‘รวมเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟภายในบ้าน’ พร้อมวิธีช่วยประหยัดไฟ!

Author
by
At
เมษายน 7, 2023
แชร์เกร็ดความรู้-รวมเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟภายในบ้าน-พร้อมวิธีช่วยประหยัดไฟ-Featured แชร์เกร็ดความรู้-รวมเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟภายในบ้าน-พร้อมวิธีช่วยประหยัดไฟ-Featured
‘รวมเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟภายในบ้าน’ พร้อมวิธีช่วยประหยัดไฟ!
เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟมีอะไรบ้าง? (กินไฟน้อยไปหามาก)วิธีประหยัดไฟสรุปส่งท้าย

สวัสดีครับ ในชีวิตประจำวันที่เราเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัวพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ พัดลม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่างแอร์ พัดลม ทราบกันหรือไม่ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ นั้นมีกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ทำให้เมื่อเปิดใช้นาน ๆ ก็จะกินไฟครับ เป็นอย่างงี้แล้วคงได้เวลาตรวจเช็คเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านกันซะที เดี๋ยวในบทความนี้ PropertyScout จะพาทุกคนไปดูว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างที่กินไฟ โดยเรียงลำดับจากกินไฟน้อยไปหามาก พร้อมกับวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ประหยัดไฟมากยิ่งขึ้น

แชร์เกร็ดความรู้-รวมเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟภายในบ้าน-พร้อมวิธีช่วยประหยัดไฟ

เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟมีอะไรบ้าง? (กินไฟน้อยไปหามาก)

ตู้เย็น

ตู้เย็น
ตู้เย็น

ตู้เย็นโดยส่วนมากจะกินไฟอยู่ 70 - 145 วัตต์ หากใครไม่ใช้ตู้เย็นเบอร์ห้าก็จะทำให้ค่าไฟพุ่งสูงมากกว่าเดิมครับ เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้ต้องทำความเย็นตลอด เพื่อรักษาอากาศในตู้ให้มีอุณภูมิเย็นแบบคงที่เพื่อไม่ให้อาหารเสียและบูดเร็วนั่นเองครับ


ทีวี

ทีวี
ทีวี

ทีวีกับตู้เย็นกินไฟไม่ต่างกันมากครับ แต่หากว่าเราเปิดไว้ทั้งวันทั้งคืน หรือเปิดตลอดเวลาก็สามารถทำให้ค่าไฟวิ่งตลอดได้เช่นกัน ซึ่งทีวีส่วนมากจะกินไฟอยู่ที่ประมาณ 80 - 180 วัตต์ครับ


ไมโครเวฟ

ไมโครเวฟ
ไมโครเวฟ

สำหรับอัตราการใช้กำลังไฟของไมโครเวฟนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของไมโครเวฟที่วัดเป็นคิว แต่โดยส่วนมากจะกินไฟตั้งแต่ 100 - 1,000 วัตต์ครับ โดยทั้งโหมดละลายน้ำแข็งและโหมดอุ่นอาหารให้ร้อนก็ใช้ไฟพอ ๆ กัน ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยมใช้ไมโครเวฟอุ่นอาหารเพราะส่งคลื่นความร้อนไปยังจุดเดียวของถาดวางในเครื่อง ทำให้อาหารร้อนเร็วครับ


ไดร์เป่าผม

ไดร์เป่าผม
ไดร์เป่าผม

ไดร์เป่าผมกินไฟประมาณ 400-1000 วัตต์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะสระผมวันละครั้ง หรือวันเว้นวัน ซึ่งการเป่าผมให้แห้งแต่ละรอบจะใช้เวลาราว 30 นาที (สำหรับคุณผู้หญิง หรือผู้ที่มีผมยาว) ก็ยังถือว่าเป็นค่าไฟที่พอรับได้ครับ


หม้อหุงข้าว

Kitchen appliances and devices. Electric smart rice cooker on wooden counter-top in the kitchen with basmati rice, spoon with rice

หม้อหุงข้าวกินไฟไม่ต่างจากไดร์เป่าผมมากเท่าไหร่ โดยส่วนใหญ่แล้วแต่ละบ้านมักจะหุงข้าววันละครั้งและเลือกฟังก์ชั่นอุ่นข้าวไว้สำหรับมื้อต่อไปครับ หม้อหุงข้าวกินไฟน้อยกว่าเตารีดและเครื่องดูดฝุ่นเพียงนิดเดียวครับ และจะใช้กำลังไฟเยอะตามขนาดของหม้อ อยู่ที่ประมาณ 450 – 1,500 วัตต์ ดังนั้นหากว่าหากเป็นเครื่องเล็ก ๆ ขนาดความจุ 1 ลิตรก็กินไฟไม่มากครับ


เครื่องดูดฝุ่น

เครื่องดูดฝุ่น
เครื่องดูดฝุ่น

เครื่องดูดฝุ่นกินไฟประมาณ 750 - 1,200 วัตต์ และเชื่อว่าบางคนดูดฝุ่นทุกครั้งที่เห็นฝุ่นกันเลยทีเดียว เมื่อรู้แล้วว่าเครื่องดูดฝุ่นกินไฟขนาดนี้อาจจะเปลี่ยนมาเป็นใช้ไม้กวาดดูครับ แล้วค่อยใช้เครื่องดูดฝุ่นเก็บฝุ่น เพราะเครื่องดูดฝุ่นกินไฟใกล้เคียงกับเตารีด แต่หากใช้ไม่บ่อยก็ไม่เปลืองไฟเท่าไหร่ครับ


