จะผ่อนบ้านต้องรู้! Refinance กับ Retention แบบไหนดี?
มาพบกันอีกครั้งกับ PropertyScout Blog นะครับ สำหรับหลาย ๆ คนที่กำลังมองหาบ้านหลังใหม่ แล้วเลือกวิธีผ่อนจ่าย ก็คงจะเป็นเรื่องปกติที่ต้องยื่นขอข้อเสนอดอกเบี้ยถูกไว้ก่อน ซึ่งดอกเบี้ยในช่วง 3 ปีแรกของการผ่อนจะเป็นลักษณะดอกเบี้ยคงที่ (MRR) และหลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ภาวะดอกเบี้ยแบบลอยตัว (MLR) ทันที ซึ่งหลายคนก็คงจะเคยได้ยินกันมาบ้าง ว่าเราสามารถทำการ Refinance เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนบ้าน และก็ยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่เรียกว่า Retention ซึ่งช่วยลดภาระในการแบกรับอัตราดอกเบี้ยได้เหมือนกัน แล้วสองวิธีนี้มันแตกต่างกันอย่างไร? วิธีไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน?
การ Refinance คืออะไร?
เมื่อเราผ่อนบ้านหรือคอนโดครบ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยก็จะเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัวทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น เราก็จะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการที่ต้องผ่อนจ่ายแพงขึ้นนั่นเอง ซึ่งการ Refinance ก็คือวิธียอดนิยมในการลดอัตราดอกเบี้ย โดยเราสามารถขอยื่นกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารใหม่ เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยบ้านต่ำลง ซึ่งจะช่วยให้ยอดผ่อนต่อเดือนน้อยลงและผ่อนบ้านหมดไวยิ่งขึ้นครับ
การ Retention คืออะไร?
Retention เป็นการขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมที่กำลังผ่อนอยู่ ซึ่งก่อนที่เราจะได้รับการอนุมัตินั้น ทางธนาคารจะต้องตรวจสอบประวัติการผ่อนชำระของเราด้วย
เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของทั้งสองวิธี
สรุปข้อดีและข้อเสียของการ Refinance
ข้อดี
- ได้อัตราดอกเบี้ยในเรทต่ำ
- สามารถเปรียบเทียบเลือกอัตราดอกเบี้ยในเรทต่ำได้หลายธนาคาร
ข้อเสีย
- เตรียมเอกสารการขอกู้ใหม่ทั้งหมด
- มีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายดังนี้การจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ 0-3%ค่าธรรมเนียมในการจำนอง 1%ค่าอากรแสตมป์ 0.05%ค่าประเมินราคาหลักประกัน 0.25-2%ค่าประกันอัคคีภัย
- ใช้เวลาในการอนุมัติ
สรุปข้อดีและข้อเสียของการ Retention
ข้อดี
- การ Retention ดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิมไม่ต้องเสียเวลายื่นเอกสาร ติดต่อกับธนาคารใหม่ เตรียมแค่สัญญาเงินกู้ ทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชน
- มีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ 1-2% ของวงเงินกู้
- ระยะเวลาในการอนุมัติรวดเร็ว
ข้อเสีย
- ได้ลดอัตราดอกเบี้ยไม่เยอะ โดยอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
วิธีไหนคุ้มค่ากว่ากัน?
เมื่อเข้าใจความหมายและวัตถุประสงค์ของทั้งสองคำนี้แล้ว PropertyScout Blog อยากจะชวนทุกคนมาค้นหาคำตอบว่าการยื่นเรื่องกับธนาคารเพื่อขอ Refinance กับ Retention วิธีไหนให้ความคุ้มค่าในแง่ของดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ตามมาดูกันครับ
ตัวอย่าง:
นาง Property ต้องการกู้เงินซื้อบ้านโครงการ แอมเบอร์ คอนโดมิเนียม ติวานนท์ ในราคา 5.9 ล้านบาท โดยยื่นกู้กับธนาคารหนึ่ง ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยปีละ 5.12% ทำให้นาง Property ต้องผ่อนเดือนละ 42,700 บาท จึงตัดสินใจทำการ Refinance กับธนาคารใหม่ ได้อัตราดอกเบี้ยปีละ 4.00% ทำให้มียอดผ่อนลดลงเหลือเดือนละ 39,000 บาท ประหยัดไป 3,700 บาท/เดือน
นาย Scout ต้องการกู้เงินซื้อคอนโดโครงการ พฤกษาทาวน์ เน็กซ์ อ่อนนุช-พระราม 9 ราคา 7.3 ล้านบาท โดยยื่นกู้กับธนาคารหนึ่ง มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยปีละ 5.12% ทำให้นาย Scout ต้องผ่อนเดือนละ 52,900 บาท หลังจากนั้นจึงตัดสินใจทำการ Retention ดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม ทำให้ได้อัตราดอกเบี้ยลดลงเหลือปีละ 4.62% และมียอดผ่อนเหลือเดือนละ 50,800 บาท ทำให้ประหยัดไป 2,100 บาท/เดือน
จากที่ได้ยกตัวอย่างให้ดู จะเห็นว่าวิธีการ Refinance นั้น เป็นการขออัตราดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารที่ใหม่ทำให้ได้เรทดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ช่วยประหยัดเงินต่อเดือน และเกิดความคุ้มค่ามากกว่าทำ Retention กับธนาคารเดิมครับ
บทสรุปส่งท้าย : วิธีไหนดีกว่ากัน?
ต้องขอบอกว่าการทำ Retention มีจุดเด่นในเรื่องของความสะดวกในการขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มากกว่า เพราะว่าสามารถทำได้กับธนาคารเดิม ส่วนใครที่เลือกวิธี Refinance จะมีโอกาสในการเลือกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่หลากหลายกว่า อย่างไรก็ตาม คงจะไม่สามารถฟันธงได้ว่าวิธีไหนดีกว่ากัน เราควรเลือกวิธีที่อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด ในเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับตัวเราเองครับ ทาง PropertyScout Blog ขอแนะนำให้ทุกคนลองปรึกษากับธนาคารเดิมที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ เพื่อขอข้อมูลดอกเบี้ยของการ Retention ก่อนที่จะตัดสินใจไป Refinance กับธนาคารอื่นก็ได้
ถ้าอยากได้คำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือต้องการ ซื้อ ขาย เช่า อสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อ PropertyScout ได้เลย! ทางทีมงานพร้อมให้บริการและตอบทุกข้อสงสัยครับ!