สรุปข่าวสารอสังหาริมทรัพย์รายสัปดาห์, สัปดาห์ที่ 31, 2566
Ashton Asoke ประกาศไม่ทุบโครงการ ถึงแม้จะต้องยื่นใบขออนุญาตก่อสร้างอีกครั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ประกาศว่าคอนโดมิเนียม Ashton Asoke จะไม่ถูกดำเนินการทุบ ถึงแม้จะมีการยื่นขออนุญาตก่อสร้างภายใน 30 วัน โดยคณะกรรมการประกอบด้วยรองผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ และ ผู้อำนวยการ กทม. เน้นให้ความสำคัญว่า 'ไม่จำเป็นต้องถอนอาคารและยืนยันให้ผู้เช่าและผู้อาศัยในสถานที่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้เช่นเคย' การแถลงการนี้เกิดขึ้นหลังจากคำสั่งในสัปดาห์ที่แล้วให้ใบอนุญาตก่อสร้างของคอนโดเป็นโมฆะ เนื่องจากทางบริษัท developer ไม่ปฏิบัติตามกฎข้อกำหนดให้มีทางเข้า-ออกกว้าง 12 เมตรเข้าโครงการ
Ashton Asoke ได้ส่งหนังสือชี้แจงการแก้ปัญหาสืบเนื่องจากเหตุการณ์เกี่ยวกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด โดย นายพิสุทธิ์ รักวงษ์ ทนายความ ของ นิติบุคคลอาคารชุด แอชตัน อโศก กล่าวว่า จากการออก Company Statement ของอนันดา 'โดยลูกบ้านได้รับทราบผลกระทบของโครงการมาโดยตลอด' สะท้อนให้เห็นว่า อนันดากำลังยกข้อต่อสู้ในทางคดีในเรื่องของการรอนสิทธิ เพราะเท่ากับว่าลูกบ้านรู้ดีอยู่แล้วแต่กลับสมัครใจรับโอนห้องชุด เท่ากับเป็นการปฏิเสธความรับผิดทั้งหมดตกไปแก่ลูกบ้าน ทำให้ลูกบ้านร่วมกันฟ้องร้อง ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางแพ่งและทางอาญา รวมถึงคดีผู้บริโภคแบบกลุ่มกับทางอนันดา รวมถึง มิตซุย ฟูโดซัง เป็นบริษัทร่วมทุน ในโครงการนี้ โดยค่าเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท เท่ามูลค่าโครงการไม่รวมดอกเบี้ย ซึ่งตัวแทนนิติบุคคลและลูกบ้านโครงการ Ashton Asoke ยังได้ขอเรียกร้องให้ทางอนันดา แสดงความจริงใจในการเข้ามาร่วมประชุมกับตัวแทนของนิติบุคคลภายในกำหนด 7 วัน มิเช่นนั้นก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
คลิกเพื่ออ่านข่าวเพิ่มเติม:
https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2623213/ashton-asoke-wont-be-demolished-bma
https://www.bangkokbiznews.com/property/1081861
อันดับ 5 ของพื้นที่ที่มีราคาที่ดินแพงสุด!
จากรายงานสำรวจราคาที่ดินล่าสุดจาก Agency For Real Estate Affairs ระบุว่าพื้นที่บริเวณแยกอโศกได้ขึ้นสู่อันดับ 5 ของพื้นที่ที่มีราคาที่ดินแพงที่สุด โดยมีราคาที่ดินอยู่ที่ 2.9 ล้านบาทต่อตารางวา (ประมาณ 1,160 ล้านบาทต่อไร่) จากการที่ความเจริญตามแนวรถไฟฟ้า BTS ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนแอเรียดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็น Beverly Hills of Thailand นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงของการครอบครองที่ดินในพื้นที่นี้ ทั้งในซอยต่าง ๆ รวมถึงที่ดินติดถนนใหญ่ใกล้แยกอโศก ในอดีตที่เคยเป็นพื้นที่ของมาเศรษฐีเก่า ในตอนนี้ได้เปลี่ยนไปเป็นของนักลงทุนต่างชาติ และยังได้มีโรงแรมระดับ 5-6 ดาวหลายแห่งเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้พื้นที่ย่านอโศกมีความน่าสนใจขึ้นในตลาดอสังหาริมทรัพย์
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้อำนวยการกองข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารชุดของธนาคารการเงินแห่งประเทศไทย (ธอส.) ได้เปิดเผยว่าดัชนีราคาที่ดินว่างในกรุงเทพและปริมณฑลมีค่าอยู่ที่ 176.5 คะแนน แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นรายปีอยู่ที่ 6.2% แต่รายไตรมาสลดลง 2.4% อย่างไรก็ตามได้เน้นเรื่องของอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินในพื้นที่ที่ช้าลง เทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 โดยสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ชะลออัตราการขึ้นราคาที่ดินมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน นั่นรวมถึงเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงในครึ่งแรกของปี พร้อมกับการตัดสินใจของธนาคารกลางที่ผ่อนปรนมาตรการจำกัดอัตราส่วนการให้สินเชื่อของธนาคารเมื่อผู้ซื้อต้องการกู้เพื่อซื้อบ้าน หรือที่เรียกว่า LTV ตลอดจนหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น และแนวโน้มการเพิ่มของอัตราดอกเบี้ย
คลิกเพื่ออ่านข่าวเพิ่มเติม:
https://www.bangkokbiznews.com/property/1081162
https://www.nationthailand.com/business/property/40029887
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย มียอดการขายไตรมาส 1 ลงถึง 29.1%
ในไตรมาสแรกของปี 2566 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยยอดการขายโครงการใหม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึง 29.1% โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ซึ่ง ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ได้รายงานว่าจำนวนยูนิตที่ถูกขายในช่วงนี้มีทั้งหมด 21,291 ยูนิต มูลค่า 105.7 พันล้านบาท เป็นยอดการขายที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึง 29.1% และมลค่าลดลง 22% ซึ่งอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงใกล้กับช่วงเวลาเดียวกันนี้ในปี 2565 อย่างไรก็ตามจำนวนหน่วยคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวใหม่ในไตรมาสแรกของปีนี้เกือบเท่ากับระดับก่อนการระบาดของโควิด-19 แม้ว่ายังคงมีจำนวนการขายที่น้อยลง
คลิกเพื่ออ่านข่าวเพิ่มเติม: https://www.bangkokpost.com/property/2620715/residential-market-records-29-1-drop-in-new-sales-in-q1