กู้ร่วม ปะทะ กู้คนเดียว ก่อนซื้อบ้านต้องรู้!
จะซื้อทั้งที กู้แบบไหนให้เหมาะกับตัวเรา อ่านเลย!
เจอกันอีกแล้วกับ PropertyScout อีกแล้วนะคะ 💕 ปกติแล้วนั้น เวลาเราจะซื้อบ้านหรือคอนโดนั้น เงินก้อนนึงที่เราแทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ "เงินกู้" เพราะก็ต้องยอมรับกันว่า การซื้อคอนโดในแต่ละครั้งนั้น เงินที่ต้องใช้จ่ายก็ไม่ได้น้อยเลย อีกทั้งยังเป็นเงินจำนวนมากอีกด้วย ดังนั้น ส่วนใหญ่แล้วจึงจำเป็นต้องกู้นั่นเอง
ส่วนเงินกู้นั้นก็มีหลายประเภท ทั้งกู้ร่วม และ กู้คนเดียว ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ก็มีความต่างกันไม่น้อยเลย ทั้งเงินกู้ เงื่อนไข จำนวน และอื่น ๆ ดังนั้นวันนี้ PropertyScout จะพามารู้จักแต่ละอย่างเองค่า
การกู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ คืออะไร
การกู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้น หมายถึง การที่เรากู้เงินจำนวนนึงมาเพื่อเป็นทุนในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนก็นับหมด เช่น บ้าน คอนโด อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่การกู้แบบนี้นั่น จะเอื้อไปทางเหตุผลการหาที่อยู่อาศัยและเป็นเหตุผลส่วนตัวซะส่วนใหญ่ แต่ก็มีไม่น้อยที่กู้ไว้เพื่อลงทุนเช่นกัน
อีกทั้งการกู้อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอีกหนึ่งการกู้ที่หลาย ๆ คนเลือกที่จะกู้ เนื่องด้วยมีระยะเวลาการผ่อนที่นาน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นในชีวิต นอกจากนั้น ยังเป็นการกู้ที่มีดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการกู้อื่น ๆ เพราะว่าในส่วนของอสังหา ฯ นั้น จะมีดอกเบี้ยเฉพาะของตัวเองด้วยนั่นเอง
การกู้คนเดียว (Ordinary Loan)
การกู้คนเดียว คือการกู้เงินปกติโดยใช้ชื่อของผู้กู้เพียงคนเดียว เป็นเหมือนกับการกู้เงินแบบปกติทั่วไป ที่ต้องเอายื่นรายได้รายเดือนที่ 40% ขึ้นไป มายื่นรับเงินกู้ แต่ทั้งนี้ การกู้คนเดียวสามารถมี ผู้ค้ำประกัน ได้
การค้ำประกัน คือ บุคคลที่จะมาทำหน้าที่ค้ำประกันหรือเป็นคนยืนยันการกู้ให้ แต่ทว่าเราไม่ได้ต้องไปชำระหนี้กับลูกหนี้นั่นเอง อีกทั้งจะต่างกับการกู้ร่วมตรงที่ เราไม่สามารถนำหลักทรัพย์ของผู้ค้ำประกันมาพิจารณาเหมือนกับการกู้ร่วมได้
แต่การค้ำประกันไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เสียเงินเลย แต่เราทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ที่คอยยืนยันแทนผู้กู้ว่า ผู้กู้คนนี้จะสามารถชำระเงินตามกำหนดได้ ทว่าในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายหนี้ ทางธนาคารจะสามารถไปเอาเงินคืนได้จากผู้ค้ำประกัน หรือ ผู้ยืนยันการกู้ให้ นั่นเอง
จำนวนเงินที่ได้
จำนวนเงินเราสามารถกู้จากธนาคารได้นั้น ทางธนาคารหรือสินเชื่อจะคิดจากรายได้ของเราเมื่อหักจากค่าใช้จ่ายไปแล้ว หรือคิดง่าย ๆ อยู่ที่ประมาณ 40% นั่นเอง หรือถ้าคำนวณคร่าว ๆ สามารถคิดได้ดังนี้
รายได้ทั้งหมดต่อเดือน*40% = จำนวนเงินที่สามารถกู้ได้ |
เงื่อนไข
แม้เงื่อนไขต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปในตามแต่ละธนาคาร แต่ส่วนใหญ่ก็จะดูจากความเหมาะสมทั้ง รายรับที่ได้แต่ละเดือนนั้นจะมีกำหนดซึ่งต้องอยู่ที่ราว ๆ 15,000 บาทขึ้นไป รวมไปถึงระยะเวลางานในการทำ ส่วนใหญ่หลาย ๆ ธนาคารจะอยู่ที่ราว ๆ 6 เดือนเป็นต้นไป และต้องมีอายุราว ๆ 20-70 ปี
การกู้ร่วม (Sydicate Loan)
