แนะนำ

แหล่งรวมข้อมูลรายละเอียดโครงการคอนโดมิเนียม และบ้าน รวมไปถึงข้อมูลแนะนำแหล่งย่านพักอาศัย และย่านธุรกิจ ต่างๆ
ระบบการก่อสร้างห้องในคอนโด มีแบบไหนบ้าง ข้อดี-ข้อเสียในแต่ละแบบคืออะไร?
ระบบการก่อสร้างห้องในคอนโด มีแบบไหนบ้าง ข้อดี-ข้อเสียในแต่ละแบบคืออะไร?
ในปัจจุบันการก่อสร้างคอนโด ไม่ว่าจะเป็นแบบ High-Rise หรือ Low-Rise ทำเลใจกลางเมือง ชานเมือง หรือ ทำเลไหนก็ตาม ต่อให้โครงการจะมีขนาดใหญ่หลายยูนิตหลายอาคาร ระยะเวลาการก่อสร้างก็ไม่ได้นานเหมือนเมื่อแต่ก่อนอีกต่อไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเทคโนโลยีใน ระบบการก่อสร้างสร้างห้องในคอนโด ที่ล้ำหน้าไปไกล บวกกับการใช้กรรมวิธีการทุ่นแรงอย่างผนังสำเร็จรูป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจจะยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า ผนังสำเร็จรูปจะส่งผลกระทบอะไรในเรื่องของโครงสร้างหรือเปล่า? เมื่อเทียบกับ ระบบการก่อสร้างแบบดั้งเดิม และหากเป็นผนังสำเร็จรูป สามารถเจาะหรือทุบเพื่อปรับแต่งห้องคอนโดของเราได้หรือไม่? ในบทความนี้ PropertyScout จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน ระบบการก่อสร้างห้องในคอนโดรูปแบบต่าง ๆ ในยุคแรก ๆ ที่ระบบการก่อสร้างผนังสำเร็จรูปเพิ่งเข้ามาในประเทศไทย ผู้ประกอบการอสังหา ฯ มักจะนิยมนำมาใช้กับการก่อสร้างโครงการแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันเมื่อเวลาผ่านไป การก่อสร้างที่อยู่อาศัยแนวสูงอย่างคอนโดเองก็สามารถสร้างด้วยผนังสำเร็จรูปได้เช่นกัน ซึ่งโดยปกติแล้วการก่อสร้างคอนโด จะใช้วัสดุในการก่อผนังเพื่อกั้นยูนิตโดยแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ผนังคอนโดก่ออิฐฉาบปูน ผนังคอนโดแบบก่ออิฐฉาบปูนเป็นรูปแบบการก่อสร้างผนังที่นิยมสร้างกันมากที่สุด เป็นวิธีการดั้งเดิมที่ในปัจจุบันก็ยังเห็นใช้อยู่ในบางโครงการที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก อย่างเช่นพวกคอนโดแบบ Low-Rise ของ ผู้ประกอบการอสังหา ฯ ท้องถิ่นในย่านชานเมืองต่าง ๆ เพราะการใช้ผนังก่ออิฐฉาบปูนมีต้นทุนที่ถูก…
Author
by
At
June 20, 2023
รวมวิธีป้องกัน-ผู้รับเหมาโกง-รู้ไว้ก่อนถังแตก
รวมวิธีป้องกัน ‘ผู้รับเหมาโกง’ รู้ไว้ก่อนถังแตก!
