เกร็ดความรู้ ‘ฝุ่น PM 2.5’ อันตรายของชาวคอนโด พร้อมทิปส์ในการรับมือ!

Author
by
At
กุมภาพันธ์ 10, 2023
เกร็ดความรู้-ฝุ่น-PM-2.5-อันตรายของชาวคอนโด-พร้อมทิปส์ในการรับมือ-Featured เกร็ดความรู้-ฝุ่น-PM-2.5-อันตรายของชาวคอนโด-พร้อมทิปส์ในการรับมือ-Featured

สวัสดีครับ ในปัจจุบันฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจกับผู้ที่ใช้ชีวิตในเมืองกรุงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับคนที่อยู่คอนโดสูงในเมือง หรืออยู่ใกล้โซนอุตสาหกรรม ซึ่งปัญหาฝุ่น PM 2.5 นั้นถือเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ และอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขนานระดับนึง อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นชาวคอนโดทุกคนควรมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปัญหานี้ และเริ่มป้องกันตัวเองให้ดีก่อนครับ ในบทความนี้ PropertyScout ก็ได้นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 มาให้ชาวคอนโดทุกคนได้ทำความเข้าใจกัน พร้อมทิปส์ในการรับมือกับฝุ่นละอองเหล่านี้ด้วยครับ

เกร็ดความรู้-ฝุ่น-PM-2.5-อันตรายของชาวคอนโด-พร้อมทิปส์ในการรับมือ

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?

ฝุ่น-PM-2.5-คืออะไร
ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?

ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กที่ส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน สำหรับต้นเหตุหลักของการเกิดฝุ่น PM 2.5 นั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุตั้งแต่ การปล่อยไอเสียของรถยนต์ ยานพาหนะต่าง ๆ การเผาป่า เผาวัสดุการเกษตร การก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ กระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนกิจกรรมทั้งหมดที่ทำให้เกิดฝุ่นหรือเขม่าควัน

ในปัจจุบันปัญหาฝุ่น PM 2.5 นี้ถือเป็นปัญหาหนักของทั้งชาวกรุงเทพ เขตปริมณฑล และผู้ที่อาศัยในอีกหลายจังหวัดในประเทศไทย โดยค่าฝุ่นที่ขึ้นสูงในแต่ละครั้งนั้นสามารถยืดยาวเป็นระยะเวลาหลายเดือน ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ไหนล้วนแล้วแต่มีค่าฝุ่นในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ


ค่าฝุ่น PM 2.5 มักจะขึ้นสูงในพื้นที่ไหนบ้าง?

พื้นที่โซนอุตสาหกรรม

PM-2.5-พื้นที่โซนอุตสาหกรรม
พื้นที่โซนอุตสาหกรรม

พื้นที่ที่เป็นแหล่งรวมโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงพื้นที่สีม่วง เช่น บางส่วนของลาดกระบัง พระโขนง คันนายาว ราษฎร์บูรณะ ซึ่งในพื้นที่เหล่านี้ก็จะมีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงจากการปล่อยควันของโรงงาน ควันไอเสียรถบรรทุก ยานพาหนะเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ


อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก


พื้นที่โซนใจกลางเมือง

พื้นที่โซนใจกลางเมือง
พื้นที่โซนใจกลางเมือง

สำหรับพื้นที่โซนใจกลางเมืองอย่างเช่น สัมพันธวงศ์ หรือบางรัก เป็นเขตพื้นที่สีน้ำตาลที่มีการอยู่อาศัยหนาแน่นค่อนข้างมาก ทำให้มักมีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง


ตรวจเช็คค่าฝุ่น PM 2.5 แบบ Real-time คลิก


ความอันตรายของฝุ่น PM 2.5 มีอะไรบ้าง?

ความอันตรายของฝุ่น-PM-2.5-มีอะไรบ้าง
ความอันตรายของฝุ่น PM 2.5

ฝุ่น PM 2.5 นั้นมีอนุภาคขนาดเล็กจนสามารถผ่านการกรองของขนจมูก และเข้าไปสู่ถุงลมชั้นในสุดของปอดได้ ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายแบบเฉียบพลัน แต่จะใช้เวลาสะสมหลายปีจนถึงระดับสิบปีจึงจะเริ่มแสดงอาการ

ความอันตรายของฝุ่น PM 2.5 ก็คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการพาสารอื่น ๆ เข้าสูปอดของเรา โดยสารอันตรายที่ถูกฝุ่น PM 2.5 ดักจับก็จะมีตั้งแต่ สารปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ เมื่อเข้าสู่ปอดของเราไปแล้วก็จะสามารถส่งผลต่อสุขภาพดังนี้ครับ


ผลกระทบในระยะสั้น

  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น แสบโพรงจมูก มีน้ำมูก อาการอักเสบในโพรงจมูกกับหลอดลม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ไอมีเสมหะ ถุงลมปอดแฟบ สมรรถภาพของปอดลดลง ตลอดจนภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ
  • ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการติดเชื้อในปอด
    และทางเดินหายใจได้ง่าย เช่น ไซนัสอักเสบ, หลอดลมอักเสบ,
  • อาการหูอักเสบ
  • พัฒนาการในเด็กล่าช้า

ผลกระทบในระยะยาว

  • โรคหลอดลมอุดกั้นแบบเรื้อรัง
  • โรคทางผิวหนัง ผื่นแพ้ ผิวมีจุดด่างดำ รอยย่น และดูแก่กว่าวัย
  • ดวงตาอักเสบ
  • โรคมะเร็งปอด
  • การอักเสบของเส้นเลือด อาจส่งผลให้เกิดโรคโรคอัมพาตจากหลอดเลือดสมอง หัวใจ
    ขาดเลือดได้
  • ความดันโลหิตสูง
  • ในบางรายอาจมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้มีบุตรยากขึ้น

อาการที่บ่งชี้ว่าร่างกายเริ่มโดนฝุ่น PM 2.5 'เล่นงาน'

อาการที่บ่งชี้ว่าร่างกายเริ่มโดนฝุ่น-PM-2.5-เล่นงาน
อาการที่บ่งชี้ว่าร่างกายเริ่มโดนฝุ่น PM 2.5 'เล่นงาน'

ชาวคอนโดบางท่านอาจจะคิดว่า การสัมผัส การสูดหายใจฝุ่น PM 2.5 เข้าไปนิด ๆ หน่อย ๆ นั้นไม่ทำให้เกิดอันตรายอะไรหรอก ซึ่งมันก็จริงอยู่ครับ แต่ก็ควรเปลี่ยนความคิดเพราะว่าฝุ่น PM 2.5 นั้นสามารถเกิดการสะสมในร่างกาย อย่างที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้านี้ ดังนั้นขอแนะนำให้คอยสังเกตอาการต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้ครับ

  • ผิวหนัง เป็นตุ่มหรือผื่น นูนแดงกระจายไปทั่วบนผิวหนัง
  • รู้สึกคัน แสบ หรือแน่นในโพรงจมูก มีน้ำมูกแบบใส
  • ตาแดง บริเวณเปลือกตาบวม ใต้ตาช้ำ สังเกตได้จากสีที่คล้ำขึ้น มีน้ำตาไหลบ่อย ๆ
  • ไอ จาม รู้สึกแน่นหน้าอก
  • ตัวร้อน มีไข้

หากเกิดอาการเหล่านี้กับร่างกาย ขอแนะนำให้ตรวจสอบว่าตนเองมีไลฟ์สไตล์หรือกิจวัตรอะไรที่ทำให้เกิดการสัมผัส หรือหายใจเอาฝุ่นเข้าร่างกายเป็นประจำอยู่หรือป่าว และหากมีอาการรุนแรงมากขึ้นก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วครับ


ทิปส์สำหรับชาวคอนโด 'รับมือกับฝุ่น PM 2.5'

ทิปส์สำหรับ-ชาวคอนโด-รับมือกับฝุ่น-PM-2.5
การรับมือกับฝุ่น PM 2.5

สำหรับการพักอาศัยบนคอนโดมิเนียมโดยเฉพาะโครงการที่เป็นแบบ High Rise นั้นมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 มากกว่า คอนโดมิเนียมแบบ Low Rise และโครงการหมู่บ้านที่อยู่ระดับพื้นดินครับ

โดยคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เคยทำการทดลองวัดคุณภาพอากาศที่ความสูง 5 ระดับ คือ 10 เมตร , 30 เมตร , 50 เมตร , 75 เมตร , และ 110 เมตร ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาว่า ความสูงที่ระดับ 30 เมตร ในช่วงเวลา 19.00-7.00 น. (ช่วงหัวค่ำจนถึงเช้า) มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุด และฝุ่นสามารถลอยสูงขึ้นไปในอากาศได้ถึง 100 เมตร แต่ในความสูงระดับนั้นจะมีความหนาแน่นของฝุ่นที่เบาบางลงครับ

ส่วนความสูง 30 เมตรที่มีค่าฝุ่นสูงสุดนั้นก็คือระดับความสูงเดียวกับคอนโด 10 ชั้นขึ้นไปนั่นเอง ครับ แต่ต้องขอบอกว่าชาวคนโดที่พักอาศัยในชั้น 10 กว่า ๆ ก็ไม่ต้องวิตกกังวลเกินไปนะครับ ถึงแม้ฝุ่น PM 2.5 จะสามารถ สามารถก่อให้เกิดอันตรายกับสุขภาพร่างกายได้ แต่การรับมือกับสิ่งนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากเลยครับ โดยสามารถทำได้ตามนี้

  • ไม่ควรเปิดประตูหรือหน้าต่างไว้โดยไม่จำเป็น
  • ปลูกต้นไม้ภายในห้อง หรือบริเวณระเบียงคอนโดเพื่อช่วยดักจับฝุ่นและฟอกอากาศ
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศที่สามารถดักจับฝุ่น PM 2.5 ภายในห้อง
  • ทำความสะอาดห้องคอนโดเป็นประจำ โดยหลีกเลี่ยงการใช้ไม้กวาดหรือไม้ปัดต่าง ๆ เพราะจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายมากยิ่งขึ้น สามารถเปลี่ยนไปเครื่องดูดฝุ่น หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดแทนครับ
  • ดื่มน้ำเปล่าเป็นประจำ ช่วยกระตุ้นการชะล้างสิ่งสกปรก ขับสารตกค้างในร่างกาย
  • งดสูบบุหรี่ ช่วยให้สุขภาพปอดดีขึ้น และยังสามารถลดการสร้างฝุ่น PM 2.5 อีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมภายนอกอาคารเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง หรือผู้ป่วย โดยเฉพาะเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกคอนโด แต่ด้วยการที่ฝุ่น PM 2.5 นั้นมีขนาดเล็กมาก ทำให้หน้ากากอนามัยทั่วไปอาจจะไม่สามารถดักจับได้ ดังนั้นควรใช้หน้ากากแบบ N95 หรือแบบอื่นที่ระบุว่าสามารถกรองฝุ่นอนุภาคเล็กขนาด PM 2.5 ได้ครับ
  • รู้ทันค่าฝุ่นด้วยการใช้แอพพลิเคชั่นแจ้งเตือน อย่างเช่น
    • Air Matters - แอพจะมีเสียงแจ้งเตือนเมื่ออากาศบริเวณที่เราอยู่มีค่าฝุ่นสูงขึ้น
    • AirVisual - บอกค่าฝุ่นเวลาปัจจุบัน , ความเร็วและทิศทางของลมในบริเวณนั้น ๆ
    • Plum Air Report - เป็นแอพที่สามารถตรวจสอบสภาพอากาศได้ทั่วทุกมุมโลก พร้อมฟีเจอร์คาดการณ์สภาพอากาศแบบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง

สรุปส่งท้าย

PropertyScout หวังว่าข้อมูลในบทความนี้จะเป็นประโยชน์ที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กันนะครับ ถึงแม้ฝุ่นอนุภาคเล็ก PM 2.5 อาจจะไม่ได้ส่งผลร้ายกับร่างกายเราในระยะสั้น แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเพราะหากมีการสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจ อาจจะทำให้เจ็บป่วยแบบเรื้อรังหรือเป็นโรคร้ายแรงได้ ซึ่งในปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ครับ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ชาวคอนโด รวมไปถึงทุก ๆ คนควรเริ่มต้นดูแลและป้องกันตัวเองให้ดีก่อน หากใครที่รู้ตัวว่าตนเองมีพฤติกรรมที่เป็นการสร้างฝุ่น PM 2.5 ก็ควรลดพฤติกรรมเหล่านั้นด้วยนะครับ


มองหาคอนโดคุณภาพ หรืออสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น PropertyScout มีให้เลือกกว่า 250,000 ที่ทั่วประเทศไทย คลิกตามด้านล่างได้เลย


อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก