
- หากแผนการของคุณเปลี่ยนแปลง คุณสามารถย้ายออกจากบ้านเช่าได้สะดวกกว่าบ้านที่ซื้อมา

3. เจ้าของบ้านรับผิดชอบค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
- คุณไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาบ้าน

4. ต้นทุนโดยรวมอาจต่ำกว่าเมื่อพิจารณาภาษีและการซ่อมแซม
- ในบางกรณี การเช่าบ้านอาจมีต้นทุนโดยรวมต่ำกว่าการซื้อบ้าน
- โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงภาษีอสังหาริมทรัพย์และค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
ข้อควรพิจารณา1. ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นสูงกว่า
- การซื้อบ้านมักมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่สูงกว่าการเช่าบ้าน เช่น เงินดาวน์และค่าปิดการขาย

2. การผูกมัดระยะยาวกับสถานที่เฉพาะ
- การซื้อบ้านเป็นการผูกมัดระยะยาวกับสถานที่เฉพาะ
- หากคุณต้องการย้ายไปอยู่ที่อื่น อาจเกิดความยุ่งยากในการขายบ้าน

3. การขายบ้านอาจใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- การขายบ้านอาจใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าโฆษณา ค่านายหน้า และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ

4. ความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาและซ่อมแซม
- คุณต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมบ้านเอง

5. มูลค่าทรัพย์สินสามารถเปลี่ยนแปลงตามตลาด
- มูลค่าของบ้านสามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามภาวะตลาด
- หากคุณต้องการขายบ้านในช่วงที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ อาจขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าที่คาดหวัง
1. ไม่มีโอกาสสร้างความมั่นคงทางการเงิน
- ค่าเช่าที่จ่ายไปจะช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับเจ้าของบ้าน
- คุณเองไม่มีโอกาสสร้างความมั่นคงทางการเงินจากการเช่าบ้าน

2. ค่าเช่าอาจเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด
- เจ้าของบ้านสามารถปรับขึ้นค่าเช่าได้ตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดอสังหาริมทรัพย์นี่อาจทำให้ค่าใช้จ่ายในการเช่าบ้านเพิ่มขึ้นในอนาคต

3. ข้อจำกัดในการปรับปรุงและดัดแปลง
- คุณมีข้อจำกัดในการปรับปรุงหรือดัดแปลงบ้านเช่าการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้าน

4.ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ย่านไหนดี?

ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 70 ล้านคนและยังเป็นประเทศแห่งการท่องเที่ยวทำให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเข้ามายังประเทศมากกว่าปีละ 21 ล้านคน (ข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ 16 Aug 2024) ทำให้เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจในการลงทุนด้านต่างๆ ไม่ว่าจะด้านการท่องเที่ยว การผลิต รวมไปถึงด้านอสังหาริมทรัพย์ ทำให้มีปริมาณการเกิดขึ้นคอนโดมิเนียม รีสอร์ท ที่พักต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำให้ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ที่ 15% ในอีก 5 ปีข้างหน้า ส่งผลให้ GDP มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 3% ( การประมาณการของ IMF) ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาเจาะลึกไปยังแต่ละพื้นที่กันว่ามีอะไรที่น่าสนใจ

ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ มีพื้นที่ขนาดใหญ่และความเจริญที่เข้าถึงเป็นอย่างมากทำให้แต่ละพื้นที่ส่วนมีความแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ อัตราการครอบครอง ราคา ไลฟ์สไตล์ และการเข้าถึงของรถสาธารณะอย่างรถไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็น BTS และ MRT ซึ่งเราจะนำมาเป็นเกณฑ์เบื้องต้นในการเลือกทำเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์กัน เช่น การอาศัยอยู่ใกล้เส้นรถไฟฟ้าอย่าง BTS และ MRT หรือย่านชานเมืองบางนา ก็มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่ว่าจะเป็นราคาที่อยู่ใกล้สถานี BTS จะมีราคาสูงกว่าสองถึงสามเท่าของคอนโดมิเนียมที่คล้ายกันซึ่งห่างออกมาจากสถานี BTS เพียง 500 เมตร ซึ่งทาง PropertyScout เราได้ทำสรุปสั้นๆ ถึงความแตกต่างของแต่ละย่านในกรุงเทพฯ มาฝากกัน