เจ้าของบ้านหลายคนอาจจะพบว่ามีปัญหาเกิดชึ้นระหว่างที่ผู้รับเหมากำลังก่อสร้างบ้าน เนื่องมาจากตัวเจ้าของบ้านเองไม่ได้มีประสบการณ์ในการเลือกผู้รับเหมาที่เหมาะสมมาก่อน ดังนั้นวิธีการหาผู้รับเหมาที่ดีเพื่อป้องกันการถูกหลอกต้องทำอย่างไรบ้าง? ไปดูพร้อมกันกับ PropertyScout ได้ในบทความนี้ กลโกงผู้รับเหมาแต่ละรูปแบบ ผู้รับเหมาขาดความรับผิดชอบ ทิ้งงาน อย่างเช่น นัดเจอผู้รับเหมาไม่เป็นนัด รับปากจะทำให้แต่เอาเข้าจริง ๆ กลับไม่ได้ทำ ติดต่อยาก ปิดมือถือ และในบางครั้งอาจจะถึงขั้นทิ้งงานในที่สุด เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่เจอกันเป็นประจำสำหรับผู้รับเหมาที่ทิ้งงานแล้วเชิดเงินหนี ทำงานช้า ไม่เสร็จตามแผนที่วางเอาไว้ ทำสัญญาให้เป็นเอกสารชัดเจนและมีพยานเซ็นยืนยันเป็นการกำหนดข้อตกลงร่วมกันทั้งส่วนของเนื้องานและระยะ เวลาการทำงาน ซึ่งต้องระบุจำนวนค่าปรับที่ชัดเจนเป็นรายวันหากผู้รับเหมาไม่สามารถทำตามสัญญาด้วย วัสดุก่อสร้างไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ เป็นกรณีที่ผู้รับเหมาโกงวัสดุก่อสร้างโดยเอาวัสดุเกรดต่ำกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ มาใช้ในการก่อสร้างต่อเติมทำให้งานออกมาไม่ตรงตามแบบที่ผู้ว่าจ้างต้องการ วิธีการป้องกันปัญหานี้ คือ ผู้ว่าจ้างเองต้องเป็นผู้เลือกและซื้อสินค้าจากบริษัทหรือผู้ผลิตที่ไว้ใจได้โดยตรงและควรเป็นผู้คำนวณปริมาณการใช้ อย่างถี่ถ้วนว่าจำนวนหน่วยที่ซื้อเพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อเป็นการยืนยันไม่ให้ผู้รับเหมามาขอเบิกเงินไปซื้อวัสดุเพิ่มอีก สัญญาคลุมเครือ สัญญาจ้างที่ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ร่างมาจะอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย เพื่อให้ตัวเองได้เปรียบ หรือหลีกเลี่ยงการต่อสู้ในชั้นศาลเมื่อเกิดการฟ้องร้องขึ้น ดังนั้นการทำสัญญาต้องทำด้วยความรอบคอบ เพราะผู้ว่าจ้างอาจจะเสียเปรียบในกรณีที่ต่อสู้ในชั้นศาลได้ วิธีการป้องกันปัญหานี้ คือ ให้ปรึกษานักกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำนิติกรรมสัญญาที่ชัดเจนและรัดกุมให้มากที่สุด เบิกเงินก่อนล่วงหน้า ปัญหาการเบิกเงินก่อนล่วงหน้าเป็นปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ ในบางครั้งผู้รับเหมาชอบอ้างว่าเงินไม่พอจะซื้ออุปกรณ์ ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับจ่ายค่าคนงาน ทำให้นายจ้างใจอ่อนยอมให้ผู้รับเหมาเบิกเงินล่วงหน้าไปก่อน เมื่อผู้รับเหมาได้เงินครบก็ทิ้งงานทันที เลือกบริษัทผู้รับเหมาที่มีคุณภาพและไว้ใจได้มีการจดทะเบียนบริษัท หรือจดทะเบียนการค้า และมีที่ตั้งทำการเป็นหลักแหล่ง แม้ราคาค่าใช้จ่ายจะสูงกว่า…
Author
by
At
June 18, 2023
ข้อควรระวังก่อนเซ็นสัญญาสร้างบ้าน-จะสร้างบ้าน-รีโนเวทบ้าน-ต้องรู้ไว้
ข้อควรระวังก่อนเซ็นสัญญาสร้างบ้าน จะสร้างบ้าน รีโนเวทบ้าน ต้องรู้ไว้!
