ชวนอัปเดท ‘ดอกเบี้ยบ้าน’ กู้ซื้อบ้านยังไงให้เหมาะกับราคา!

Author
by
At
February 1, 2023
ชวนอัปเดท ‘ดอกเบี้ยบ้าน’ กู้ซื้อบ้านยังไงให้เหมาะกับราคา! ชวนอัปเดท ‘ดอกเบี้ยบ้าน’ กู้ซื้อบ้านยังไงให้เหมาะกับราคา!

อัปเดตดอกเบี้ยประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566

สวัสดีค่า ไม่ได้เจอกันนานเลย ช่วงนี้อากาศเป็นยังไง ดูแลตัวเองกันบ้างไหมคะ? วันนี้เรามีอะไรดี ๆ มาเสนอค่า ใครที่อยากจะซื้ออสังหา ฯ หรือเล็ง ๆ ไว้อยู่ ก็ต้องเจอกับปัญหากวนใจหลายอย่างที่ทำให้เราไม่ได้ซื้อสักที ตั้งแต่งบประมาณ ทำเล ชนิดของอสังหา ฯ วัตถุประสงค์ รวมไปถึงเรื่องของดอกเบี้ยที่พักอาศัยด้วย

ดังนั้น PropertyScout จะพาทุกคนมารู้จักกับดอกเบี้ยบ้านกันนะคะ ว่าสำคัญอย่างไร จำเป็นไหม จะกลายเป็นภาระให้รึเปล่า เพราะฉะนั้น จะเป็นยังไง อย่ารอช้า มาอ่านกันเลย!

ดอกเบี้ยบ้าน พฤศจิกายน 2566
ดอกเบี้ยบ้าน พฤศจิกายน 2566

ดอกเบี้ยบ้าน คืออะไร?

ดอกเบี้ยบ้าน หรือ Home Loan คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัย สำหรับการซื้อเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดมิเนียมก็ตาม ซึ่งการที่เราจะคิดคำนวณดอกเบี้ยบ้านที่เราต้องชำระหลังจากที่ทำธุรกรรมการซื้อขายนั้น เราจะต้องใช้วิธีคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) ที่มักอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารคิดจากลูกค้าค่ะ

ดอกเบี้ยบ้าน คืออะไร?
ดอกเบี้ยบ้าน คืออะไร?

ซึ่งการคิดดอกเบี้ยแบบลอยตัวนั้นจะอิงจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำทั้ง 3 ชนิด ได้แก่

  • Minimum Loan Rate (MLR) : อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา
  • Minimum Overdraft Rate (MOR) : อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
  • Minimum Retail Rate (MRR) : อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แต่ละปีตรงนี้เลยค่ะ!

ยกตัวอย่างเช่น

ธนาคาร ABC ให้ผู้กู้นั้นกู้เงินซื้อบ้านในวงเงิน 5,000,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย MLR – 1% ในช่วงแรกและ MLR + 1% ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารกำหนดในแต่ละปี ถ้าปีแรก MLR = 6.25% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 5.25(MLR – 1%) ถ้าปีที่สาม MLR = 7.5% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 8.5(MLR + 1%) เป็นต้น

โดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงกว่า MOR และ อัตราดอกเบี้ย MOR จะสูงกว่า MLR ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นตัวสะท้อนระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย ซึ่งสามารถศึกษาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR, MOR, และ MRR ได้จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย

*ขอบคุณตัวอย่างจาก: หนังสือ 365+1 คำศัพท์การเงินและการลงทุน


ธนาคารที่สามารถกู้ได้

อย่างที่เรารู้กันว่าในประเทศไทยนั้นมีธนาคารที่มากมายและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นธนาคารในไทยหรือธนาคารต่างชาติที่เข้ามาตั้งก็ตาม ทำให้ในประเทศไทยนั้นจึงได้มีการแข่งขันกันเรื่องอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงเรื่องของการโปรโมทธนาคารต่าง ๆ มากมายเลยค่ะ แต่ว่า ไม่ใช่ทุกธนาคารที่จะสามารถทำธุรกรรมเรื่องการกู้บ้านได้นะคะ และถึงทำได้ ในแต่ละธนาคารก็จะมีเวลาในการกู้ไม่เท่ากัน

ธนาคารที่สามารถกู้ได้
ธนาคารที่สามารถกู้ได้

เพื่อไม่ให้เป็นการสับสน เราได้ลิสต์ธนาคารทั้งหมดและทำเป็นตารางมาให้แล้วค่ะ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย!