  • ลุมพินี: จัดอยู่ในอันดับย่านที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ มีคอนโดมิเนียมใหม่บนถนนวิทยุที่มีราคาเฉลี่ยอาจอยู่ที่ประมาณ 800,000 - 1,500,000 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ย่านลุมพินีมีราคาสูงเนื่องจากมีความสะดวกสบายเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นความสงบร่มรื่นใกล้พื้นที่สีเขียวที่ใหญ่ที่สุดในใจกลางกรุงเทพฯ อย่างสวนลุมพินี ใกล้ย่านธุรกิจสีลมและสาทร ศูนย์การค้าสยาม สถานทูตมากมาย และภัตตาคารระดับมิชลิน
  • สีลมและสาทร: เป็นที่ตั้งของธนาคารชั้นนำและสถาบันการเงินอื่นๆ ของประเทศไทย และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "วอลล์สตรีทแห่งกรุงเทพฯ" ได้รับความนิยมในหมู่คนไทยที่ร่ำรวยและชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทย จึงทำให้ราคาคอนโดมิเนียมในสีลมค่อนข้างสูงโดยประมาณเริ่มต้นที่ 200,000 บาทต่อตารางเมตร
  • สุขุมวิท: ได้รับความนิยมสำหรับชาวต่างชาติมากที่สุดในกรุงเทพฯ ด้วยร้านอาหารจำนวนมากและความผสมผสานของหลากหลายเชื้อชาติ ทำให้สุขุมวิทมีชื่อเสียงเรื่องความหรูหรารวมไปถึงตลาดของอสังหาริมทรัพย์อย่างย่านทองหล่อ อโศก และเอกมัย
  • ริมแม่น้ำ: เป็นอีกหนึ่งจุดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากที่คุณสามารถเพลิดเพลินกับวิวอันงดงามจากคอนโดหรูที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำและราคาที่ต่ำกว่าในตัวเมืองแต่ยังสามารถเดินทางเข้าถึงย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ (CBD) ได้ง่าย 

ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในพัทยาและภูเก็ต

หากนึกถึงแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยคงพลาดไม่ได้กับภูเก็ตและพัทยาที่เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับชาวต่างชาติ และทำให้สองจังหวัดนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการมองหาอสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัยรวมไปถึงการลงทุนเพื่อปล่อยเช่าต่อ แต่เนื่องจากที่พัทยาและภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวทำให้มีจำนวนผู้คนหลั่งไหลเป็นจำนวนมากในช่วงเทศกาลต่างๆ และน้อยลงตามช่วงฤดูกาลทำให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนลงทุน

ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในหัวหิน

หากเปรียบเทียบระหว่างพัทยากับหัวหินอาจมีรีสอร์ทต่างๆ เกิดขึ้นน้อยกว่าแต่เป็นที่นิยมในการลงทุนของคนไทยที่มองหาความสงบสถานที่พักผ่อน ซึ่งหัวหินสามารถตอบโจทย์เรื่องรูปแบบความยั่งยืนและการเติบโตในประเทศที่สถานที่ชายหาดอื่น ๆ ของไทยไม่มี

5.กระบวนการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเป็นอย่างไร?