กู้ร่วม คือ การกู้เงินร่วมกัน ของทั้งสองฝ่าย ด้วยความสมัครใจ โดยที่มีคนมาช่วยรับผิดชอบในเรื่องของการกู้ อีกทั้งการกู้ร่วมยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือที่มากขึ้นเพราะไม่ได้มีคนเดียวที่ต้องจัดการ หากเกิดอะไรขึ้นยังมีอีกคนที่สามารถเข้ามาจัดการปัญหาตรงนี้ได้ อีกทั้งพอกู้ร่วม ยังทำให้อนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้นหรือว่าสามารถขอวงเงินที่สูงขึ้นได้ เพราะมีการนับรวมรายได้ของทั้งสองฝ่ายนั่นเอง
โดยปกติแล้วการกู้ร่วมจะมีการกู้ร่วมกันอยู่ที่ 2 คนขึ้นไป แต่จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมที่จะให้กู้ได้ไม่เกิน 3 คน เพราะหากกู้มากกว่า 3 คนขึ้นไปอาจจะเกิดปัญหาเรื่องการจัดการหนี้สินได้
ประโยชน์ของการกู้ร่วม
- ได้วงเงินที่สูงขึ้น
- ไม่ต้องแบกภาระคนเดียว
- ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
จำนวนเงินที่ได้
จำนวนเงินในครั้งนี้ ที่เราสามารถกู้จากธนาคารได้นั้น ทางธนาคารจะคิดจากรายได้ของผู้ร่วมกู้ทั้ง 2 คน โดยหักจากค่าใช้จ่ายไปแล้ว หรือคิดง่าย ๆ อยู่ที่ประมาณ 40% นั่นเอง หรือถ้าคำนวณคร่าว ๆ สามารถคิดได้ดังนี้
รายได้ทั้งหมดต่อเดือน*40%(ของคนที่ 1)+รายได้ทั้งหมดต่อเดือน*40%(ของคนที่ 2) = จำนวนเงินที่สามารถกู้ได้ |
เงื่อนไข
เงื่อนไขนั้น รายรับที่ได้แต่ละเดือนนั้นจะมีกำหนด หากเป็นเจ้าของกิจการจะต้องอยู่ราว ๆ 15,000 บาทขึ้นไป รวมไปถึงระยะเวลางานในการทำ ส่วนใหญ่หลาย ๆ ธนาคารจะอยู่ที่ราว ๆ 6 เดือนเป็นต้นไป และต้องมีอายุราว ๆ 20-70 ปี อีกทั้งคนที่สามารถกู้ร่วมได้นั้น จำเป็นต้องเป็นคนในครอบครัว หรือคนที่มีความเกี่ยวข้องกันในทางสายสัมพันธ์เช่น สามี-ภรรยา พี่-น้อง เท่านั้น
ถ้าอยากรู้รายละเอียด สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย : 6 สิ่งที่ควรรู้ก่อนกู้ร่วม
เทียบให้ชัด อันไหนดีกว่า?
กู้ร่วม | กู้คนเดียว | Note | |
การแบ่งชำระ/ ช่วยกันจ่าย | ✅ | ❌ | - |
ขออนุมัติได้ง่าย | ✅ | ❌ | - |
การยกเลิกสัญญาเงินกู้ | ⭕ | ⭕ | ขึ้นกับธนาคาร |
มีผู้ค้ำประกัน | ❌ | ✅ | - |
ต้องเป็นคนในครอบครัวเท่านั้น | ✅ | ❌ | หรือผู้เกี่ยวข้อง |
เน้นความสบายใจ | ❌ | ✅ | - |
ไม่ต้องอาศัยความยินยอม | ❌ | ✅ | - |
รับผิดชอบภาระร่วมกัน | ✅ | ❌ | - |
✅ = ทำได้ / ⭕ = กึ่งกลาง, ทำได้ยาก / ❌ ทำไม่ได้ |
แนะเพิ่มเติม!
กู้ร่วม | กู้คนเดียว | |
เหมาะกับ | คนที่อยากมีคนซัพพอร์ต | คนที่สามารถจ่ายคนเดียวได้ |
จำนวนเงินที่ได้ | ได้ 40% ของรายได้ (2 คนรวมกัน) | ได้ 40% ของรายได้ (คนเดียว) |
กรรมสิทธิเป็นของใคร? | เป็นของใครก็ได้ตามตกลง | คนที่กู้ |
สรุปท้ายเรื่อง
เป็นไงบ้างคะ จากการดูทั้งหมด จะเห็นได้เลยว่า แต่ละอย่างมีข้อดีข้อเสียไม่ต่างกันเลย บางคนเลือกที่จะกู้ร่วม เพราะได้วงเงินที่เยอะกว่า บางคนเลือกกู้คนเดียวเพราะสามารถตัดสินใจได้เลยทันที แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละคนด้วยว่า การกู้แบบไหนที่เหมาะกับเรา หรือเรามีกำลังพอที่จะกู้อะไร ทาง PropertyScout เชื่อว่ามันจะมีความงง ๆ หลังอ่านจบ แต่ทางเราก็เชื่อว่า ทุกท่านได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อยแน่นอน!
ดังนั้น วันนี้ PropertyScout ขอตัวลาไปก่อน ถ้าอยากให้เราเขียนบทความอะไรใหม่ ๆ หรืออยากรู้อะไร สามารถบอกเราได้เลยนะคะ เราจะรีบหามาให้เร็วที่สุด! เจอกันใหม่ในบทความหน้านะคะ
หากมีคำถาม หรือข้อสงสัยอื่นๆเพิ่มเติม เกี่ยวกับการฝากซื้อฝากขาย หรือซื้อขายเช่าอสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อสอบถามทีม PropertyScout โดย คลิกที่นี่ ทางทีมงานยินดีช่วยเหลือและตอบทุกข้อสงสัยค่ะ