รายชื่อธนาคารกู้ได้หรือไม่
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)
ธนาคารออมสิน (GSB)
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) (SCBT)
ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)
ธนาคารทิสโก้
ธนาคารกรุงไทย (KTB)
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)
ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์
ธนาคารยูโอบี (UOB)
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB)
ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย)
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP)
ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย (TCRB)
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH)
รายชื่อธนาคารในไทย

จะเห็นได้เลยว่าธนาคารในไทยส่วนใหญ่นั้นสามารถทำเรื่องขอธุรกรรมการกู้บ้านได้ทั้งหมดเลยค่ะ แต่ต้องเป็นธนาคารที่มีสาขาหรือเป็นของไทยเท่านั้นนะคะ ซึ่งตรงนี้ก็นับเป็นอีกหนึ่งข้อดีที่เราจะสามารถเช็กได้ว่าธนาคารที่เรามีอยู่นั้นสามารถทำเรื่องกู้บ้านได้หรือไม่ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการเรื่องภาระค่าใช้จ่ายรวมไปถึงดอกเบี้ยในอนาคตด้วย

อัตราดอกเบี้ยแต่ละธนาคาร

มาถึงในส่วนสำคัญอย่าง ดอกเบี้ยบ้าน หรืออัปเดตตารางดอกเบี้ยนั่นเองค่ะ โดยที่เราจะสามารถดูได้ว่าธนาคารไหนให้สินเชื่อบ้านพร้อมอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ แต่ละธนาคารมีเงื่อนไขอะไรบ้าง เพื่อช่วยให้ผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้ออสังหา ฯ ในปัจจุบันนั้นสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายและวางแผนการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น

อัตราดอกเบี้ยแต่ละธนาคาร
อัตราดอกเบี้ยแต่ละธนาคาร

ตารางอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ

รายชื่อธนาคารMORMRRMLR
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GHB)6.9006.5006.650
ธนาคารออมสิน (GSB)6.9006.7456.995
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) (SCBT)8.00007.5300-
ธนาคารกรุงเทพ (BBL)7.55007.10007.3000
ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB)7.85007.72507.8300
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)7.57507.28007.4000
ธนาคารทิสโก้8.10008.10008.1500
ธนาคารกรุงไทย (KTB)7.52007.05007.5700
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)7.57507.05007.3000
ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)7.59007.27007.3000
ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์7.00006.50006.7500
ธนาคารยูโอบี (UOB)8.35008.25008.8000
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB)8.75008.35009.2500
ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย)7.60006.8000-
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP)8.17508.17508.2000
ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย (TCRB)9.08009.500010.1500
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH)8.45008.07508.8000
อัตราดอกเบี้ยธนาคารในไทย

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
*นับเป็นหน่วยร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ทั้งหมดนะคะ

การที่เราจะคำนวณได้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี ถูกหรือแพงนั้น โดยปกติแล้วจะเน้นดูที่ตัว MLR และเงื่อนไขระยะเวลาค่ะ แต่เอาจริง ๆ แล้ว ไม่เพียงแค่ดู 3 ตัวนี้เท่านั้น แต่ต้องดูเงื่อนไขของธนาคารแต่ละธนาคารด้วยว่าเขาให้เงื่อนไขในการกู้แบบ MLR-1 กี่ปี (โดยปกตินั้นจะอยู่ที่ราว ๆ 3 ปี) ยกเว้นทางธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่จะมีเรทดอกเบี้ยคงที่อยู่ถึง 5 ปีด้วยกันค่ะ


ตารางดอกเบี้ยกรณีสูงสุดที่มีได้

รายชื่อธนาคารสูงสุด*
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)*Refer to contract
ธนาคารออมสิน (GSB)*Refer to contract
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) (SCBT)15.0000
ธนาคารกรุงเทพ (BBL)18.0000
ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB)25.0000
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)25.0000
ธนาคารทิสโก้28.0000
ธนาคารกรุงไทย (KTB)17.5700
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)28.0000
ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)20.9700
ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์12.0000
ธนาคารยูโอบี (UOB)15.1000
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB)18.6000
ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย)15.0000
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP)28.0000
ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย (TCRB)35.0000
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH)16.4500
อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารในไทย

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
*นับเป็นหน่วยร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ทั้งหมดนะคะ

อัตราดอกเบี้ยในหน้านี้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่คิดเป็นเรทสูงที่สุดของแต่ละธนาคารเมื่อเกิดเหตุการณ์การเบี้ยวนัด ชำระเงินไม่ตรงนัด หรือเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาค่ะ ซึ่งการผิดชำระนัดกับทางธนาคารนั้น แต่ละธนาคารจะมีการเตือนและการขึ้นเปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยนั้นจะอยู่ในเงื่อนไขนั่นเองค่ะ


ตารางดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระ

รายชื่อธนาคารผิดนัด*
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)บวกเพิ่ม 3% ต่อปี
ธนาคารออมสิน (GSB)*
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) (SCBT)15.0000
ธนาคารกรุงเทพ (BBL)22.3000
ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB)25.0000
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)25.0000
ธนาคารทิสโก้28.0000
ธนาคารกรุงไทย (KTB)28.0000
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)30.9300
ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)23.9700
ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์15.0000
ธนาคารยูโอบี (UOB)18.1000
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB)23.0000
ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย)15.0000
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP)28.0000
ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย (TCRB)35.0000
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH)19.4500
อัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดในธนาคารไทย

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
*นับเป็นหน่วยร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ทั้งหมดนะคะ

ในส่วนของหน้านี้จะเป็นส่วนดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดชำระนัดโดยเฉพาะค่ะ ซึ่งหลาย ๆ โครงการนั้นก็จะมีการปรับราคาให้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ต้องเสียตามตารางที่สองด้านบนค่ะ แต่จุดแตกต่างบางส่วนก็คือ ส่วนผิดชำระในหน้านี้จะไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงสุดที่ต้องชำระค่ะ เพราะจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารที่เราทำการกู้นั่นเองค่ะ


ข้อมูลตามตารางด้านบนนี้อ้างอิงมาจากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 ส.ค. พ.ศ.2566 เวลา 17.11 น. ค่ะ หากต้องการดูเพิ่มเติม สามารถคลิกเว็บไซต์นี้ได้เลยค่ะ

เมื่อคลิกเข้าไปจะเจอกับหน้าเว็บไซต์แบบนี้ สามารถคลิกไปที่ปุ่ม อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ จากนั้นใส่วันที่ต้องการแล้วกด Go ได้เลยค่ะ (โดยปกติแล้ว ในเว็บไซต์จะใส่วันที่แบบอัปเดทให้อยู่แล้วค่ะ ยกเว้นวันหยุด)

ธนาคารแห่งประเทศไทย
หน้าเว็บไซต์ต้นหาอัตราดอกเบี้ย - ธนาคารแห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้จะอัปเดทข้อมูลเป็นรายวันค่ะ โดยจะมีการอัปทุก ๆ เวลา 12.00 น. หรือเวลาเที่ยงวันของทุกวันที่ทำงาน ยกเว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์นะคะ


ตัวอย่างการคำนวณ

การที่เรายังได้แนบตัวอย่างการคำนวณเล็ก ๆ มาให้ด้วยนะคะว่าเราจะสามารถคำนวณอัตราดอกเบี้ยได้อย่างไรบ้าง แม้จะเป็นวิธีที่ดูจะต้องใช้เครื่องคิดเลข แต่เชื่อเถอะค่ะ เมื่อคิดออกมาแล้ว มันก็ทำให้สามารถคาดเดาราคาที่ต้องจ่ายตลอดระยะเวลาที่กู้ได้แน่นอนค่ะ

ตัวอย่างการคำนวณ
ตัวอย่างการคำนวณ

โจทย์

ธนาคาร PS ปล่อยกู้ให้กับผู้กู้เป็นวงเงินราว ๆ 5,000,000 บาท โดยจะมีระยะเวลาให้ราว ๆ 20 ปีตามสัญญาและเงื่อนไข ด้วยอัตราดอกเบี้ย MLR –1% ในช่วงปีแรก และ MLR +1% ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป ซึ่งเรท MRR จะกำหนดไว้ที่ร้อยละ 6.5000 ซึ่งจะกำหนดไว้ดังนี้

แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารกำหนดในแต่ละปี

  • ถ้าช่วงปีแรก MLR = 6.50% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 5.50(MLR – 1%)
  • ถ้าปีที่สามเป็นต้นไป MLR = 6.50% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 7.5(MLR + 1%)
MRR
(1st year-3rd year)
MRR
(After 3 years)
MRR/MLR**
5.50007.50006.5000

*ซึ่งการคำนวณตรงนี้ ก็จะนำไปบวกลบและคำนวณกับวงเงินกู้และระยะปีด้วยนะคะ

ซึ่งเรทดอกเบี้ยนั้น ก็สามารถนำมาคำนวณต่อเป็นตัวเลขดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้นเป็นจำนวนเงินได้ค่ะ โดยจะใช้สูตรดังนี้

(เงินต้นคงเหลือ*อัตรดอกเบี้ยต่อปี*จำนวนวันในงวด)/จำนวนวันใน 1 ปี
= ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น
  • คำนวณดอกเบี้ยช่วง 1-3 ปีแรก
    • วิธีทำ
      • (5,000,000*5.5%*30)/365 = 22,602.74 บ.

        *ดอกเบี้ยต่อปีจะอยู่ที่ 22,602.74 บ.
  • คำนวณดอกเบี้ยช่วง 3 ปีหลัง
    • วิธีทำ
      • (5,000,000*7.5%*30)/365 = 30,821.92 บ.

        *ดอกเบี้ยต่อปีจะอยู่ที่ 30,821.92 บ.

*นี่ยังไม่นับหากมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นมากรณีที่จ่ายช้าหรือมีปัญหาเพิ่มเติมด้วยนะคะ


สรุปส่งท้าย

จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้เลยว่า การที่เราสามารถคำนวณและรู้อัตราต่าง ๆ ในการซื้อบ้านนั้น จะทำให้การทำธุรกรรมซื้อขายอสังหา ฯ นั้นง่ายขึ้นมากเลย โดยเฉพาะเรื่องของดอกเบี้ยบ้าน เนื่องจากจะทำให้เราสามารถกะเกณฑ์ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องชำระหนี้ในแต่ละเดือนแต่ละปีได้นั่นเองค่ะ นอกจากนี้ในการคิดอัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านจะมีราคาและเงื่อนไขต่างกันออกไปตามแต่ละธนาคาร โดยที่ธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้อัปเดทและกำหนดกลไกราคาแต่ละไตรมาสนะคะ

*แต่ทั้งนี้ เราควรดูด้วยว่างบประมาณที่เรามีนั้น พอกับการซื้อโครงการนั้น ๆ ไหม รวมถึงต้องคำนวณด้วยว่า เมื่อเราซื้อแล้ว เราจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกไหม ทั้งเรื่องค่าน้ำค่าไฟ ค่าอุปโภค ไปจนถึงค่าตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ หรือว่าง่าย ๆ ก็คือ หากซื้อแล้วจะไม่เป็นภาระหรือหนี้สินในชีวิตหรือไม่

เป็นอย่างไรบ้างคะกับบล็อกนี้ เราหวังว่าบล็อกนี้จะสร้างประโยชน์ให้ไม่มากก็น้อยนะ ถ้ามีอะไรอยากรู้ อยากให้เราเขียน หรืออยากเพิ่มเติมอะไร สามารถคอมเมนต์มาได้เลยค่ะ เจอกันใหม่บล็อกหน้านะคะ สวัสดีค่า 👋


ถ้าใครที่ยังลังเล ไม่รู้จะหาคอนโดแบบไหน ทำเลอะไร และราคาเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม สามารถทักมาปรึกษา PropertyScout ได้เลยนะคะ เรามีผู้เชี่ยวชาญมากความสามารถที่จะช่วยให้เราหาที่พักที่ถูกใจได้นั่นเอง

หากท่านสนใจอสังหาริมทรัพย์ ราคาไม่แพง หรือต้องการคำปรึกษา
สามารถติดต่อ PropertyScout ได้เลย