เตารีด

เตารีด
เตารีด

เตารีดใช้ไฟประมาณ 750 – 2,000 วัตต์ และเชื่อหรือไม่ครับว่าไหมครับว่าเตารีด ใช้กำลังไฟฟ้าพอ ๆ กับแอร์เลยทีเดียว โดยเฉพาะรุ่นที่เป็นเตารีดไอน้ำ ดังนั้นการเอาเตารีดออกมารีดผ้าบ่อย ๆ โดยรีดครั้งละตัวสองตัวนั้นไม่เหมาะ เพราะจะสิ้นเปลืองไฟอย่างมากครับ อย่างน้อยต้องรีดทีละ 5 - 6 ตัวขึ้นไปเพื่อจะได้คุ้มกับค่าไฟที่ต้องเสียครับ


แอร์

แอร์
แอร์

มาถึง 3 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟที่สุดกันแล้วนะครับ หากคิดว่าเครื่องปรับอากาศ คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดนั้นไม่ใช่ แต่หากเปิดบ่อย ๆ วันละหลายชั่วโมง ก็จะเสียค่าไฟเป็นอันดับ 1 ได้เช่นกันครับ เพราะอากาศเมืองไทยร้อนแบบนี้ก็อดจะเปิดแอร์นอนทุกวันไม่ได้ใช่ไหมครับ โดยส่วนมากแล้วแอร์จะกินไฟอยู่ที่ 1,200 - 3,300 วัตต์กันเลยทีเดียว


เครื่องอบผ้า

เครื่องอบผ้า
เครื่องอบผ้า

อันดับที่ 2 เครื่องอบผ้า ใช้กำลังไฟใกล้เคียงกับการเปิดแอร์ โดยจะกินไฟอยู่ที่ประมาณ 2,500 - 3,000 วัตต์ครับ เฉลี่ยคร่าว ๆ แล้ว 1 คนจะซักผ้า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งหากต้องการให้ผ้าแห้งเร็ว ช่วยเซฟเวลา ก็คงหนีไม่พ้นการใช้เครื่องอบผ้าครับ


เครื่องทำน้ำอุ่น

เครื่องทำน้ำอุ่น
เครื่องทำน้ำอุ่น

มาถึงสุดยอดเครื่องใช้ไฟฟ้าจอมกินไฟอันดับ 1 กันแล้ว สำหรับใครที่ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นขนาดใหญ่มาก ๆ อาจจะใช้กำลังไฟถึง 12,000 วัตต์กันเลยทีเดียวครับ และหากว่าอยู่บ้านกันหลายคน วันหนึ่งอาบน้ำหลายรอบ ก็จะกินไฟมากขึ้นตามนั้นครับ กินไฟเยอะกว่าแอร์ซะอีก ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นตัวเล็ก ๆ ก็จะกินไฟประมาณ 2,500 วัตต์ ครับ


วิธีประหยัดไฟ

เมื่อรู้แล้วว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมีอะไรบ้าง เดี๋ยวเราไปดูกันต่อ ว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยให้ประหยัดไฟมากขึ้น!


ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ

หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหายภายใน แม้ว่าจะเป็นรอยขาดของสายไฟเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้กำลังไฟมากขึ้นเพราะว่ากระแสไฟฟ้าจะรั่วออก เหมือนเราเปิดสายยางแล้วน้ำรั่วออกตลอดเวลานั่นเองครับ


วางแผนการใช้งานแต่ละครั้งให้ดี

การวางแผนใช้งานสามารถช่วยประหยัดไฟได้ครับ ยกตัวอย่างเช่นก่อนจะเปิดแอร์ในห้องนั่งเล่นก็เรียกกันมาหลาย ๆ คน จะรีดผ้าก็รวมกันไว้หลาย ๆ ตัว เป็นต้นครับ


ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสัญลักษณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5

การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสติ๊กเกอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จะช่วยให้ประหยัดค่าไฟมากขึ้นได้ เพราะเป็นการการันตีด้านคุณภาพและความประหยัดไฟมาแล้วครับ


ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้

ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถอดปลั๊กออก เพราะการที่กระแสไฟฟ้ายังวิ่งอยู่ในระบบแม้ว่าจะปิดสวิตช์แล้วก็ตาม สามารถทำให้เครื่องไฟฟ้ากินไฟมากกว่าเดิม และอาจเกิดการลัดวงจรภายในทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ต้องซื้อใหม่อีกครับ


หากไม่ได้อยู่บ้านหลายวันให้สับคัทเอ้าท์ลง

เพื่อเป็นการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หากจะเดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ไม่ได้อยู่บ้านหลายวัน ควรจะสับคัทเอ้าท์ลงครับ เพราะหากวงจรไฟยังเดินอยู่ทั้งบ้าน ค่าไฟก็จะยังคงวิ่งตามอยู่ด้วย และยิ่งหากเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน ก็ยิ่งควรสับลงด้วยเพราะสามารถเกิดไฟฟ้าลัดวงจรจากความร้อนและความชื้นได้ง่ายกว่าฤดูอื่นครับ


สรุปส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟ และวิธีช่วยประหยัดไฟที่ PropertyScout ได้แนะนำกันไปในบทความนี้ สามารถช่วยเรื่องประหยัดค่าไฟฟ้าได้แบบเบื้องต้น แต่หากต้องการเซฟเงินค่าไฟในระยะยาว การติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจและเมื่อติดตั้งไปแล้วก็สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ตั้งแต่เริ่มใช้งานครับ เป็นการนำแสงแดดมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วนำมาใช้ร่วมกับไฟฟ้าหลักที่มาจากการไฟฟ้า เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว แถมรักษ์โลกด้วยครับ


อ่านบทความ รีวิวโครงการ อัปเดตข่าวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ได้ที่ PropertyScout Blog

มีคำถาม ข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือต้องการ เช่า ซื้อ ขาย สามารถคลิกตามด้านล่าง ทีมงานของเราพร้อมให้บริการ!


อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก