‘หมดรัก’ หลัง ‘กู้ร่วมซื้อบ้าน’ ทำอย่างไรดี?

Author
by
At
March 31, 2023
‘หมดรัก’ หลัง ‘กู้ร่วมซื้อบ้าน’ ทำอย่างไรดี? ‘หมดรัก’ หลัง ‘กู้ร่วมซื้อบ้าน’ ทำอย่างไรดี?

สวัสดีครับ สำหรับการใช้ชีวิตคู่ คู่รักหลายคู่ก็คงเลือกที่จะซื้อบ้านอยู่ด้วยกัน แต่วันดีคืนดีสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นก็เกิดจนได้ อย่างความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จนความรักมาถึงทางตัน และในที่สุดก็ต้องเลิกรากัน แต่การผ่อนบ้านยังต้องดำเนินต่อไป ซึ่งสำหรับบางคนอาจจะต้องใช้เวลาในการผ่อนชำระนานนับสิบปีกันทีเดียว ในบทความนี้ PropertyScout จะช่วยทุกคนหาทางออกสำหรับการ 'กู้ร่วมซื้อบ้าน' เมื่อเลิกกันแล้ว ทำอย่างไรให้การผ่อนบ้านไม่สะดุด ไม่มีปัญหาตามมา และเกิดความสบายใจกับทั้งสองฝ่าย แบ่งออกเป็นสองกรณีดังนี้ครับ

หมดรัก-หลัง-กู้ร่วมซื้อบ้าน-ทำอย่างไรดี

กรณี 'ยังไม่จดทะเบียนหย่า'

กรณี-ยังไม่จดทะเบียนหย่า
ยังไม่จดทะเบียนหย่า

เชื่อว่าใคร ๆ ก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับชีวิตตัวเองครับ แต่ในเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องหาทางแก้ไขให้เรียบร้อย สำหรับคนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า ไม่ว่าจะแยกกันอยู่แล้ว หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชีวิตของตัวเองแล้ว หรือยังอาศัยอยู่บ้านเดียวกันก็ตาม แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า สามารถตกลงกันได้ครับว่าจะให้ใครถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของบ้าน ส่วนการผ่อนสินเชื่อก็ให้แจ้งความประสงค์ต่อธนาคารว่า 'จะถือกรรมสิทธิ์ต่อและอยู่ในฐานะผู้กู้เพียงคนเดียว' โดยให้แจ้งเหตุผลกับทางธนาคารว่า 'หย่าร้างกัน'

ซึ่งธนาคารจะประเมินผู้กู้ว่ามีความสามารถที่จะผ่อนชำระหนี้ต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งหากประเมินว่าไม่สามารถกู้คนเดียวต่อได้ ทางธนาคารจะขอให้หาผู้กู้ร่วมซื้อบ้านที่มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติของผู้กู้เท่านั้นครับ ส่วนเรื่องยอดเงินที่เคยผ่อนชำระไปร่วมกันนั้นก็ให้ไปตกลงกันเองต่อไป


กรณี 'จดทะเบียนการหย่าเรียบร้อยแล้ว'

กรณี-จดทะเบียนการหย่าเรียบร้อยแล้ว
จดทะเบียนการหย่าเรียบร้อยแล้ว

ในกรณีที่กู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกัน และได้จดทะเบียนหย่ากันเรียบร้อยแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์ที่จะไม่ผ่อนชำระหนี้และต้องการยกบ้านให้กับอีกฝ่ายไปเลย ก็ให้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันระหว่างอดีตคู่สมรสครับ

จากนั้นให้นำสัญญาจะซื้อจะขาย พร้อมกับใบจดทะเบียนการหย่ามาประกอบการขอสินเชื่อกับทางธนาคาร ซึ่งฝ่ายที่ต้องการผ่อนต่อจะต้องขอสินเชื่อใหม่ แต่ก็ช่วยแก้ปัญหากันทั้งสองฝ่ายได้เป็นอย่างดี เพราะขอวงเงินกู้ได้มากเท่ากับการซื้อบ้านทั้งหลัง เพื่อจะได้นำเงินส่วนหนึ่งที่ได้มาไปคืนคู่สมรสอีกฝ่ายได้อย่างไม่มีปัญหาครับ

ตัวอย่าง

มีวงเงินกู้ร่วมซื้อบ้านของสินเชื่อเดิมที่สามารถกู้ร่วมกัน คือ 5 ล้านบาท และได้ผ่อนชำระหนี้ไปแล้ว 1.5 ล้านบาท คงเหลือหนี้ที่จะต้องชำระอีก 3.5 ล้านบาท เมื่อมีการหย่าโดยจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ฝ่ายที่ต้องการเป็นกรรมสิทธิ์สามารถขอสินเชื่อใหม่ได้ในวงเงินกู้ 5 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเช็คแรก 1.5 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระหนี้ที่คงเหลือในสินเชื่อฉบับเก่าครับ

และหากคู่สมรสตกลงร่วมกันว่าที่ผ่านมาได้ร่วมชำระหนี้อย่างเท่า ๆ กัน คนละ 7.5 แสนบาท ก็จะออกเช็คแบ่งเป็นอีก 2 ส่วน โดยส่วนแรกสั่งจ่ายให้อดีตคู่สมรสที่ออกจากการกู้ร่วมกัน โดยจะทำการเขียนสลักหลังชื่ออดีตคู่สมรส ส่วนเช็คอีกส่วนก็จะเป็นของคู่สมรสที่ขอสินเชื่อใหม่หรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อไปนั่นเองครับ


สรุปส่งท้าย

สำหรับการใช้ชีวิตคู่ บางครั้งก็ไม่ได้สุขสมหวังเหมือนอย่างที่เราคิดและคาดหวังเสมอไปครับ จะเห็นได้ว่าการแบ่งสินสมรสหลังจากเลิกลากัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือรถยนต์ก็ตาม ล้วนมีขั้นตอนและการดำเนินเรื่องต่าง ๆ มีรายละเอียดค่อนข้างมากครับ ดังนั้นหากใครกำลังประสบปัญหานี้อยู่ 'การปรึกษาและตัดสินใจร่วมกัน' คือ วิธีที่เหมาะสมที่สุด เพราะจะช่วยให้เกิดความเข้าใจเรื่องความต้องการแต่ละฝ่ายกันมากขึ้นครับ และเพื่อให้คลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และได้ทางออกที่ลงตัวกับทุกฝ่ายครับ

PropertyScout หวังว่า รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ จากบทความนี้จะเป็นอีกตัวช่วยสำหรับทุกคนที่กำลังมีปัญหากู้ร่วมซื้อบ้านแล้วเลิกกันได้ไม่มากก็น้อยนะครับ


อ่านบทความ รีวิวโครงการ อัปเดตข่าวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ได้ที่ PropertyScout Blog

มีคำถาม ข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือต้องการ เช่า ซื้อ ขาย

คลิกตามด้านล่างได้เลย


อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้อง คลิก