รวมวิธีกู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับคู่รัก LGBTQ+
รวมวิธีง่ายๆ กู้ร่วมซื้อบ้านสำหรับคู่รัก LGBTQ+
ความต้องการอยากมีบ้าน ไม่สามารถถูกจำกัดได้เพียงแค่เพศ คู่รัก LGBTQ+ นั้นถือเป็นกลุ่มที่ควรได้รับความยุติธรรม และ ความเท่าเทียม การได้รับรากฐานชีวิต และ การมีบ้านของตัวเองที่เท่าเทียมกับคนอื่น
อีกทั้งในปัจจุบันสังคมไทยเปิดกว้างเรื่องเพศมากขึ้น มีหลายธนาคารที่เห็นความต้องการชีวิตคู่ของกลุ่ม LGBTQ+ ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้กู้ซื้อบ้านร่วมกัน โดยมีสิทธิเหมือนคู่รักชาย-หญิงทั่วไป ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ดังนั้น PropertyScout เลยอยากพาทุกคนมารู้จักกับวิธีการกู้ซื้อบ้านร่วมกันของคู่รักสีรุ้ง จะมีเงื่อนไขอะไรบ้าง มาอ่านกันเลย!
เช็คเงื่อนไขธนาคาร
เช็คธนาคารอนุมัติสินเชื่อบ้าน กรณีผู้กู้ร่วมเป็น คู่รัก LGBTQ+
แต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป อาจจะมีแตกต่างกันบ้างนิดหน่อยเรื่องของจำนวนเงิน ระยะเวลาในการผ่อนคืน และอื่น ๆ อีกมากมาย
แต่ก็มีคุณสมบัติพื้นฐานของที่เหมือนกันของผู้ยื่นกู้ร่วม ดังนี้
- ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
- ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี
- ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
- หลักฐานว่าคู่ของเราอยู่ร่วมกันจริง เช่น บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน
ส่วนการเตรียมความพร้อมอื่น ๆ นั้นก็สามารถเตรียมได้ ยิ่งสถานะทางการเงินมั่นคง ธนาคารก็จะยิ่งเชื่อมากขึ้น โดยเริ่มเช็กได้ตรงนี้เลย
- หน้าที่การงานมีความมั่นคง สามารถตรวจสอบได้
- กรณีเป็นพนักงานประจำ
- ต้องมีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป และมีเงินเดือนในระดับที่ธนาคารกำหนด
- กรณีที่ผู้กู้ร่วมเป็นเจ้าของกิจการ
- ต้องมีการจดทะเบียนการค้าหรือหนังสือรับรองบริษัท อายุงาน 2 ปีขึ้นไป
ตรวจเอกสารที่ใช้ขอสินเชื่อบ้าน
สำหรับเอกสารที่ใช้ในการขออนุมัติสินเชื่อบ้านของกลุ่ม LGBTQ+ นั้น จะไม่ต่างจากเอกสารกู้บ้านพื้นฐานเลย โดยจะแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
เอกสารส่วนตัว
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
*ถ้ามี
เอกสารด้านการเงิน
- หนังสือรับรองเงินเดือน
- สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
- บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
เอกสารหลักประกัน
- สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิห้องชุด
- สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
- แผนที่แสดงทำเลที่ตั้งของที่ดินหลักประกัน
หลักฐานแสดงความเป็นคู่รัก
หลักฐานและเอกสารที่คู่รักสามารถใช้ยื่นเพื่อทดแทนทะเบียนสมรส คือเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี
- ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน
- บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน
- เอกสารแสดงการกู้ร่วมซื้อรถยนต์ (ถ้ามี)
- เอกสารที่มีการเซ็นรับรองว่าอยู่ร่วมกัน
- รูปภาพยืนยันว่าเป็นคู่รักกันจริงๆ เช่น ภาพแต่งงาน
- เอกสารที่ยืนยันว่าทำธุรกิจร่วมกัน
*เงื่อนไขระยะเวลาขึ้นอยู่กับธนาคารแต่ละแห่ง
เอกสารอื่น ๆ
- สำเนาโฉนดที่ดิน
- เอกสารหรือสำเนาต่าง ๆ แล้วแต่ทางธนาคารจะร้องขอ
เลือกรูปแบบสินเชื่อ
แม้จะมีบางธนาคารที่ออกนโยบายเอื้อต่อการกู้เงินซื้อบ้าน ด้วยข้อจำกัดที่หลายธนาคารทำให้กลุ่มเพศทางเลือกสามารถกู้ร่วมได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดตามเงื่อนไขที่กำหนด เหตุนี้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินบางแห่ง จึงออกมาชี้แนะทางลัดช่วยให้กลุ่มคอมมูนิตี้ LGBTQ+ สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น
โดยสินเชื่อที่ออกมานั้น จะเป็น รูปแบบการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจหรือ SME ซึ่งกลุ่มคู่รักเพศเดียวกันสามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านหรือทาวน์โฮมเป็นสถานประกอบกิจการได้
แต่ว่าบางธนาคารก็เปิดให้คู่รักเพศทางเลือกเลือกซื้อเพิ่มเติมแล้ว สามารถดูได้จากตรงนี้เลย!