‘การสร้างบ้าน การรีโนเวทบ้าน’ เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีความสำคัญในการสร้างความสุขและความพึงพอใจสำหรับตัวเราและครอบครัว นอกจากนั้น การทำสัญญาในการสร้างบ้านยังเป็นขั้นตอนสำคัญ ที่ช่วยให้เจ้าของบ้านและผู้รับเหมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เนื้องานที่ต้องทำ และ ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกัน ดังนั้นจึงมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและมีข้อที่ควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับผู้รับเหมาระหว่างการก่อสร้าง ควรต้องรู้ข้อมูลเหล่านี้ก่อนที่จะ เซ็นสัญญาสร้างบ้าน ไปศึกษาพร้อมกันกับ PropertyScout ได้ในบทความนี้ สัญญาสร้างบ้าน คืออะไร? สัญญาสร้างบ้าน สัญญาก่อสร้าง หรือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง เป็นเอกสารทางกฎหมาย ซึ่งเป็นสัญญาที่ระบุความตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถูกเขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการตกลงกันระหว่างเจ้าของบ้าน (ผู้ว่าจ้าง) และผู้รับเหมาก่อสร้าง (ผู้รับจ้าง) โดยมีการกำหนดการชำระค่าตอบแทนให้กับผู้รับจ้าง หากงานที่ดำเนินการก่อสร้างตามเป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุ และจะต้องระบุผู้รับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้าง ลงเป็นรายละเอียดกำหนดไว้อย่างชัดเจนในสัญญาว่าจ้าง มีผลตลอดจนเสร็จสิ้นในระยะเวลาที่กำหนด สำหรับเนื้อหาในสัญญาจะต้องมีการระบุข้อความชัดเจน ปฏิบัติได้จริง และเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย โดยสิ่งสำคัญที่ต้องมีในสัญญา ควรมีดังนี้ รายละเอียดที่ควรมีในสัญญาสร้างบ้าน วันที่และสถานที่ทำสัญญา ข้อมูลส่วนบุคคลคู่สัญญาระหว่างผู้ว่าจ้าง (เจ้าของบ้าน) และผู้รับจ้าง (ผู้รับเหมาก่อสร้าง) ขอบเขตและลักษณะของเนื้องานที่รับผิดชอบ ราคา และรายละเอียดการจ่ายงวดงาน ระยะเวลาของสัญญา หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง…
Author
by
At
June 18, 2023
'พื้นที่รับน้ำของกรุงเทพ' อยู่จุดไหนบ้าง?
‘พื้นที่รับน้ำของกรุงเทพ’ อยู่จุดไหนบ้าง?
บทความนี้ PropertyScout จะมากล่าวถึงเรื่อง ผังแสดงที่โล่งท้ายกฎกระทรวง ฯ ‘ที่กำหนดการใช้ประโยชน์ที่โล่ง’ ในประเทศไทย ซึ่งรวมทั้ง ‘พื้นที่รับน้ำ’ และ ‘พื้นที่ที่มีลักษณะเพื่อการระบายน้ำ’ เพื่อป้องกันน้ำท่วม เป็นข้อมูลที่ชาวกรุงเทพหลายคนกำลังสงสัยกัน พื้นที่รับน้ำ คืออะไร? พื้นที่พักน้ำป้องกันน้ำท่วม ‘พื้นที่รับน้ำ’ ลักษณะ ล.5. ก็คือที่ินลักษณะที่โล่งในบริเวณที่ถูกกำหนดไว้เป็น ‘สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีเขียว’ เพื่อพักน้ำเพื่อการป้องกันน้ำท่วม ตั้งกระจายไปทั่วพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่ปี 2523 โดยพื้นที่รับน้ำเหล่านี้มีทั้งแก้มลิงเอกชนที่อยู่ในพื้นที่เอกชนหรือหมู่บ้านจัดสรร และแก้มลิงสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ความเป็นมาพื้นที่รับน้ำในประเทศไทย ก่อนจะไปดูว่าพื้นที่รับน้ำกระจายอยู่ตามเขตไหนบ้าง PropertScout ขอเกริ่นถึงความเป็นมาของพื้นที่รับน้ำในประเทศไทยกันก่อน ประเทศไทยนั้นได้มีการจัดระเบียบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินมาตั้งแต่รัชการที่ 5 (กรมโยธาธิการจัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2432) สืบต่อมาจนปัจจุบัน ซึ่งข้อบังคับผังเมืองควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพมหานคร รอบล่าสุดคือ ‘ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556’ ส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยบ้างในเรื่องผังสีการใช้ประโยชน์ที่ดินตามจำแนก เช่น เขตสีแดง เป็นที่ดินประเภทพาณิชยกรรม , เขตสีน้ำตาล เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เป็นต้น แต่มากไปกว่านั้นคือข้อมูลหลายอย่างที่เราไม่ทันสังเกต…
Author
by
At
June 15, 2023
อัพเดต! รถไฟฟ้า 5 สายใหม่ คืบหน้าอย่างไรบ้าง?
อัพเดต! รถไฟฟ้า 5 สายใหม่ คืบหน้าอย่างไรบ้าง?
อัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ผ่านมา 20 กว่าปีแล้วที่มีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นในกรุงเทพ ซึ่งก็ได้กลายเป็นขนส่งสาธารณะที่รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุหลักในเรื่องของ ความสามารถในการควบคุมเวลาการเดินทางได้ค่อนข้างแม่นยำ อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ส่วนตัวอย่างเห็นได้ชัด ในคราวนี้ PropertyScout จะพาทุกคนไปอัพเดตกันว่ารถไฟฟ้าสายใหม่ในตอนนี้มีความคืบหน้าไปถึงไหนกันแล้ว ตามมาดูกัน! สายสีเหลือง (ลาดพร้าว – สำโรง) รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นสถานีแบบยกระดับ ซึ่งจะมีระดับความสูงแตกต่างกันไป ตามแนวเส้นทางและข้อจำกัดของบริเวณสถานีนั้นๆ โดยจุดมุ่งหมายหลักๆ คือเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนลาดพร้าว ที่มีปัญหาการจราจรมาอย่างยาวนาน เป็นลักษณะวงรอบนอกพาคนจากทิศตะวันออกของกรุงเทพ และสิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรปราการ สถานีทั้งหมด อัพเดตข้อมูลล่าสุด ล่าสุดเตรียมเปิดทดลองวิ่งผ่านการศึกษาดำเนินโครงการโดยสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ปี พ.ศ. 2550-2554 โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว – พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ – สำโรง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีเส้นทางวิ่งตั้งแต่ช่วงลาดพร้าวถึงสำโรง ประกอบด้วยสถานที่ 23 แห่ง โรงจอดซ่อมบำรุง…
Author
by
At
June 15, 2023
ขายบ้านเก่าไปซื้อบ้านใหม่-ขอคืนภาษียังไง
ขายบ้านเก่าไปซื้อบ้านใหม่ ขอคืนภาษียังไง?
เมื่อครอบครัวใหญ่ขึ้นก็ต้องการเปลี่ยนที่อยู่อาศัย หรือเจอบ้านหลังใหม่ที่ถูกใจกว่าบ้านหลังเดิมที่เคยอยู่ ทำให้เกิดความต้องการอยาก ขายบ้านหลังเก่าเพื่อไปซื้อบ้านหลังใหม่ หลายคนอาจไม่ทราบว่า การขายบ้านเก่าไปซื้อบ้านใหม่ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายโดยการขอภาษีคืนได้ด้วย หากเข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง PropertyScout มีข้อมูลมาฝาก คุณสมบัติของผู้ขอคืนภาษี กรณีที่ 1 กรณีที่ 2 ตัวอย่างการคำนวณภาษีจากการขายบ้าน เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณภาษีจากการขายบ้าน ระหว่าง บ้านใหม่มีราคาแพงกว่าบ้านเก่า และบ้านเก่ามีราคาแพงกว่าบ้านใหม่ ตัวอย่าง 1 : การคิดภาษีกรณี ‘บ้านใหม่มีราคาแพงกว่าบ้านเก่า’ เช่น ขายบ้านเก่าราคา 5 ล้านบาท ซื้อบ้านใหม่ราคา 7 ล้านบาท สมมติ ราคาประเมินและราคาขายเท่ากัน ถือครองบ้านหลังที่ขาย 2 ปี โดยมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากการขายบ้าน คำนวณได้ดังนี้ ราคาประเมิน 5,000,000 บาท…
Author
by
At
June 1, 2023
'บ้านแปลงมุม' จ่ายคุ้มจริงหรือแค่หลอกขายราคาแพง?
‘บ้านแปลงมุม’ จ่ายคุ้มจริงหรือแค่หลอกขายราคาแพง?
กลับมากันอีกครั้งกับบทความเรื่องที่ดินและบ้าน ครั้งนี้ PropertyScout จะขอชวนทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องของ บ้านแปลงมุม เพราะเรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับคนที่เลือกซื้อบ้านจัดสรร เชื่อว่า ไม่ว่าใคร ๆ ก็อยากได้บ้านที่มีที่ดิน หรือมีพื้นที่กว้างขวางที่ตอบโจทย์ในเรื่องการใช้งานส่วนตัวกันทั้งนั้น แต่ก็คงต้องยอมรับว่าบ้านจัดสรรนั้นจะมีรั้วที่ติดกัน ดังนั้นจึงอาจจะไม่ค่อยส่วนตัวมากเท่าที่ควร แต่ถ้าหากว่าเป็นบ้านจัดสรรประเภท บ้านแปลงมุม นั้นก็จะตอบโจทย์ตรงนี้ เพราะบ้านแบบนี้จะมีมุมด้านนึงของที่ไม่ติดกับใครเลย ทำให้จะได้ความเป็นส่วนตัว และมีพื้นที่ที่เยอะขึ้น! อย่างไรก็ตามที่ดินบ้านแปลงดี ๆ ในหมู่บ้านจัดสรรก็จะมีอีกสิ่งหนึ่งที่ตามมาก็คือ ราคาที่แพงขึ้นมานั่นเอง ทำให้หลาย ๆ คนสงสัยว่า บ้านหรือที่ดินแปลงมุมนั้นดีจริงไหม? ตามไปดูกันเลย บ้าน/ที่ดินแปลงมุม คืออะไร? บ้านแปลงมุม ที่ดินแปลงมุม คืออะไร? แล้วทำอะไรได้ ตรงนี้เราจะมาอธิบายถึงความหมายของบ้านและที่ดินแปลงมุมว่าคืออะไร บ้านแปลงมุม คือ บ้านในโครงการบ้านจัดสรร ไม่ว่าจะเป็นทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม บ้านเดี่ยว หรือบ้านแฝด ที่มีด้านหนึ่งติดกับบ้านหลังอื่น ๆ ในโครงการแต่อีกด้านหนึ่งเป็นด้านโล่งไม่ติดกับใครทำให้มีพื้นที่โล่งนั่นเอง และในกรณีที่เป็นบ้านเดี่ยวก็จะได้วิวเปิดกว้างมากกว่า ส่วนบ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์หรือทาวน์โฮม ก็จะมีพื้นที่ในการต่อเติม หรือพื้นที่ใช้สอยมากกว่าบ้านหลังอื่น…
Author
by
At
June 1, 2023
รวม 7 รูปแบบฝ้าเพดานที่ดี พร้อมทิปส์ในการตรวจรับงานฝ้าเพดาน!
รวม 7 รูปแบบฝ้าเพดานที่ดี พร้อมทิปส์ในการตรวจรับงานฝ้าเพดาน!
ฝ้าเพดานเป็นส่วนประกอบของบ้านที่มีความสำคัญในหลายด้าน ทั้งช่วยเพิ่มความสวยงามและมีประโยชน์ในเรื่องการปกปิดงานระบบ สายไฟ ท่อประปา หรือโครงหลังคา ลดความร้อนที่เข้าสู่บ้าน ไปจนถึงช่วยดูดซับและลดเสียงรบกวนด้วย แต่ตัววัสดุฝ้าเองก็มีหลายประเภทแบ่งตามประเภทการติดตั้ง และแบ่งตามวัสดุที่ใช้ติดตั้ง ในบทความนี้ PropertyScout จะพาทุกคนไปดูการติดตั้งฝ้าเพดาน ว่ามีกี่แบบ เลือกแบบไหนดี และการตรวจสอบงานฝ้าต้องดูอะไรบ้าง? 7 รูปแบบฝ้าเพดาน ฝ้าเพดานฉาบเรียบ ฝ้าเพดานแบบแรกนี้นิยมใช้กันมาก เพราะเข้ากันได้กับบ้านทุกสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นแบบคลาสสิก โมเดิร์น วินเทจ ร่วมสมัยหรือแบบอื่น ๆ เพราะสามารถปรับให้เข้ากันได้ ลักษณะโดดเด่นก็คือ เป็นฝ้าที่เรียบต่อเนื่องกันทั้งห้อง โดยทำการติดตั้งแผ่นฝ้าเพดานบ้านเข้ากับโครงอลูมิเนียมที่อยู่ติดกับโครงหลังคา ฝ้าประเภทนี้มักติดตั้งแบบถาวร ซึ่งวัสดุแผ่นส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะเป็นยิปซั่มและไฟเบอร์ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ติดตั้งสะดวก เมื่อทำการติดแผ่นฝ้าแล้วตัวช่างจะฉาบปิดรอยต่อด้วยปูน และทาสีอีกรอบเพื่อเก็บงาน หลังจากเสร็จทุกขั้นตอนแล้วจะเห็นว่าแผ่นฝ้าเรียบเนียนเป็นผืนเดียวกันหมด ไม่เห็นรอยต่อ ทำให้เรียกฝ้าประเภทนี้ว่า ฝ้าฉาบเรียบ นั่นเอง ฝ้าเพดานแขวน (T-bar) ฝ้าเพดานแขวน หรือ T-bar เป็นประเภทฝ้าเพดานที่นิยมใช้ค่อนข้างมากเช่นเดียวกับแบบด้านบน เนื่องจากติดตั้งสะดวก ราคาถูกเมื่อเทียบกับฝ้าแบบอื่น ๆ…
Author
by
At
June 1, 2023
การครอบครองปรปักษ์ คืออะไร? เรื่องที่ต้องรู้ก่อนสูญเสียบ้าน-ที่ดิน
การครอบครองปรปักษ์ คืออะไร? เรื่องที่ต้องรู้ก่อนสูญเสียบ้าน-ที่ดิน
‘การครอบครองปรปักษ์’ ถือเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมักจะก่อให้เกิดข้อพิพาทอยู่บ่อยครั้ง แต่อันที่จริงแล้วการครอบครองปรปักษ์คืออะไร? มีหลักเกณฑ์หรือข้อบังคับอย่างไรบ้าง? ในบทความนี้ PropertyScout ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ การครอบครองปรปักษ์ มาฝากกัน การครอบครองปรปักษ์ คืออะไร? การครอบครองปรปักษ์เป็นหลักกฎหมายที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคโรมัน เดิมก็ด้วยเจตนาที่จะทำให้การซื้อขายที่ไม่ถูกต้องตามแบบ แต่เมื่อผู้ซื้อมีการครอบครองทรัพย์นั้น และปฏิบัติครบหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว ก็จะได้กรรมสิทธิ์ไปโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จะมีความบกพร่องเรื่องแบบพิธีในการซื้อขายก็ตามในยุคต่อมาการครอบครองปรปักษ์กลายเป็นกฎหมายที่ส่งเสริมให้คนใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ปล่อยให้รกร้างไม่ดูแล มิเช่นนั้นผู้ที่เข้าใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ก็จะได้กรรมสิทธิ์ไป หลักเกณฑ์การครอบครองปรปักษ์เป็นอย่างไร? การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ สำหรับการครอบครองปรปักษ์อสังหาริมทรัพย์มีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ดังนี้ กฎหมายที่ต้องรู้เกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์อสังหาริมทรัพย์ สรุปส่งท้าย ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่อง การครอบครองปรปักษ์ เท่านั้น ซึ่งมีข้อพิพาท และคำพิพากษาศาลฎีกาอย่างหลากหลายรูปแบบ หากให้เล่าถึงรายละเอียดจริง ๆ แล้ว อาจจะถึงกับต้องเขียนเป็นหนังสือขึ้นมากันเลยทีเดียว เพราวาเป็นกฎหมายที่มีมายาวนาน มีข้อพิพาทเรื่องนี้มาก คำพิพากษาศาลฎีกาก็มีอยู่มากมาย ทำให้มีแง่มุมให้ศึกษาอย่างหลากหลาย แต่ในความเห็นของ PropertyScout กฎหมายเรื่องการครอบครองปรปักษ์นั้นควรได้รับการปรับปรุง เพราะในปัจจุบันกฎหมายนี้ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปแล้ว จากเดิมที่กฎหมายนี้ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ไม่ปล่อยให้รกร้าง และให้รางวัลกับผู้ที่เข้าหักร้างถางพง…
Author
by
At
June 1, 2023
ฝากบ้านไว้กับตำรวจ-ปลอดภัยหายห่วงเวลาไม่อยู่บ้าน
แนะนำวิธี ‘ฝากบ้านไว้กับตำรวจ’ ปลอดภัยหายห่วงเวลาไม่อยู่บ้าน
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินโครงการ ‘ฝากบ้านไว้กับตำรวจ’ ซึ่งเป็นโครงการจากทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดทำขึ้นมาเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยให้กับบ้านและทรัพย์สินของทุกคน ช่วยให้คนที่มีแผนที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นต่างจังหวัด หรือเดินทางไปต่างประเทศก็ตาม ซึ่งทำให้ทุกคนสามารถเที่ยวได้อย่างสบายใจในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวต่าง ๆ หรือในช่วงที่ไม่อยู่บ้านเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลายคนอาจจะสงสัยกันอยู่ว่า ถ้าสนใจอยากเข้าร่วมโครงการ ‘ฝากบ้านไว้กับตำรวจ’ นั้นยุ่งยากขนาดไหน มีค่าใช้จ่ายหรือไม่ และมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง PropertyScout มีคำตอบมาให้กับทุกคน ทำความรู้จักโครงการ ‘ฝากบ้านไว้กับตำรวจ’ โครงการ ‘ฝากบ้านไว้กับตำรวจ’ หรือโครงการประชารัฐร่วมใจดูแลความปลอดภัยบ้านประชาชนช่วงเทศกาลสำคัญ เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2544 โดยเริ่มต้นจากในพื้นที่ กทม. ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจนครบาล และต่อมาได้ขยายโครงการครอบคลุมดูแลไปทั่วประเทศ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ได้แนะนำช่องทางเข้าร่วมโครงการ ‘ฝากบ้านไว้กับตำรวจ 4.0’ สำหรับปี 2566 นี้ว่าประชาชนทุกคนสามารถลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน ‘ฝากบ้าน 4.0 (OBS)’ หรือจะเข้าไปแจ้งลงทะเบียนที่สถานีตำรวจใกล้บ้านก็ได้ วิธีเข้าร่วมโครงการ ปัจจุบันผู้ที่สนใจอยากเข้าร่วมโครงการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกจึงทำให้มีช่องทางในการสมัครที่หลากหลาย โดยปัจจุบันสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ 3 ช่องทางด้วยกัน ดังนี้เลย ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น ‘ฝากบ้าน 4.0’ ยื่นแบบฟอร์มที่สถานีตำรวจแบบ Walk-in สำหรับใครที่มีความต้องการเข้าร่วมโครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ…
Author
by
At
May 26, 2023