1. วางแผนและเตรียมตัว:

  • กำหนดงบประมาณ: เริ่มต้นด้วยการกำหนดวงเงินงบประมาณที่คุณต้องการใช้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือซื้อบ้าน ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากค่าที่พักอาศัย เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และค่าดำเนินการ ที่สำคัญคุณอาจคำนวนคร่าวๆ เกี่ยวกับค่าตกแต่ง ค่าเฟอร์นิเจอร์รวมไปด้วยเพื่อกำหนดงบประมาณได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
  • เลือกทำเลที่ตั้ง: การเลือกทำเลที่ตั้งมีความสำคัญเป็นอย่างมากซึ่งต้องพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น สถานที่ทำงาน การเดินทาง ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และสภาพแวดล้อม จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าควรเลือกทำเลที่ตั้งแถวไหนเช่น ใจกลางเมือง ชานเมือง หรือแหล่งท่องเที่ยว
  • ศึกษาข้อมูลตลาด: หลังจากที่กำหนดงบประมาณและเลือกทำเลที่ตั้งแล้ว สำหรับชาวต่างชาติสิ่งสำคัญรองลงมาคือการศึกษาทำเลข้อมูลตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยสำหรับการลงทุนครั้งนี้ว่าทำเลที่คุณสนใจนั้นมีราคาเฉลี่ย แนวโน้มราคาของอสังหาริมทรัพย์ และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อราคาในอนาคต
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ: ในการดำเนินการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ่อนหลายขั้นตอน รวมไปถึงรายละเอียดต่างๆ ดังนั้นทางเลือกการมองหาที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้คุณเจอบ้านที่ใช่ ในราคาที่เหมาะสม และเวลาที่พอดีได้ ซึ่ง Property Scout เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่สื่อสารได้มากถึง 11 ภาษา พร้อมช่วยเหลือคุณ

2. ค้นหาอสังหาริมทรัพย์:

  • ใช้บริการตัวแทนอสังหาริมทรัพย์: ให้ตัวแทนช่วยค้นหาอสังหาริมทรัพย์ที่ตรงกับความต้องการไม่ว่าจะเป็นด้านทำเล ราคา ขนาดห้อง เพื่อนำมาเปรียบเทียบและพิจารณา
  • ค้นหาข้อมูลออนไลน์: หนึ่งในวิธีที่ทำให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ไวและเห็นภาพเบื้องต้นว่าเป็นอย่างไรคือการค้นหาข้อมูลต่างๆ ผ่านทางช่องทางออนไลน์ก่อนเพื่อคัดกรองเบื้องต้นว่าบ้านแบบไหนที่คุณต้องการ
  • เข้าชมสถานที่จริง: หลังจากที่ทำการค้นหาอสังหาริมทรัพย์ที่ตรงความต้องการแล้วเราก็ทำการเข้าชมสถานที่จริงเพื่อตรวจสอบสภาพของอสังหาริมทรัพย์รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมบริเวณที่พัก

3. ตรวจสอบเอกสาร:

ในขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของทรัพย์สินที่คุณต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนซื้อบ้านในประเทศไทย

  • ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์: ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ของอสังหาริมทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย
  • ตรวจสอบภาระผูกพัน: ตรวจสอบว่าอสังหาริมทรัพย์มีภาระผูกพันใดๆ เช่น จำนอง หรือคดีความ
  • ตรวจสอบการอนุญาต: ตรวจสอบว่าการก่อสร้างอาคารเป็นไปตามกฎหมายและมีใบอนุญาตก่อสร้างหรือไม่

4. การต่อรองราคา:

  • ศึกษาข้อมูลราคาตลาด: ศึกษาข้อมูลราคาในตลาดก่อนว่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลักษณะใกล้เคียงกันในทำเลเดียวกันนั้นมีราคาประเมินอยู่ที่เท่าไหร่เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
  • เจรจาต่อรองกับผู้ขาย: ขั้นตอนที่คุณสามารถเจรจาต่อรองกับผู้ขายเพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ รวมไปถึงเงื่อนไขรายละเอียดเรื่องของเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ซ่อมแซมหรือภาระผูกพันตามสัญญาที่เฉพาะเจาะจง

5. ทำสัญญาจะซื้อจะขาย:

  • อ่านสัญญาอย่างละเอียด: อ่านสัญญาจะซื้อจะขายอย่างละเอียดและทำความเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ ในการทำสัญญาให้ครบถ้วน
  • ปรึกษาทนายความ: ปรึกษาทนายความเพื่อให้ตรวจสอบสัญญาและให้คำแนะนำในการทำธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงด้านกฎหมายและกระบวนการต่างๆ

6. ชำระค่าใช้จ่าย:

  • ชำระเงินมัดจำ: ชำระเงินมัดจำตามที่ระบุไว้ในสัญญา
  • ชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ: ชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ค่าภาษี และค่าบริการต่างๆ
  • ชำระค่าส่วนกลาง (สำหรับคอนโดมิเนียม): ชำระค่าส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด

7. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์:

  • ชำระเงินเต็มจำนวน: เมื่อผู้ซื้อนำเงินมาชำระเต็มจำนวน ผู้ขายจะจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็น อย่างโฉนดที่ดิน รวมไปถึงหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ที่มีลายเซ็นมาดำเนินการมอบโอน
  • เตรียมเอกสาร: เตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
  • ไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดิน: ผู้ซื้อ ผู้ขาย และทนายความ หรือตัวแทนที่ได้รับอนุญาตของแต่ละฝ่ายไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน

6.ภาษีและค่าธรรมเนียมในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย?

การซื้อคอนโดมิเนียมในประเทศไทย คุณอาจต้องทำความรู้จักกับรูปแบบของภาษีและค่าธรรมเนียมหลายอย่าง ซึ่งเราจะมาอธิบายกันในหัวข้อนี้ถึงค่าธรรมเนียมหลักๆ ดังนี้

ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ซื้อ

  • ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ (Transfer Fee) เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเมื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็ตาม ค่าใช้จ่ายนี้จะคำนวณจากมูลค่าที่ระบุในสัญญาซื้อขาย โดยมักจะเป็น 2% ของราคาประเมินทรัพย์สิน โดยปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์จะแบ่งกันจ่ายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายตามที่ตกลงกันในสัญญาซื้อขาย แต่โดยทั่วไปผู้ซื้อจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่
  • อากรแสตมป์ (Stamp Duty Tax) เป็นภาษีที่ต้องชำระสำหรับเอกสารสัญญาซื้อขาย คำนวณจากมูลค่าที่ระบุในสัญญาซื้อขายคิดเป็น 0.5% ของราคาประเมินการขายที่ลงทะเบียนของทรัพย์สิน

ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ขาย

  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax) หากทรัพย์สินถูกขายภายในห้าปีนับจากวันที่เป็นเจ้าของ ผู้ขายจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาประเมินหรือมูลค่าการขายที่ลงทะเบียน อันใดอันหนึ่งที่มีมูลค่าสูงกว่า
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) ภาษีนี้มักจะหักจากรายได้จากการขายและขึ้นอยู่กับว่าผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัท

ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม

  • ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย (Legal Fees) คุณจะต้องจ้างทนายความเพื่อช่วยเหลือในการซื้อขาย ค่าธรรมเนียมทางกฎหมายอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของธุรกรรม
  • ค่าธรรมเนียมตัวแทน (Agent Fees) หากคุณใช้บริการตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ คุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตัวแทน ซึ่งมักจะเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาซื้อขาย
  • ค่าใช้จ่ายประจำเดือน (Ongoing Costs) เมื่อคุณเป็นเจ้าของทรัพย์สิน คุณจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำเดือน เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าภาษีทรัพย์สิน และค่าสาธารณูปโภค

หากคุณกำลังมองหาคอนโดทำเลดีในใจกลางเมืองกรุงเทพฯ หรือคอนโดติดทะเลที่พัทยา PropertyScout ช่วยคุณได้! ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี พร้อมผู้เชี่ยวชาญที่สามารถสื่อสารได้มากถึง 11 ภาษา เราพร้อมคัดสรรคอนโดคุณภาพจากหลากหลายโครงการ พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องสินเชื่อและภาษีอย่างละเอียด ติดต่อเราวันนี้เพื่อขอคำปรึกษา

แหล่งอ้างอิง: สำนักงานกรมที่ดิน