เงื่อนไขของแต่ละธนาคารที่ให้คู่รัก LGBTQ+ กู้ร่วมได้
ธนาคาร | เงินเดือน/ภาระหนี้ | อายุ | วงเงินสูงสุดที่อนุมัติ |
SCB | ไม่ระบุเงินเดือน แต่ภาระหนี้ไม่เกิน 70% ของรายได้ | 20 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี | มือ 1: 90-100% มือ 2: 90% ก่อสร้างบ้าน: 90% |
KBank | 15,000 ต่อเดือนขึ้นไป และภาระหนี้ไม่เกิน 70% ของรายได้ | 20 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 70 ปี | มือ 1: 90 มือ 2: 90% ก่อสร้างบ้าน: 100% |
ออมสิน | ไม่ระบุเงินเดือน แต่ ภาระหนี้ไม่เกิน 60% ของรายได้ | 20 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี | มือ 1: 90 มือ 2: 90% ก่อสร้างบ้าน: 100% |
UOB | 20,000 ต่อเดือนขึ้นไป และ ภาระหนี้ไม่เกิน 70% ของรายได้ | 21 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 75 ปี | มือ 1: 100% มือ 2: 100% ก่อสร้างบ้าน: 100% |
ธนชาติ | ไม่ระบุเงินเดือน แต่ ภาระหนี้ไม่เกิน 60% ของรายได้ | 20 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี | มือ 1: 100% มือ 2: 80% ก่อสร้างบ้าน: 100% |
กรุงศรี | 50,000 ต่อเดือนขึ้นไป | 30 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี | โปรดสอบถามกับทางธนาคาร |
Bangkok Bank | 15,000 ต่อเดือนขึ้นไป | 18 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี | มือ 1: 90% มือ 2: 90% ก่อสร้างบ้าน: 90% |
*อัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2566
กรณีคู่รักที่แยกทางกันแต่ยังผ่อนไม่หมด
ในกรณีนี้ฝ่ายที่ต้องการผ่อนต่อต้องเป็นผู้รับผิดชอบเงินผ่อนทั้งหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งธนาคารจะประเมินความสามารถในการผ่อนของผู้กู้ที่เหลือที่ว่ามีศักยภาพพอจะจ่ายไหวหรือไม่ หากจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้งคือ ผู้กู้ที่เหลือผ่านการประเมินความสามารถในการผ่อนคนเดียวจากธนาคาร และผู้กู้ร่วมอีกฝ่ายเซ็นยินยอม ก็สามารถผ่อนต่อไปและได้กรรมสิทธิ์ผู้เดียว
แต่ปัญหาที่พบบ่อย ๆ คือ ผู้กู้ที่เหลือยังไม่มีความสามารถในการผ่อนต่อคนเดียวได้ ถึงจะให้พ่อแม่ช่วยผ่อนต่อในส่วนของแฟนที่เลิกรากันไปได้ แต่กรรมสิทธิ์เมื่อผ่อนเสร็จก็จะเป็นของแฟนครึ่งหนึ่ง ซึ่งวิธีแก้คือการเปลี่ยนชื่อผู้กู้ร่วมให้เป็นญาติ หรือคนในครอบครัวแทน โดยทำการรีไฟแนนซ์ แต่ก็ต้องเป็นผู้กู้ร่วมใหม่ที่ธนาคารพิจารณาแล้วว่ามีความสามารถในการผ่อนแทนคนรักเดิมได้ด้วย แต่หากพิจารณาแล้วไม่ผ่านก็ไม่สามารถถอนชื่อผู้กู้ร่วมได้
การรีไฟแนนซ์จะมีค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้กู้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารด้วย จึงต้องสอบถามและคำนวณค่าใช้จ่ายให้เพียงพอเสียก่อน
สรุปส่งท้าย
แต่ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรเลือกธนาคารไหนหรือ Pre-Approve จะผ่านไหม และยังไม่แน่ใจว่าควรซื้ออสังหาแบบไหน ลองติดต่อทีม PropertyScout ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
PropertyScout แหล่งรวมอสังหา ฯ ที่ดีที่สุดในประเทศไทย
หาทรัพย์ที่ชอบ ในราคาที่ใช่ ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว